การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของชุมชน

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างๆ อันเป็นผลมาจากสภาพของสังคมของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผู้นำชุมชนรวมถึงคนในชุมชนเอง บางชุมชนให้ความสำคัญต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อประโยชน์และเน้นถึงความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสำคัญ

ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมพื้นฐานที่แต่ละชุมชนควรมี อาทิ
-ควรมีพื้นที่หรือสถานที่ทํากิจกรรม(ทั้งในแบบในร่มหรือลานกลางแจ้ง)
-ควรจัดกลุ่มกิจกรรม หรือกิจกรรมที่สอดคล้องตามความถนัดของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยหรือตามความสนใจ เช่น กลุ่มดนตรีไทย กลุ่มจักสาน กลุ่มช่างไม้ กลุ่มร้องเพลง เป็นต้น
-ควรมีการออกแบบจุดเชื่อมทางต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ เช่น มีทางลาดในบริเวณต่างระดับ มีอัตราส่วนไม่เกิน 1:12 (อัตราส่วนระหว่างความสูงต่อความยาวของทางลาด) พื้นผิวใช้วัสดุที่ไม่ลื่นมีราวกันตก มีราวจับเป็นระยะเมื่อเดินระหว่างอาคาร และติดตั้งหลังคาคลุมทางเดินป้องกันแสงแดดหรือฝน
-มี
พื้นที่สีเขียว หรือสวนสาธารณะ เพิ่มความสดชื่น รองรับการใช้งานระดับชุมชน เช่น สวนสาธารณะขนาดเล็กกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ รองรับการทำกิจกรรม การใช้งานของผู้สูงอายุในชุมชนที่อยู่ใกล้
-มีที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุโดยเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตรต้องจัดให้มีที่ว่างข้างที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตลอดความยาวของที่จอดรถโดยที่ว่างดังกล่าวต้องมีลักษณะพื้นผิวเรียบและมีระดับเสมอกับที่จอดรถเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายของผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นระหว่างเก้าอี้รถเข็นและตัวรถและเพียงพอในการเปิดประตูรถได้อย่างเต็มที่
-มีป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่ออํานวยความสะดวก มองเห็นได้ชัดเจน

แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว ยังมีชุมชนอีกมาก โดยเฉพาะชุมชนชนบท ที่ไม่สามารถดำเนินการหรือปรับสภาพพื้นที่ของชุมชนที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ ได้ ดังนั้นผู้สูงอายุจำเป็นต้องปรับตัว หรือใช้ชีวิตให้สอดคล้องหรือเข้ากับสิ่งแวดล้อมของสังคมในชุมชนนั้นๆ

ในเรื่องของการปรับตัว มีนักวิชาการที่ให้ความหมายในเรื่องนี้ ที่น่าสนใจ ดังนี้
เปลื้อง ณ นคร (2495 : 215)
ได้ให้ความหมายของคำว่าการปรับตัว ได้แก่ ความสัมพันธ์ ความเข้ากันได้ ระหว่างเอกัตบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเขาอยู่ ทำตัวให้เข้ากับสิ่งแวคล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) และมีความสุข

ไขศรี วรรธถวิชา (2509 : 76)
ได้ให้ความหมายของคำว่าการปรับตัว หมายถึง การที่บุคคลสามารถทำตัวให้เข้ากับสภาพความเป็นอยู่ได้อย่างดีและเป็นสุข

ศุกนิตย์ วัฒนธาดา (2518 : 142)
ได้ให้ความหมายของคำว่าการปรับตัว คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลทั้งทางกาย (Physical) และทางจิต (Mental) ให้อยู่ในลักษณะที่สมดุลกับสิ่งแวดล้อม

ผู้สูงอายุทั้งที่เคยอยู่ในชุมชนแต่เดิม และอาจจะเป็นสมาชิกใหม่ของชุมชน(อาจเป็นผลจากการเกษียณอายุ การเลิกจ้างงาน หรือที่กลับมาอยู่กับลูกหลาน) หรือแม้แต่เป็นคนที่ยังมีงานทำ ต้องให้ความสำคัญต่อการปรับตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของชุมชน เพราะในเวลานี้เป็นคนที่มีอายุมากขึ้น สุขภาพโดยรวมอาจจะไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับวันเวลาที่ผ่านมานอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีเวลามากขึ้น ดังนั้นการปรับตัวหรือปรับตนเองให้สอดคล้อง สามารถอยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่จึงเป็นเรื่องจำเป็นและต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีประเด็นที่ต้องปรับตนเอง สำคัญๆ อยู่ มีดังนี้

1.เส้นทาง ทางเดิน ทางสัญจรทางเท้า
2.สถานที่ ที่ผู้สูงอายุต้องติดต่อ
3.สิ่งอำนวยความสะดวก

คำแนะนำ
ควรมีกระดาษจดบันทึกไว้ในกระเป๋าทุกครั้งที่ผู้สูงอายุออกจากบ้าน โดยมีข้อมูล ชื่อ นามสกุล ผู้สูงอายุ แจ้งที่อยู่ รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์ ของสมาชิกในครอบครัว ที่อยู่กับผู้สูงอายุ

