แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อม

คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้นความเสื่อมโทรมและการถดถอยของร่างกาย อีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้ประสิทธิภาพของอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเคลื่อนที่ลดลงไม่ว่าจะเป็นสายตา การเดิน การจับ การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง หรือการทรงตัว ส่งผให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งในบ้าน และนอกบ้าน ส่วนมากอุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่เกิดขึ้น เกิดจากการทรงตัว สะดุด หกล้ม อาทิ ลื่นล้มในห้องน้ำ การตกเตียง ตกบันได เดินชนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น

แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

ภายในบ้านและบริเวณรอบบ้าน

สภาพแวดล้อมมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะจะทำให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย มีสุขภาพดีและไม่เกิดโรคภัยต่างๆ นอกจากนั้นยังหมั่นคอยประเมินสภาพบ้านที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ต่างๆทั้งในบ้านและบริเวณบ้าน ที่อาจเป็นสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุ จนเป็นอันตรายได้
เรามาดูแนวทางการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ตาม
สภาพแวดล้อมที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ดังหัวข้อด้านบ
1. เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วมสุขภัณฑ์ ซึ่งนอกจากจะต้องมีความสูงพอเหมาะกับผู้สูงอายุแล้ว ยังจะต้องมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง เพราะผู้สูงอายุจำเป็นต้องเกาะ จับ โน้มตัว เพื่อใช้เป็นหลักยึดในการพยุงตัว จึงควรตรวจสอบให้มีความมั่นคงแข็งแรงไม่โยกคลอน สั่นหลวม
2. พื้นบ้านที่ผู้สูงอายุเดินผ่าน จะต้องไม่ลื่น หาก
มีสภาพพื้นผิวที่อาจทำให้เกิดความลื่น จำเป็นต้องจัดหาวัสดุปูทับเพื่อลดความลื่นบริเวณนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นห้องนอน พื้นห้องน้ำ เป็นต้น
3.จัดของใช้ให้เป็นระเบียบ หยิบจับง่าย หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของต่างๆตามขอบผนังข้างกำแพง จัดวางอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆโดยไม่ให้สายไฟวางบนพื้นเพราะอาจจะเป็นส่วนสำคัญทำให้สะดุดล้ม ผ้าเช็ดเท้า ผ้าเช็พื้น(ผ้าขี้ริ้ว) ก็เป็นอีกสาเหตสำคัญที่อาจจะทำให้ลื่นไถลได้ อีกสาเหตุที่สำคัญก็คือสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว ก็อาจจะพันแข้งพันขาจนล้มได้

4. เลือกสื้อผ้ารวมถึงเครื่องแต่งกายต่างๆ ให้พอดีตัว ไม่รุ่มล่ามยาวเกินไป ซึ่งจะทำให้ไปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จนเซหรือล้มได้ นอกจากนี้รองเท้าที่หลวมไม่พอดีกับฝ่าเท้าจะทำให้การเดินไม่สะดวก มีผลต่อการทรงตัว
5. บันไดบ้านที่ใช้ต้องมีความมั่นคง พื้นราบเรียบ มีความกว้างแต่ละขั้นที่พอดี โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน หากบันใดขาดความสมดุลย์ มีขั้นที่สูงเกินไป หรือขอบบันไดไม่เสมอกัน ก็ต้องทำราวบันไดเพื่อช่วยพยุงตัว
6. อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ของผู้สูงอายุควรอยู่ในตำแหน่งที่หยิบจับง่าย ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้การเอื้อมหรือก้มมากเกินไป
7. ต้องจัดแสงสว่างให้เพียงพอ โดยเฉพาะทางเดินไปห้องน้ำ ภายในห้องนอน รวมถึงทางเข้าออกทั้งในบ้าน และบริเวณรอบบ้าน

8. ควรเปิดประตู หน้าต่างให้แสงสว่าง และลมระบายได้ตลอด

ภายนอกบ้านและชุมชน

แม้ว่าผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดี สามารถดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถออกนอกบ้านไปยังสถานที่ต่างๆได้ แต่ในความเป็นจริง สภาพร่างกายหรือการเคลื่อนไหวดังกล่าว อาจจะไม่สมบูรณ์เต็มร้อย ซึ่งสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งผู้สูงอายุต้องร่วมกันประเมินและประมาณกำลังอย่างสม่ำเสมอ และในเรื่องการออกนอกบ้านก่อนให้ผู้สูงอายุออกนอกบ้านด้วยตนเอง สมาชิกในครอบครัวรวมทั้งผู้สูงอายุเองควรดำเนินการ ดังนี้
1.ตรวจสอบ สังเกต เส้นทางตั้งแต่บ้านพัก สู่ทางเดินที่จะต้องสัญจรผ่านไปตามจุดต่างๆ ว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นพื้นว่ามีความราบเรียบ มีสิ่งกีดขวาง หรือผ่านย่านที่มียวดยานพาหนะหรือไม่
2.ต้องประเมินว่าระยะทางจากบ้านพักจนถึงจุดหมายปลายทาง อยู่ในวิสัย มีพลังที่จะเดินได้
3.หากสถานที่สัญจร มีจุดพักที่มีที่นั่ง ต้องสังเกต ความแข็งแรงของที่นั่งพักด้วย
4.หากต้องใช้บริการรถรับจ้าง รถสาธารณะ ต้องประเมินถึงความปลอดภัยในการเดินทาง
5.ควรมีรายละเอียดเขียนใส่กระดาษไว้ในกระเป๋าของผู้สูงอายุ อาทิ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ญาติของผู้สูงอายุ สำหรับติดต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน