เรื่องที่ 2 ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ

ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ

การศึกษาและเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย นับเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพ หากมีการฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะ

ด้านต่างๆ เช่น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากภาษาไทยไปประกอบอาชีพได้

ในการประกอบอาชีพต่างๆ นั้น ล้วนต้องใช้ภาษาไทยเป็นพื้นฐาน การได้ฟัง ได้อ่านได้เขียนจดบันทึก ตัวอย่าง

เรื่องราวต่างๆ จะทำให้ได้รับความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ทำให้มองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพ ช่วยให้ตัดสินใจประกอบอาชีพได้อย่างมั่นใจ นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลที่จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลผู้ที่มีอาชีพอยู่แล้ว ได้พัฒนาอาชีพของตนให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย

นอกจากนี้ยังสามารถใช้การฟัง การดู และการอ่านเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีข้อมูล ข้อเท็จจริง หลักฐาน 

เหตุผล ตัวอย่างแนวคิดเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ วิจารณ์ และตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งตัดสินใจในการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี

ช่องทางการประกอบอาชีพ

วิชาชีพที่ใช้ภาษาไทย เป็นทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ได้แก่ อาชีพนักพูดนักเขียนที่ต้องใช้ทักษะการพูด 

และการเขียนเป็นพื้นฐาน เช่น

1. ผู้ประกาศ

2.พิธีกร

3. นักจัดรายการวิทยุ

4. นักเขียนโฆษณาประาสัมพันธ์

5. นักข่าว

6. นักเขียนประกาศโฆษณาข่าวท้องถิ่น

7. นักเขียนบทความ


ทั้งนี้ ในการตัดสินใจเลือกอาชีพต่งๆ ขึ้นอยู่กับความถนัด ความสามารถและประสบการณ์ที่แต่ละคนได้สั่งสมมา 

รวมทั้งต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้เพิ่มเติมด้วย

การเตรียมตัวเขาสู่อาชีพพิธีกร 

อาชีพพิธีกร เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะการพูดมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้ทักษะ การฟัง การดู การอ่าน ที่จะ

ช่วยสะสมองค์ความรู้ไว้ในตน พร้อมที่จะดึงออกมาใช้ได้ตลอดเวลาสิ่งสำคัญในการเป็นพิธีกร คือ การพูด จึงต้อง

เตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ เช่น ศึกษาเรื่องลักษณะการพูดที่ดีหน้าที่ของพิธีกร คุณสมบัติของผู้ที่เป็นพิธีกร ขั้นตอนการพูดของพิธีกร เป็นต้น


ลักษณะการพูดที่ดี

1. เนื้อหาที่พูดดี ตรงตามจุดประสงค์เป็นไปตามขั้นตอนของงานพิธีนั้นๆ

2. มีวิธีการพูดที่ดี น้ำเสียงนุ่มนวล ชัดถ้อย ชัดคำ ใช้คำพูดถูกต้องเหมาะสม พูดสั้นๆ กระชับได้ใจความและ

ประทับใจ เช่น การพูดแสดงความเสียใจกรณีเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือประสบเคราะห์กรรม ควรมีวิธีการพูด ดังนี้

- พูดให้รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ

- แสดงความรู้สึกห่วงใย ร่วมทุกข์ร่วมสุข

- พูดด้วยน้ำเสียงแสดงความเศร้าสลดใจ

- พูดด้วยวาจาสุภาพ

- ให้กำลังใจและยินดีจะช่วยเหลือ

3. มีบุคลิกภาพที่ดี ผู้พูดมีการแสดงออกทางกาย ทางสีหน้า ทางจิตใจที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั้นๆ ซึ่งมีลักษณะ