เส้นทาง ทางเดิน ทางสัญจรทางเท้า

เส้นทาง ทางเดิน ทางสัญจรทางเท้า หมายถึงเส้นทางที่ผู้สูงอายุใช้เดินทางตั้งแต่ออกจากประตูบ้าน ไปยังที่ต่างๆ อาทิ สวนสาธารณะเพื่อออกกำลังกาย หรือเส้นทางไปร้านค้าภายในชุมชน หรือไปที่รวมกลุ่มทำกิจกรรม เป็นต้น ซึ่งสมาชิกในครอบครัว ที่อยู่กับผู้สูงอายุ จำเป็นต้องตรวจสอบเส้นทางว่า มีความปลอดภัยต่อการเดินทางหรือไม่ (เช่น มีหลุม พื้นไม่เรียบ สิ่งกีดขวาง)ที่สำคัญต้องดูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ในเรื่องการทรงตัว สายตา การได้ยิน รวมถึงพละกำลังในการเดิน นอกจากนี้ระหว่างเส้นทางๆต่างๆที่ผู้สูงอายุจะเดินไป มีที่แวะพักหรือไม่

สถานที่

สำหรับผู้สูงอายุ ที่ยังช่วยเหลือตนเองได้ดี ควรให้ความสำคัญและรู้จักสถานที่ต่างๆที่ผู้สูงอายุจะต้องหรือจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมหรือต้องไปติดต่อ ว่าอยู่ตรงไหน หากต้องเดินทางไปด้วยตนเองจะสะดวกหรือไม่ (ลูกหลานหรือบุคคลในครอบครัว อาจจะต้องนำพาและทดสอบ การดูแลตนเองในเรื่องนี้ด้วย เพราะผู้สูงอายุบางรายอาจจะไม่สามารถจดจำเส้นทางได้) ซึ่งสถานที่ดังกล่าวจะมีทั้งภายในชุมชน และภายนอกชุมชน

2.1 ภายในชุมชน อาทิ สวนสาธารณะ, สถานที่จัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ, สถานพยาบาลของชุมชน, ตู้ ATM (เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ), ที่ทำการผู้นำชุมชน, ร้านค้าย่อยในชุมชน เป็นต้น
2.2
ภายนอกชุมชน อาทิ โรงพยาบาล, ธนาคาร, สถานีตำรวจ, หน่วยงานหรือที่ทำการด้านการปกครอง, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

สิ่งอำนวยความสะดวก

ในแต่ละชุมชนจะให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุที่แตกต่างกันไป ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวได้แก่ ทางลาดสำหรับเดินและราวบันได ป้ายสัญลักษณ์ และป้ายบอกทางหรือป้ายประกาศ เรามาดูรายละเอียดและมาตรฐานทั่วไปของสิ่งอำนวยความสะดวกกัน เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว

ทางลาดสำหรับเดินและราวจับหรือราวบันได

- จุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นและทางลาดชันต้องเรียบต่อเนื่องกัน ป้องกันการสะดุด
- ระยะความกว้างของทางลาดไม่ควรน้อยกว่า 90 ซม. เป็นระยะที่รถเข็นใช้งานได้สะดวก
- ความลาดชันต้องไม่น้อยกว่า 1:12 เช่น หากความสูง 1 เมตร ทางลาดก็จะยาว 12 เมตร และควรมีชานพักทุกๆ 9.6 เมตร เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน

- ทางลาดต้องมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และผิวทางลาดควรใช้วัสดุที่ไม่ลื่น เช่น ถ้าใช้ผิวเหล็กควรใช้เหล็กฉีกหนา ช่องถี่หรือเหล็ก Checker Plate ถ้าใช้ไม้ก็ใช้ไม้เทียม ไม้ไฟเบอร์หนา และควรวางแผ่นไม้แนวขวาง
- ทางลาดด้านที่ไม่ติดกับผนังควรยกขอบสูงจากพื้นทางลาดอย่างน้อย 15 ซม.
-ทางลาดต้องมีราวจับทั้ง 2 ข้าง
- เพื่อการใช้งานที่สะดวกและชัดเจนควรแยกสีทางลาดให้แตกต่างกับผนัง

เอกสารอ้างอิง : การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ สำนักงานอนามัยและสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
และ บริษัท โฮมบายเออร์ไกด์ จำกัด

ป้ายสัญลักษณ์ และป้ายบอกทางหรือป้ายประกาศ

ป้ายสัญลักษณ์ และป้ายบอกทางหรือป้ายประกาศ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ(และคนพิการ) และป้ายนั้นต้องมีความชัดเจน มองเห็นได้ง่าย และป้ายเหล่านั้นต้องไม่กีดขวางทางสัญจร กรณีที่ผู้สูงอายุหยุดอ่าน ซึ่งโดยปกติ ป้ายส่วนใหญ่จะยึดติดกับกำแพง หรือเสา หรือเป็นแบบแขวน ขนาดป้ายเพื่อแจ้งประกาศจะต้องมีข้อความกระทัดรัดเข้าใจง่าย ตัวอักษรขนาดใหญ่ สีสันเห็นได้ชัดเจน

