เรื่องที่ 2 การเตรียมการพูด และลักษณะการพูดที่ดี

การเตรียมการพูดและลักษณะการพูดที่ดี 

พลตรีหลวงวิจิตวาทการ กล่าวไว้ในหนังสือ "จิตตานุภาพ" ว่าคนที่มีพลังดึงดูดหัวใจคนให้เข้ามาฟังและต้องมีลักษณะดังนี้

1) สายตาเข็ง มีอำนาจในตัว เวลาพูดกะพริบตาให้น้อยที่สุดหรือไม่กะพริบตาเลย

2) เสียงชัดเจนแจ่มใส หัดอ่านหนังสืออย่างช้า 1 ให้ชัดถ้อยชัดคำ ให้ได้ระยะเสมอกัน ถ้อยคำที่ใช้อักษะกล้ำหรือควบและที่สำคัญ “ร” หรือ “ล”เวลาพูดพยายามพูดให้เป็นจังหวะจะโคน อย่าพูดเร็วจนรัว เมื่อใดควรหยุดต้องหยุดบ้าง

3) ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า ไม่แสดงความโกรธหรือความกลัวให้ใครเห็น"บุคคลที่มีสง่" คือ คนที่บังดับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้ การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ต้องทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง ไม่รวดเร็วจนดูหลุกหลิก 

ไม่ผึ้งผายเกินไปจนดูเย่อหยิ่ง หรืออ่อนปวกเปียกจนคูเกียจคร้าน ควรยืนให้น้ำหนักตัว ได้ดุลไม่ให้ถ่วงหรือเอนเอียงไปทางส่วนใดส่วนรู้จักวิธีจูงใจคน ให้หันเหเข้ามาในกรอบความคิดของเราหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสิ่งที่ชักจงให้เขาละทิ้งข้อเสนอแนะของเรา


1. การเตรียมตัวของผู้พูด

1.1  เมื่อเป็นพิธีกร ต้องรู้หน้าที่ให้แน่ชัดว่าเราเป็นผู้ "ดำเนินรายการ" ให้เกิดความละมีบรรยากาศ ไม่ใช่ตัวตลก

และไม่ใช่วิทยากร อย่าพูดมาก หรือไปพูดวิพาใครในงาน พิธีกรควรจะชำเลืองดูประวัติวิทยากรสักเล็กน้อย ไม่ใช่ปุบปับอ่านคำแนะนำเลยและควรไปก่อนเริ่มงานประมาณครึ่งชั่วโมง

1.2 เมื่อต้องเป็นผู้ดำเนินรายการ ในการอภิปรายหมู่จะต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่ผู้อภิปรายที่จะต้องพูดนาน เป็นเพียง

ผู้ดำเนินรายการด้วยการแนะนำผู้ร่วมอภิปรายและสร้างบรรยากาศในการอภิปรายจะยิ่งดี หน้าที่สำคัญอย่างหนึงคือจะต้องกำหนดเวลาให้แต่ละคนผลัดกันพูด คนละกี่นาทีต้องประกาศให้ชัด เพื่อผู้อภิปรายจะได้กะเวลาได้ถูกต้อง คอยช่วยเสริมหรือประคับประคองให้ผู้อภิปรายที่ไม่ค่อยสันทัดเวทีด้วย การให้กำลังใจในกรอภิปรายพูดง่าย ๆ ว่าการอภิปรายจะมีรสชาติหรือไม่ ผู้ดำเนินรายการมีส่วนเป็นอย่างมาก

1.3 การเตรียมเรื่องที่จะพูด มีขั้นตอนดังนี้

1.3.1 การเลือกหัวข้อเรื่อง ผู้พูดควรเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับผู้พูดเอง และเป็นต้องคำนึงถึงโอกาส 

สถานการณ์ สถานที่ และเวลาที่กำหนดให้พูดและเหมาะสมผู้ฟัง รวมทั้งเป็นเรื่องที่ผู้ฟังมีความสนใจต้องคำนึงถึงโอกาส สถานการณ์ สถานที่ และเวลาที่กำหนดให้

1.3.2 การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องที่จะพูด ผู้พูดจะต้องกำหนดะได้เตรียมเรื่องให้สอดกล้อง

กับจุดมุ่งหมายในการพูดแต่ละครั้งให้ชัดเจนว่า ต้องการให้ความรู้ โน้มน้าวใจ หรือเพื่อความบันเทิงเพื่อจะได้เตรียมเรื่องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย  ผู้พูดต้องกำหนคขอบเขตเรื่องที่จะพูครอบคลุมเนื้อหาลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด

1.3.3 การค้นคว้าและรวบรวมความรู้ผู้พูดต้องประมวลความรู้แล้วแขกแยะให้ได้ว่า อะไรคือความคิดหลัก 

อะไรคือความคิครอง สิ่งใดที่จะนำมาใช้เป็นเหตุผลความคิดทั้งหมดสนับสนุนความคิดนั้น ๆผู้พูดต้องบันทึกข้อมูลที่ได้ว่า มาจากแหล่งใด ใครเป็นผู้พูดหรือผู้เขียนทั้งนี้ ผู้พูดจะได้อ้างอิงที่มาของข้อมูลได้ถูกต้องในขณะที่พูด