แตกต่างกัน เช่น งานศพ งานมงคลสมรส งานอุปสมบท เป็นต้น

หน้าที่ของพิธีกร

พิธีกร คือ ผู้ดำเนินการในพิธี ผู้ดำเนินรายการ ผู้ทำหน้าที่

ดำเนินรายการของงานที่จัดขึ้นอย่างมีพิธีการ

หน้าที่ของพิธีกร จะเป็นผู้ทำหน้าที่บอกกล่าวให้ผู้ร่วมพิธีการ

ต่างๆ ได้ทราบถึงขั้นตอนพิธีการว่มีอะไรบ้าง ใครจะเป็นผู้พูด พูดตอนไหน ใครจะทำอะไร พิธีกรจะเป็นผู้แจ้งให้ทราบ นอกจากนี้ พิธีกรจะทำหน้าที่ประสานงานกับทุกฝ่ายให้รับทราบตรงกัน และเพื่อให้การดำเนินการตามขั้นตอนของพิธีการนั้นๆ เป็นไปตามกำหนดการและบรรจุวัตถุประสงค์ของงาน หากพิธีกรทำหน้าที่ได้

พิธีกร จึงเป็นผู้มีความสำคัญยิ่งต่องานพิธีนั้นๆ ถ้าพิธีกรทำ

หน้าที่ได้ดี งานพิธีนั้นก็จะดำเนินไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย แต่ถ้าพิธีกรทำหน้าที่บกพร่องก็จะทำให้งานพิธีนั้นไม่ราบรื่นเกิดความเสียหายได้

คุณสมบัติของพิธีกร

1. เป็นผู้ที่มีบุคลิกดี รูปร่างดี สง่า มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส รู้จักแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะกับกาลเทศะ

2. มีน้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟัง มีลีลาจังหวะการพูดพอหมาะ ชวนฟัง มีชีวิตชีวา

3. พูดออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี ชัดเจน ออกเสียงคำควบกล้ำได้ถูกต้อง

4. ใช้ภาษาดี เลือกสรรถ้อยคำนำมาพูดให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ดี สั้นและกระชับ มีศิลปะในการใช้ภาษา

5. มีมารยาทในการพูดให้เกียรติผู้ฟัง ควบคุมอารมณ์ได้ดี

6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวิธีสร้างบรรยากาศด้วยสีหน้าท่ าทาง ลีลาและน้ำเสียง ฯลฯ

7. เป็นผู้ใฝ่ใจศึกษารูปแบบวิธีการใหม่ๆ มาใช้ มีความคิดสร้างสรรค์ ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นและ

พยายามพัฒนาปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ

8. มีความรู้ในรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการของกิจกรรมที่จะทำหน้าที่พิธีกรเป็นอย่างดี ด้วยการศึกษา ประสานงาน 

ชักซ้อมสอบถามจากทุกฝ่ายให้ชัดเจนและแม่นยำ

9. เป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบดี มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างฉับไว

ขั้นตอนการพูดของพิธีกร

1. กล่าวทักทายกับผู้ฟัง

2. แจ้งวัตถุประสงค์หรือกล่าวถึงโอกาสของการจัดงาน

3. แจ้งถึงกิจกรรมหรือการแสดงที่จะจัดขึ้นว่ามีอะไร มีขั้นตอนอย่างไร

4. กล่าวเชิญประธานเปิดงาน เชิญผู้กล่าวรายงาน (ถ้ามี และกล่าวขอบคุณเมื่อประธานกล่าวจบ

5. แจ้งรายการที่จะดำเนินการในลำดับต่อไป ถ้ามีการอภิปรายก็เชิญคณะผู้อภิปรายเพื่อดำเนินการอภิปราย ถ้าหาก

งานนั้นมีการแสดงก็แจ้งรายการแสดง ดังนี้

5.1 บอกชื่อรายการ บอกที่มา หรือประวัติเพื่อเกริ่นให้ผู้ฟังเข้าใจเป็นพื้นฐาน

5.2 ประกาศรายนามผู้แสดง ผู้ฝึกซ้อม ผู้ควบคุม

5.3 เชิญชมการแสดง

5.4 มอบของขวัญของที่ระลึกหลังจบการแสดง

6. พูดเชื่อมรายการ หากมีการแสดงหลายชุดก็จะต้องมีการพูดเชื่อมรายการ

7 . เมื่อทุกรายการจบสิ้นลง พิธีกรจะกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ ผู้ฟังและผู้ชมผู้ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนงาน 

หากมีพิธีปิด พิธีกรก็จะต้องดำเนินการจนพิธีปิดเสร็จเรียบร้อย