ส่วนป้ายสัญญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ ป้ายประเภทนี้ จะมีขนาดที่เป็นมาตรฐานมีลักษณะรูปทรงวงกลม (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 45 ซม. 60 ซม. 75 .ซม.) หรือทรงสี่เหลี่ยม อาทิ ป้ายจราจรประเภทป้ายบังคับ (มีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 60 , 75 , 90 ซม.) นอกจากนี้ยังมีประเภทป้ายเตือนเขตก่อสร้าง ซึ่งผู้สูงอายุ ต้องพึงสังเกต หรือควรมีความรู้เกี่ยวกับสัญญลักษณ์ต่างๆของป้ายด้วย

ป้ายให้รถสวนทางก่อน มีความหมายว่า ให้ผู้ขับขี่หยุดรถและรอให้รถที่สวนมาผ่านไปก่อน

ป้ายห้ามเข้า หมายถึง ห้ามผู้ขับขี่ขับขี่เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้

ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย หมายถึง ห้ามผู้ขับขี่กลับรถไปทางซ้าย

ป้ายห้ามรถยนต์ หมายถึงห้ามผู้ขับขี่รถยนต์ ขับขี่รถยนต์เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้

ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์ หมายถึงห้ามผู้ขับขี่ ขับขี่รถจักรยานยนต์เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้

ป้ายห้ามรถจักรยาน หมายถึง ห้ามรถจักรยาน ขับขี่เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้

ป้ายห้ามคนผ่าน หมายถึง ห้ามคนเข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายนี้

ป้ายห้ามจอดรถ หมายถึง ห้ามจอดรถในทางที่ติดตั้งป้ายนี้ เว้นแต่การหยุดรับส่งคนหรือสิ่งของชั่วขณะ โดยต้องไม่ทำการชักช้า

ป้ายให้รถเดินทางเดียว หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางเดินรถทางเดียว ห้ามผู้ขับขี่ขับรถสวนกัน

ป้ายช่องเดินรถประจำทาง หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนดไว้สำหรับรถโดยสารประจำทาง

ป้ายช่องเดินรถจักรยานยนต์ หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนดไว้สำหรับรถจักรยานยนต์

ป้ายคนเดินเท้า หมายความว่า บริเวณที่ให้ใช้เฉพาะคนเดินเท้า

ป้ายความเร็วขั้นต่ำ หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่าตัวเลขที่กำหนดในป้าย ซึ่งมีหน่วยเป็น “กิโลเมตรต่อชั่วโมง”

ป้ายช่องเดินรถจักรยาน หมายความว่า ช่องเดินรถที่กำหนดไว้สำหรับรถจักรยาน

ป้ายให้ชิดซ้าย หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่ขับรถไปทางซ้ายของป้าย

ข้อมูล : https://dparktraffic.com/

ภาพรวมของการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับชุมชน

ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมพื้นฐานที่แต่ละชุมชนควรมี อาทิ
-ควรมีพื้นที่หรือสถานที่ทํากิจกรรม(ทั้งในแบบในร่มหรือลานกลางแจ้ง)
-ควรจัดกลุ่มกิจกรรม หรือกิจกรรมที่สอดคล้องตามความถนัดของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยหรือตามความสนใจ เช่น กลุ่มดนตรีไทย กลุ่มจักสาน กลุ่มช่างไม้ กลุ่มร้องเพลง เป็นต้น
-ควรมีการออกแบบจุดเชื่อมทางต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ เช่น มีทางลาดในบริเวณต่างระดับ มีอัตราส่วนไม่เกิน 1:12 (อัตราส่วนระหว่างความสูงต่อความยาวของทางลาด) พื้นผิวใช้วัสดุที่ไม่ลื่นมีราวกันตก มีราวจับเป็นระยะเมื่อเดินระหว่างอาคาร และติดตั้งหลังคาคลุมทางเดินป้องกันแสงแดดหรือฝน
-มีพื้นที่สีเขียว หรือสวนสาธารณะ เพิ่มความสดชื่น รองรับการใช้งานระดับชุมชน เช่น สวนสาธารณะขนาดเล็กกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ รองรับการทำกิจกรรม การใช้งานของผู้สูงอายุในชุมชนที่อยู่ใกล้
-มีที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุโดยเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตรต้องจัดให้มีที่ว่างข้างที่จอดรถไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตลอดความยาวของที่จอดรถโดยที่ว่างดังกล่าวต้องมีลักษณะพื้นผิวเรียบและมีระดับเสมอกับที่จอดรถเพื่อให้เพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายของผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นระหว่างเก้าอี้รถเข็นและตัวรถและเพียงพอในการเปิดประตูรถได้อย่างเต็มที่
-มีป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่ออํานวยความสะดวก มองเห็นได้ชัดเจน