ภัยจากสื่อสังคมออนไลน์

หลังจากที่เคยได้เรียนรู้ ผลเสียและข้อควรระวังในการใช้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ ในบทเรียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีผลต่อผู้สูงอายุ ที่ผ่านมา ซึ่งได้กล่าวเป็นภาพรวมๆที่ผู้สูงอายุอาจจะประสบปัญหา ในบทเรียนนี้ จะเจาะจงเฉพาะการขโมยข้อมูลตัวตนดิจิทัล และประเภทของภัยร้ายจากสื่อสังคมออนไลน์หรือ Social media โดยเฉพาะ กัน

การขโมยข้อมูลตัวตนดิจิทัล

สถิติภัยคุกคามในประเทศจาก Thaicert พบว่าตั้งแต่ต้นปี 2564 ที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนกันยายน มีภัยคุกคามที่เกิดขึ้นมากกว่า 1,400 ครั้ง และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลประจำตัว Digital ไปแล้ว มีโอกาสที่แฮกเกอร์จะนำข้อมูลที่ได้นำไปใช้หาประโยชน์ทางด้านอื่นอีก เช่น นำไปก่อภัยไซเบอร์ (นับจากปี 2563 จะพบว่าการโจมตีทางไซเบอร์มีความรุนแรงขึ้นโดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบ ต่อข้อมูล ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อระบบ ต่อการทำงาน ต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง)โดยอ้างอิงข้อมูลของตัวท่าน หรือเอาไปทำ Phishing (ฟิชชิงมีหลายรูปแบบ การหลอกลวงประเภทนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้กลอุบายหลอกล่อผู้ใช้งาน และการแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร หรือบัญชีโซเชียลมีเดีย) เป็นต้น ซึ่งหากข้อมูลตัวตนดิจิทัลของท่านถูกขโมยไปแล้ว กว่าจะแก้ไขได้ ก็ต้องใช้เวลานาน จนเกิดความเสียหายหลากหลายรูปแบบต่อตัวท่าน

เรามาศึกษาว่าการขโมยข้อมูลตัวตนดิจิทัล มีอะไรกันบ้าง

ขโมย Online Account

ไม่ว่าจะเป็น Social Network Account ต่าง ๆ หรือ Online Shopping Account เมื่อแฮกเกอร์สามารถเข้าถึง Account ของเราได้แล้ว ไม่ว่าจะความผิดพลาดจากตัวเราเอง (ใช้ Password ง่ายไปหรือใช้ซ้ำกับเว็บอื่น) หรือว่า ผิดพลาดจากผู้ให้บริการ ถ้าระบบไม่รัดกุมเพียงพอ (โดน Hacker โจมตีที่ระบบ) ข้อมูลทั้งหมดของเราจะหลุดออกไปทันที เรียกว่าขโมยความเป็นตัวตนไปได้เลย กรณีนี้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง เพราะ Hacker สามารถนำเอาไปทำอะไรก็ได้ และยังสามารถนำไปสร้างความเสียหายอื่น ๆ ได้อีก

ขโมยเลขบัตรประจำตัวประชาชน

เลขบัตรประจำตัวประชาชนอาจดูเป็นข้อมูลที่ดูทั่ว ๆ ไป แต่จริง ๆ แล้วในหลาย ๆ ครั้งถูกนำเป็นข้อมูลเพื่อใช้ยืนยันตัวตน ควบคู่กับวันเดือนปีเกิด เช่นหลายครั้งที่มีคนถ่ายรูปบัตรประชาชนลงโพสต์ลง Social Media แบบสาธารณะ นั่นอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีก็สามารถนำข้อมูลไปยืนยันตัวตนแทนเราได้แล้ว

ปลอมแปลงบัญชีของเหยื่อ

ที่พบบ่อยที่สุดคือการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวจากโปรไฟล์ดิจิทัลต่างๆของเหยื่อ คือการสร้างบัญชีใหม่โดยใช้ข้อมูลที่ขโมยมา เพื่อนำไปหลอกลวงผู้อื่นด้วยวิธีที่หลากหลายหรือนำไปเปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น

ประเภทภัยร้ายจากสื่อสังคมออนไลน์

เรามาดูกันว่า ภัยร้าย ที่บุกรุก หรือรุกรานจากสื่อสังคมออนไลน์ ที่เป็นผลร้าย มีอะไรบ้าง (คลิกเลือกศึกษาจากแผ่นป้าย)

หลอกขายของออนไลน์

หลอกให้เกิดความโลภ

คุกคามทางไซเบอร์

เข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ

หลอกรักออนไลน์

แก๊งเงินกู้ออนไลน์

ข่าวลวง ปลอม

แก๊งคอลเซนเตอร์

ลวงเข้าธนาคารออนไลน์

ข้อมูลอะไรบ้างที่ผู้ประสงค์ร้ายต้องการข้อมูลของท่าน

ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
ข้อมูลส่วนตัว(วัน เดือน ปีเกิด)
เลขบัตรประชาชน
ข้อมูลโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดีย (Facebook และ LINE)
ข้อมูลการธนาคาร
ประวัติทางการแพทย์
ประวัติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น
เว็บที่เข้าประจำ การค้นหาข้อมูล

การตรวจสอบเชิงเทคนิคด้วยแท็บเล็ท หรือสมาร์ทโฟน อาจจะทำได้ยากกว่าโน๊ตบุ๊ค ดังนั้น ต้องระมัดระวังกลโกง เล่ห์เหลี่ยมของคนร้าย ที่มีพัฒนาการมากมายหลายรูปแบบเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

นอกจากภัยที่มาจากการคุกคามภายนอกแล้ว การที่ผู้สูงอายุใช้ Social Media มากเกินไป ก็จะกระทบต่อสุขภาพและความสัมพันธ์ในครอบครัว ทางการแพทย์แนะนำว่าไม่ควรใช้มากกว่า 2 – 3 ชั่วโมงต่อวัน ไม่ควรใช้ก่อนนอน เพราะอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นอนไม่หลับได้

ก่อนจาก จากบทเรียนนี้ มีคลิปดีๆ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาฝาก แม้ว่า เหตุการณ์ในคลิปนี้ จะเป็นเพียงเด็กน้อย แต่เชื่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าว สามารถเทียบเคียงเกิดกับคนทุกคนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้สูงอายุนะครับ