เทคโนโลยีดิจิทัลใกล้ตัวเรื่องที่ต้องรู้

การดำรงอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ ทุกคนส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับเส้นทางดิจิทัล ทั้งทางตรง ทางอ้อม ไม่มากก็น้อย ส่งผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงต่อการดำรงชีวิต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีดิจิทัลก็นำภัยร้ายที่เรียกว่าอาชญากรรมทางไซเบอร์ตามมาด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องและผู้คนทั้งสังคมเมืองหรือสังคมชนบทต้องรับทราบและเรียนรู้ คือ

ข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data)

ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) มีหลายรายการ ทั้งอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูล หรืออยู่ในรูปของบัตรต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับรถ(รถยนต์และรถจักรยานยนต์) บางคนก็จะมีบัตรเครดิต ทุกบัตรล้วนแต่มีข้อมูลของเราอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัลทั้งสิ้น

เรามาดูกันว่า ทุกคนส่วนใหญ่ มีข้อมูลส่วนบุคคลอะไรกันบ้าง (ที่แสดงด้วยสีเหลือง เป็นข้อมูลที่ส่วนใหญ่ทุกคนต้องมี)

1.ข้อมูล ชื่อ ชื่อสกุล

2.เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขที่ใบอนุญาตขับรถ(รถยนต์และรถจักรยานยนต์), เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต

3.ที่อยู่(ทะเบียนบ้าน) อีเมล์ โทรศัพท์

4.ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้เข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น IP Address, MAC Address, Cookie ID

5.ข้อมูลทางชีวมิติ (Bio-metric) ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ฟิลม์เอ็กซ์เรย์, ข้อมูลสแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง, ข้อมูลพันธุกรรม

6.ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถ, โฉนดที่ดิน

7.ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิด, สถานที่เกิด, เชื้อชาติ, สัญชาติ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่, ข้อมูลการแพทย์, ข้อมูลทางการศึกษา, ข้อมูลทางการเงิน, ข้อมูลการทำงานในภาครัฐหรือการจ้างงาน

8.ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิล์ม

9.ข้อมูลการประเมินผลการทำงานภาครัฐ หรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง

10.ข้อมูลบันทึกต่างๆที่ใช้ติดตาม ตรวจสอบกิจกรรมต่างๆของบุคคล เช่น Log Files

11.ข้อมูลที่ใช้ค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเตอร์เน็ต

จะเห็นได้ว่า แต่ละคนจะมีข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย (ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีไม่เท่ากัน) ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บในรูปของไฟล์ดิจิทัล ซึ่งกระจายไปทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทำให้ในปัจจุบันข้อมูลบางส่วนของบุคคลบางคน ถูกล่วงละเมิดนำไปใช้ในทางที่มิชอบ ส่งผลเสียต่อสิทธิ ของเจ้าของข้อมูลอย่างไม่เป็นธรรม ภาครัฐจึงได้ตรากฏหมายเพื่อใช้คุ้มครอบสิทธิเหล่านี้ เรียกว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA : Personal Data Protection Act) บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ “บุคคลธรรมดา” ให้สิทธิในการแก้ไข, เข้าถึง หรือแจ้งลบข้อมูลที่ให้ไว้กับองค์กรเป็นต้น และกำหนดบทบาทหน้าที่และบทลงโทษ พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองข้อมูลของเรา การละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้นมีบทลงโทษจริงจัง แค่แอบถ่ายรูป เอาไปโพสต์โดยไม่ยินยอมก็สามารถเอาผิดได้แล้ว หรือแค่“เก็บ”ข้อมูลของเราไว้ โดยไม่ขอคำยินยอมก็ถือว่าผิด เช่นกัน (ศึกษา พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จากบทเรียน)

บัญชีผู้ใช้ (Account)