1.3.4 การจัดเรียบเรียงเรื่อง คือ การวางโครงเรื่องซึ่งจะช่วยให้การพูดไม่วกวนสับสน เพราะผู้พูดได้จัด

ลำดับขั้นตอนการพูดไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความต่อเนื่องครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย การจัดลำดับเนื้อเรื่องจะแบ่งเป็น 3 ตอน คือ คำนำการสรุป

การสรุป มีวิธีการสรุปคล้ายๆ กับคำนำ ดังนี้

1) สรุปด้วยการกล่าวย้ำถึงความสำคัญของเรื่องที่พูด

2) สรุปด้วยบทกวีคำคม สุภาษิต คำพังเพย

3) สรุปด้วยการทำนาย หรือคาดหวังในสิ่งที่จะเป็นไป

4) สรุปด้วยอารมณ์ขัน

5) สรุปด้วยการเสนอความคิดให้ผู้ฟังนำไปคิดต่อไป

 6) สรุปด้วยคำถาม

สิ่งที่สำคัญของการพูด คือ บุคลิกภาพของผู้พูด ผู้พูดต้องมีความมั่นใจ การที่จะมีความมั่นใจคือ การได้เตรียม

ตัวมาอย่างดีเตรียมเนื้อหาและวิธีการพูด แต่งกายสุภาพเหมาะสมมีจิตใจกล้าหาญไม่ประหม่า เคอะเขิน พูดด้วยเสียงดังชัดเจน พูดจาฉาดฉาน ใช้ภาษาสุภาพและเหมาะสม

1.3.5 ผู้ฟัง ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน ผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังด้วยการใช้ภาษา เสียง กิริยาท่าทาง 

บุคลิกภาพของตนผู้ฟังก็มีส่วนช่วยให้การพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และติดตามอย่างมีเหตุผล ก่อนจะพูดทุกครั้ง ผู้พูดต้องพยายามศึกษารายละเอียด เกี่ยวกับผู้ฟังให้มากที่สุด เช่น จำนวนผู้ฟัง เพศ ระดับการศึกษา ความสนใจของผู้ฟังตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้นำมาเตรียมการพูดให้เหมาะสมและยังใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย

2. ลักษณะการพูดที่ดี

2.1 การปรากฏกายบนแท่นพูด (โพเดียม) อย่างไรจึงจะดูดี

นักจิตวิทยาเอกของโลกกล่าวไว้ว่า มนุษย์รับรู้หรือตัดสินเบื้องต้นว่า คนนี้น่าคบน่าไว้ใจ น่าเชื่อถือ หรือน่าท

ธุรกิจด้วย เช่นเดียวกันเราใช้ตาเลือกซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเสื้อผ้าแม้แต่จะซื้อผลหมากรากไม้ เราก็เลือกดูผิว ดูเปลือก ดูสีสันกล่าวคือ เราใช้ตาดูเฉพาะเปลือกเป็นเบื้องต้น ซึ่งก็บอกอะไรเราได้หลายอย่าง ส่วนแก่นนั้น แน่นอนมีความสำคัญที่สุด เราต้องการคบหรือทำธุรกิจกับคนดี เราต้องการฟังคนที่พูดดีมีสาระ เราต้องการบ้านหรือรถยนต์ที่มีคุณภาพ เราต้องการผักและผลไม้ ที่เนื้อในดีน่ารับประทานนั่นเป็นแก่น ดังคำว่าถ้ารูปงามทรามสงวนนวลอนงค์ไม่รู้จักแต่งองค์ก็เสียงาม

2.2 เปิดฉากการพูดอย่างไรจึงจะไปได้สวยหลังจากที่แสดงความกระตือรือรั้นและความเต็มใจในการมาพูดด้วย

อากัปกิริยายิ้มแย้มแจ่มใส มีสัมมาคารวะแล้ว ก็มาถึงสาระสำคัญที่สุดคือ การเปีดฉากการพูด ซึ่งมีหลักการคังนี้

2.2.1 อย่าเปีดฉากการพูดด้วยสีหน้าท่าทางที่จริงจังเกินไป จงพูดอย่างธรรมดาๆ และเป็นกันเองที่สุดด้วย

เสียงที่ไม่ดัง จนเหมือนการตะโกน หรือไม่เบาจนเหมือนเสียงกระซิบ

กะระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟนให้พอดี ที่สำคัญ อย่าเอามือเคาะไมโคลังหรือไม่ดังเป็นอันขาด 

ให้สังเกตเครื่องหมาย "ON" (เปิด) หรือ "OFF” (ปิด)

2.2.2 การทักทายที่ประชุม วิทยากรหรือผู้พูด จะต้องรู้ว่าใครเป็นประธานหรือในที่ประชุม ถ้าไม่รู้ต้องรีบ

