หลอกให้เกิดความโลภ

ลักษณะเหตุการณ์

มีการสร้างข่าว หรือติดต่อเข้ามาตีสนิท โดยแสดงโปรไฟล์ หรือประวัติส่วนตัว(ปลอมๆ) โดยแอบอ้างภาพของบุคคลที่น่าเชื่อถือ มีการสร้างภาพกิจกรรม(ก็ปลอมอีก) แสดงสถานะของนักลงทุนมืออาชีพ(นักต้มตุ๋นมืออาชีพมากกว่า) มีทรัพย์สินหรือหลักทรัพย์จำนวนมาก(ไม่น่าจะมีจริง) จากนั้นส่งข้อความถึงเป้าหมายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือมีหน้าม้ามาตีสนิทเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ หลอกให้เกิดความโลภ โดยอ้างว่ามีช่องทางการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูง การหลอกประเภทนี้จะแสดงถึงแผน ลำดับขั้นตอน หลอกล่อด้วยตัวเลขผลตอบแทน ที่มีมูลค่าสูง โดยใช้แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ลงทุน(ปลอม) หลอกให้เหยื่อสมัครลงทุนที่ไม่มีอยู่จริง หรือได้รับสัมปทานจากรัฐ ซึ่งอ้างว่าเป็นข้อมูลเฉพาะคนรู้จักเท่านั้น ไม่เปิดเผยต่อคนภายนอก หรืออ้างว่ามีทรัพย์สินของตนจำนวนมาก ติดอยู่ที่ศุลกากร จำเป็นต้องจ่ายภาษี จึงขอให้ผู้เสียหายชำระเงินภาษีให้ โดยอ้างว่าจะแบ่งผลตอบแทนจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาไม่มีอยู่จริง จนทำให้เหยื่อ คล้อยตามหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อ จนต้องส่งเงินทองให้คนร้าย

การป้องกัน

มีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1.ใช้สติ ความมีเหตุผล การปรึกษาลูกหลาน ญาติ และหาข้อมูลด้วยตนเองจากหน่วยงานภาครัฐ

2.ไม่หลงเชื่อร่วมลงทุนในแอปพลิเคชันหรือลิ้งค์เว็บไซต์ที่ส่งลิงก์มา เพราะนั่นคือหนทางหายนะ

เหตุการณ์ที่เป็นข่าว

1.หลอกลงทุนออนไลน์ เสียหาย100ล.ทั่วไทย

2.หลอกลงทุนเทรดหุ้นทองคำออนไลน์ เสียหายกว่า 13 ล้านบาท

3.ม.6 แจ้งความถูกหลอกลงทุนออนไลน์

4.เตือนภัย หลอกลงทุนแอพฯออนไลน์ พบเหยื่อกว่า 30 ราย

5.หลอกลงทุนเสื้อผ้าออนไลน์ เสียหายกว่า 10 ล้าน