ในการเข้าถึง หรือเข้าใช้งานเพื่อเชื่อมต่อในโลกของดิจิทัลในทุกๆระบบ สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีก็คือบัญชีผู้ใช้ที่ผูกติดกับโดเมน หรืออาจจะเรียกรวมๆว่าบัญชีผู้ใช้หลัก (Account) ซึ่งบัญชีผู้ใช้เหล่านี้มีเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน คนคนหนึ่งอาจจะมีบัญชีผู้ใช้ในโลกดิจิทัลหลายบัญชีก็ได้(บางรายการอาจเข้าใช้โดยไม่ระบุตัวตนได้ เช่น การค้นหาข้อมูลผ่าน browser แต่ในความเป็นจริงการเข้าถึงบริการ เครื่องที่เปิดใช้งานก็ต้องผ่านกระบวนการเปิดสิทธิ์ของบัญชีผู้ใช้ด้วยเช่นกัน)

Google Account
ซึ่งคนส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ จะมีใช้งาน ซึ่งก็คือที่อยู่อีเมล์(ภายใต้โดเมน Gmail) และรหัสผ่านที่เข้าใช้ในบริการต่างๆของ Google .com, Play Store และระบบปฏิบัติการ Google Chrome
ซึ่ง Google Account นี้จะอยู่ในรูป
ชื่อที่ตั้ง@gmail.com (หรือของหน่วยงาน สถานศึกษา)

Microsoft Account
บัญชี Microsoft คือที่อยู่อีเมล์ ภายใต้โดเมนของ Microsoft และรหัสผ่านที่เข้าใช้ในบริการของ Outlook.com, Hotmail, Office, OneDrive, Skype, Xbox และระบบปฏิบัติการ Windows
ซึ่ง Microsoft Account นี้จะมีรูปแบบต่างๆกัน อาทิ ชื่อที่ตั้ง@hotmail.com, ชื่อที่ตั้ง@outlook.com เป็นต้น

บัญชีเพื่อใช้บริการ (Service Account)

นอกจากนี้บัญชีผู้ใช้ซึ่งเรียกง่ายๆก็คือ email account ตามความหมายข้างต้น ยังมีบัญชีอีกประเภท เป็นบัญชีสำหรับการเข้าใช้จากผู้ให้บริการอื่นๆที่เราเจตนาสมัครเข้าใช้บริการ นอกจากผู้สมัครใช้งานจะต้องกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data) แล้ว ผู้สมัครใช้บริการจะต้องทำการสร้างบัญชีผู้ใช้งาน (ชื่อผู้เข้าใช้งาน รหัสผ่านและบัญชีผู้ใช้งานหลัก: email) ซึ่งผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเหล่านึ้สามารถเข้าไปใช้ข้อมูล หรือบริการต่าง ได้ โดยปกติ มักจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ให้ปฏิบัติเพื่อความมีระเบียบ อาทิ
-สื่อสังคมออนไลน์(Social Network) ที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ Facebook และ Line
-การเปิดใช้งาน Mobile Device ทุกประเภท(Notebook, Tablet หรือ Smartphone)
-ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (เช่น 3BB, AIS, True Move)
-หน่วยงานบริการภาครัฐ (เช่น การไฟฟ้า, การประปา)
-ด้านการเงิน (บัตรเครดิต หรือเดบิต)
และอื่นๆอีกมาก ทั้งหมดล้วนต้องใช้
บัญชีผู้ใช้หลัก เพื่อไว้อ้างอิงและติดต่อกับผู้ใช้งานโดยตรง

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน
บัญชีของ 3BB

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน
บัญชีของ True ID

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน
บัญชีของAIS

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน
e-service ของการไฟฟ้า

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน
ของธนาคารกรุงไทย

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน
บัญชีของAIS

คำอธิบายศัพท์
โดเมนเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ช่วยให้เราเรียกที่อยู่ของเว็บไซต์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและจดจำง่าย แทนการจดจำ IP Address ซึ่งมีแค่ตัวเลขและจุด (เช่น 172.16.255.45 เป็นต้น)