วิดีทัศน์

การจัดสภาพแวดล้อมในวัด สำหรับผู้สูงอายุ
โดย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย

การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง
ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่มีความเสื่อมถอยของสภาพร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักพบปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคงจากการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ข้อ สายตาพร่ามัว รวมทั้งอาจพบอาการหลงลืม หรือสมองเสื่อมได้มากขึ้น บางรายมีอาการ หูตึง ดวงตาฝ้าฟาง หรือเดินเหินไม่สะดวกคล่องแคล่ว บางรายมีโรคประจำตัว บางรายเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยด้านร่างกายของผู้สูงอายุที่ส่งผลให้เกิดการลื่นลัม หกลัม หรือเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ เช่น สภาพแวดล้อมภายในบ้านที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นห้องน้ำเปียก ลื่น ระดับพื้นทางเดินไม่สม่ำเสมอ จัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม เป็นตัน ปัจจัยดังกล่าวย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้
โดย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย

การปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย
วีดิโอนี้เป็นผลผลิตจากความมุ่งมั่นสร้างสรรค์สังคมไทยของเครือข่าย"สถาปัตย์บำบัด" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, และกลุ่มสถาปนิกจากเครือบริษัทจาร์เค็น
คำแนะนำต่างๆ ในวีดิโอ กลั่นกรองมาจากความรู้ด้านสุขภาพ บูรณาการกับความรู้ด้านการออกแบบและการตกแต่งภายในบ้าน

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ 11 ข้อห้าม ของผู้สูงวัย 65 ปี ขึ้นไป เรื่องนี้หรือไม่ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย

🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า สหรัฐอเมริกาได้กำหนดอย่างเป็นทางการ ว่าความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ หน่วยอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น