เทคโนโลยีทางตรงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

จากจำนวนประชากรของประเทศประมาณ 67 ล้านคน เรามีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) จำนวนถึง 11,627,130 คน คิดเป็น 17.57% ซึ่งปี 2564 เราก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ..

“ผู้สูงอายุไทยในปัจจุบัน จึงต้องรู้เท่าทันและสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน โดยไม่ตกเป็นผู้เสียหาย โดนหลอกฉ้อโกงทรัพย์สิน หรือไปละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น”

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวว่า

“ผู้สูงวัยในสังคมสมัยใหม่ หรือโลกดิจิทัล จะตกอยู่ในสังคมทอดทิ้งกัน ทุกคนมีความเครียดสูง เครื่องจักรจะทำให้คนตกงานเป็นจำนวนมาก ขาดความเป็นชุมชน แต่มีข้อดีคือ จะทำให้คนสนใจการเจริญสติมากขึ้น สำหรับทางออกของปัญหาผู้สูงอายุในอนาคต ชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็ง…. และจะต้องพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล(Digital literacy) ได้… ”

พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวว่า

“โลกดิจิทัลและเทคโนโลยีต่างๆ มีความสำคัญกับผู้สูงอายุ เพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุก้าวทันโลก สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้ และเป็นเครื่องมือในการติดต่อกับลูกหลาน แต่ปัจจุบันอัตราผู้สูงอายุที่ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ยังน้อย แต่ก็ใช้แค่ฟังก์ชันโทรศัพท์ ฟังก์ชันอื่นๆ ยังใช้งานกันเป็นน้อย และคนที่ใช้งานเป็น ก็ยังน่าห่วงในเรื่องของการถูกหลอกลวง โดยเฉพาะถูกหลอกลวงจากการโฆษณาสินค้าสุขภาพต่างๆมากที่สุด รวมไปถึงการส่งต่อข้อความหรือรูปภาพที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังรู้ไม่เท่าทันการใช้สื่อเหล่านี้”