กฎหมายด้านลิขสิทธิ์ (Copyright Law)

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558

“ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น”

ลิขสิทธิ์ จึงหมายความถึงสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) ของผู้สร้างสรรค์งาน ที่จะกระทำการในลักษณะต่าง ๆ ตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์ได้กาหนดไว้ อันเกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์ของตน โดยลิขสิทธิ์นั้นไม่ต้องยื่นขอต่อองค์กรใด

ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) อย่างหนึ่ง ทำให้มีคุณสมบัติเหมือนทรัพย์สิน สามารถซื้อขาย ให้เช่าได้ ตกทอดสู่รุ่นลูกหลานได้
งานอันมีลิขสิทธิ์ หมายถึง งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่าภาพ รวมถึงงานอื่น ๆ ในแผนกวรรณคดีวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ คือ สิทธิในลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใด ๆ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และคุ้มครองต่อไปนี้อีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

การละเมิดลิขสิทธิ์

มีการละเมิดทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง
คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม
คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้ว ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

บทลงโทษการละเมิดลิขสิทธิ์

ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์จะมีโทษทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ซึ่งทางอาญาโทษนั้นมีทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี ส่วนทางแพ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย
โทษทางอาญา เช่น การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และหากทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

รู้ทันลิขสิทธิ์ EP.1

ตอน ทำความรู้จักกับลิขสิทธิ์

รู้ทันลิขสิทธิ์ EP.2

ตอน เครื่องหมายการค้ากับลิขสิทธิ์

รู้ทันลิขสิทธิ์ EP.3

ตอน ลิขสิทธิ์ของเราหรือของใคร

รู้ทันลิขสิทธิ์

รู้ทันลิขสิทธิ์ [Copyright Information]