ถามก่อนขึ้นพูด ก่อนอื่นต้องทักทายประธานในที่ประชุม หรือผู้นำทางศาสนาอยู่ด้วย ต้องทักทายพระสงฆ์ก่อน เช่น "นมัสการพระคุณารพ" แล้วจึงกล่าวทักทายประธาน โดยการเอ่ยชื่อและตำแหน่งสุดท้าย หรือตำแหน่งสูงเท่าที่ผ่านมาในอดีตเพียงตำแหน่งเดียว เช่น อาจเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาก่อน แต่ตอนนี้อาจจะไม่ได้เป็นอะไรแล้ว ก็ต้องแนะนำตำแหน่งรัฐมนตรี ควรทักทายคนสำคัญ ๆ เพียง๒ - ๓ คนเท่านั้น เขาไม่นิยมพูดคำว่า "เขกผู้มีเกียรติ" แต่นิยมใช้คำว่า "ท่านผู้มีเกียรติ"

2.2.3 อย่าเปิดฉากด้วยการถ่อมตัวจนเกินไป แม้ว่าคนไทยไม่ชอบท่าทางของผู้พูดที่อวดรู้ อวดเก่ง ยกตนข่ม

ท่าน จงออกตัวพอเป็นพิธี แต่เต็มไปด้วยความมั่นใจ มีนักพูดจำนวนไม่น้อย ที่คิดว่า การออกตัวแล้ว จะทำให้ผู้ฟังเห็นใจ และให้อภัย ถ้าพูดพลาดนับว่าเป็นการเข้าใจผิด การถ่อมตัวเสียยกใหญ่ กลับเป็นการทำลายความศรัทธา และความสนใจของผู้ฟังเข้าทำนอง ไม่พร้อมแล้วมาพูดทำไม

2.2.4  ถ้าไม่แน่ใจว่าเก่งจริง อย่าเปิดฉากการพูดด้วยเรื่องตลก มีนักพูดหน้าใหม่ บางคงอยาสร้าง

บรรยากาศการพูดด้วยการเล่าเรื่องตลก การพูดเรื่องตลก หรือสร้างอารมณ์ขัน เป็นดาบสองคม ดีไม่ดีจะเสียบรรยากาศมากกว่าสร้างบรรยากศในการสร้างอารมณ์ขันเรื่องเดียวกันแท้ ๆ บางคนสามารถพูดให้คนหัวเราะ ในขณะที่บางคนเล่าแล้วผู้ฟังนั่งเฉย ๆ ก็มีการเล่าเรื่องตลก ต้องอาศัยกลวิธีหลายอย่างประกอบกัน ทั้งท่าทางการเล่า น้ำเสียง ภาษามือ หรือจังหวะในการเล่าและเวลาเล่า ต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ตีหน้าตายฉะนั้นต้องให้แน่ใจว่าเราเก่งจริงหรือรู้จริง หรือที่ว่ามือถึงจริงๆ จึงควรทำ

2.2.5 หลังจากการทักทายผู้ฟัง ด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและมีสัมมาคารวะแล้ว คำนำในการเปิดฉากพูด จะต้องมี

พลังเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังได้ทันที ด้วยการ

- นำคำกลอน หรือคำประพันธ์ของกวีที่ผู้ฟังรู้จักทั่วไปมาเบิกโรง

- นำเอาพระพุทธวจนะ หรือคำสอนของศาสนาอื่น ๆ มากล่าวนำ

- นำความจริงที่ผู้ฟังไม่ค่อยอยากเชื่อมาเล่า

- นำเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นระหว่างเดินทางมาบรรยาย

- นำความเปั่น ความเชยของผู้พูดมาเล่าก็ได้ แต่ต้องไม่เฉิ่มเบ๊อะจนทำให้เสียภาพลักษณ์ของผู้เล่า อาจจะเป็น

ความเปีนเล็ก ๆ น้อย ๆ

2.2.6 นักพูดและวิทยากรผู้บรรยาย กวรจะมองหน้าผู้ฟังที่เรากำลังพูดด้วยหรือเวลาบรรยายจะต้องมอง

ผู้ฟังให้ทั่วห้อง ไม่ใช่มองผู้ฟังคนใดคนหนึ่งหรือด้านใดด้านหนึ่งการที่ผู้พูดมองหนำาหรือประสานตากับผู้ฟัง ผู้ฟังจะมีความรู้สึกว่า ผู้พูด ผู้บรรยายกำลังพูดกับเขาด้วย

2.2.7 ไม่ควรพูดเล่นหัวกับผู้ฟังมากเกินไป บางทีวิทยากรอาจจะรู้จักผู้ฟังบางคนเป็นอย่างดี อาจเป็นเพื่อน

เก่าแต่ก็ไม่ควรพูดถึงเขาจนเกินเลย เพราะเรากำลังพูดคุยกับทุกคน ไม่ควรแสดงความสนิทสนมกับผู้ฟังคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษอาศัยการเตรียมการที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่สามารถปฏิบัติได้ และฝึกฝนบ่อย ๆการเป็นนักพูดที่ดีจะมีความเป็นไปได้สูง