คำแนะนำการแก้ไขปัญหา

หนี้นอกระบบหรือเงินกู้ที่มีลักษณะเรียกอัตราดอกเบี้ยเกิดกฎหมายกำหนด รวมถึงการทวงหนี้ในลักษณะที่เป็นการผิดกฎหมาย

แจ้งความหรือส่งเรื่องที่

ศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชั้น 3 อาคาร 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ถนนสาทรเหนือ เขตบางรัก กรุงเทพฯ

หรือโทรศัพท์สายด่วน 1599

หรือแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

พลาดแล้วทำอย่างไร

รวบรวมข้อมูล หลักฐาน และเอกสารที่เกี่ยวข้องติดต่อสถาบันการเงินเพื่อระงับการโอนเงินดังกล่าว รวมถึงแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน

แจ้งเบาะแสกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

1. รวบรวมหลักฐานและข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

2. ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของสถาบันการเงินเพื่อระงับการโอนและการถอนเงิน

3. หากไม่สามารถระงับการโอนเงินได้ ให้รวบรวมหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งลงบันทึกประจำวัน ณ ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไป

4. แจ้งระงับการถอนเงินออกจากบัญชีที่โอนไปกับสถาบันการเงินที่ใช้บริการ โดยสถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน จึงจะสามารถคืนเงินได้

5. แจ้งเบาะแสไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)​

6. ทำใจ... เมื่อมิจฉาชีพได้รับเงินโอน จะรีบกดเงินออกจากบัญชีทันที ทำให้โอกาสที่จะได้เงินคืนนั้นน้อยมาก

การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

หมายเหตุ บก.ปอท. ไม่สามารถดำเนินการลบหรือปิดกั้นโพสใดๆ ได้ทันที เพราะข้อมูลอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ให้บริการสื่อนั้นๆ การดำเนินการใดจำเป็นต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางกฏหมาย ที่ต้องมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยตนเอง ณ สถานีตำรวจ หรือที่ บก.ปอท. แล้วเท่านั้น

ขั้นตอนดำเนิการแจ้งเบาะแส
หากท่านพบการกระทำความผิด ทั้งที่พบและประสบด้วยตนเอง ให้ทำการสแกน QR Code ด้านล่างนี้ และกรอกข้อมูลลงในฟอร์มให้ครบ

ขั้นตอนการการแจ้งความ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1. ให้ผู้เสียหาย เตรียมเอกสารส่วนตัว และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. กรณีที่เสียหายต่อชื่อเสียง ให้เตรียมหลักฐาน ที่พบว่ามีการกระทำความผิด เช่น ปรินส์เอกสารหน้าจอ หน้าเว็บไซต์ หน้าโปรแกรมไลน์ โปรแกรมเฟสบุค หรือหน้าเพจที่พบการกระทำความผิด
3. กรณีที่เสียหายต่อทรัพย์ ให้เตรียมหลักฐานที่พบการกระทำความผิด การหลอกลวง ปรินส์เอกสารออกมาจากระบบคอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อย หลักฐานการโอนเงิน เป็นต้น
4. ให้ไปแจ้งความ ณ สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ สถานีตำรวจนครบาล หรือสถานีตำรวจภูธร หรือท่านสามารถเดินทางมา ร้องทุกข์ที่่ บก.ปอท. ได้เช่นกัน

โดนโกงออนไลน์

ขั้นตอนดำเนินการ

1. แคปหน้าจอทั้งหมดแล้วพรินท์ออกมา ประกอบด้วย
• หน้าเว็บไซต์ที่ขายของ รูปโปรไฟล์ของร้านค้า
• ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีของร้านค้า
• ข้อความในแชทที่เราพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ
• หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิปโอนเงิน
• สมุดบัญชีธนาคาร
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา
พร้อมใส่คำบรรยายกำกับว่าแต่ละภาพที่แคปออกมานั้นคืออะไร

2. แจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีและออกคำสั่ง “อายัดบัญชี”

นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ (สน.ที่ได้โอนเงิน) ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 เดือนตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกโกง หรือจะเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะก็ได้ ซึ่งจะมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในการติดตามหาตัวคนร้ายได้รวดเร็ว (แต่ก็ต้องเดินทางมาขึ้นศาลที่กรุงเทพเช่นกัน)

ต้องระบุว่าต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน
และต้องขอให้ตำรวจออกคำสั่งอายัดบัญชีให้เราด้วย

3.ดำเนินการอายัดบัญชี

ไปธนาคารตามบัญชีของคนร้าย นำเอกสารการแจ้งความ คำสั่งอายัดบัญชี สมุดบัญชี สำเนาบัตรประชาชน และหลักฐานต่างๆ ทั้งหมด เพื่อขอให้พนักงานธนาคารทำการติดต่อเจ้าของบัญชีที่โกงเราไปเพื่อแจ้งให้โอนเงินคืน เพราะหากไม่โอนคืนจะถูกดำเนินคดีฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา และระหว่างนี้ให้ทางธนาคารทำเรื่องอายัดบัญชีปลายทางเอาไว้ก่อน

เอกสารที่จำเป็นในการดำเนินเรื่องอายัดบัญชี คือ
(1) เอกสารหนังสือแจ้งความตัวจริงที่มีคำสั่งอายัดบัญชี
(2) เอกสารใบสำเนาบันทึกประจำวัน
(3) เอกสาร statement ของเราที่มีการโอนเงิน
(4) เอกสารหมายเลขบัญชี ปลายทางที่เราโอนเงิน
(5) เอกสารหลักฐานรูป บทสนทนา การซื้อขาย