เรื่องที่ 5 สํานวนภาษา

สำนวนภาษา

สำนวนภาษา หมายถึง ถ้อยคำที่มีลักษณะพิเศษ ใช้เพื่อรวบรัดความที่ยาวๆ หรือเพื่อเปรียบเทียบ เปรียบเปรย 

ประชดประชัน หรือเตือนสติ ทำให้มีความหมายลึกซึ้งยิ่งกว่าถ้อยคำธรรมดา สำนวนภาษามีความหมายกับโวหารซึ่งรวมถึงอุปมา อุปไมย บางครั้งจะเรียกซ้อนกันว่า สำนวนโวหาร คนไทยใช้สำนวนภาษามานานจนถึงปัจจุบัน จึงมีสำนวนภาษารุ่นเก่าและสำนวนที่เกิดขึ้นใหม่ สำนวนภาษาเป็นวัฒนธรรมทางภาษาซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน และสืบสานมาเป็นสำนวนภาษารุ่นใหม่อีกมากมาย

ภาษาไทยที่เราใช้พูดจาสื่อสารกันนั้น ย่อมีสองลักษณะ ลักษณะที่ 1 คือ เป็นถ้อยคำภาษาที่พูดหรือเขียนตรงกัน

ไปตรงกันมาตามความหมาย เป็นภาษาที่ทุกคนฟังเข้าใจกัน อีกลักษณะหนึ่งคือถ้อยคำภาษาที่มีชั้นเชิงผู้ฟังหรือผู้อ่านต้องคิดจึงจะเข้าใจ แต่บางครั้งถ้าขาดประสบการณ์ได้ภาษาก็จะไม่เข้าใจ ภาษาที่มีชั้นเชิงให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องคิดนี่เอง คือ สำนวนภาษา บางคนเรียกว่า สำบัดสำนวน สำนวนภาษามีลักษณะต่าง  ๆ ดังกล่าวข้างต้นเรียกแตกต่างกัน ดังนี้

1. สำนวน คือ สำนวนภาษาที่ใช้เพื่อเป็นการรวบรวมตัดข้อความที่ต้องพูดหรืออธิบายยาว ๆ ให้สั้นเข้าใช้เพียง

สั้นๆ ให้กินความหมายยาว ๆ ได้ เช่น

         ปลากระดี่ได้น้ำ           หมายถึง แสดงกริยาท่าทางดีดดิ้นร่าเริง

         ที่เท่าแมวดิ้นตาย         หมายถึง ที่ดินหรือเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ไม่พอจะทำประโยชน์อะไรได้

         เลือดเย็น                   หมายถึง ไม่สะทกสะท้าน เหี้ยม

         แพแตก                     หมายถึง พลัดพรากจากกันอย่างกระจัดกระจาย ไม่อาจมารวมกันได้

         ไม่มีปี่มีกลอง ไม่มีปี่มีขลุ่ย หมายถึง ไม่มีเค้ามาก่อนเลยว่าจะเป็นเช่นนี้ จู่ ๆ ก็เป็นขึ้นมา หรือตัดสินใจทำ

  ทันที

         รักดีหาจั่ว รักชั่วหามเสา   หมายถึง ใฝ่ดีจะมีสุข ใฝ่ชั่วจะพบความลำบาก

         สวยแต่รูป จูบไม่หอม   หมายถึง มีรูปร่างหน้าตางาม แต่ความประพฤติและกริยามารยาทไม่ดี

         อดเปรี้ยว ไว้กินหวาน  หมายถึง อดใจไว้ก่อน เพราะหวังสิ่งที่ดี สิ่งที่ปรารถนาข้างหน้า

สํานวนต่างๆ ย่อมมีที่มาต่างๆ กัน เช่น จากการดูลักษณะนิสัยใจคอของคน จากเหตุการณ์แปลกๆ จากความ

เป็นไปในสังคม จากสิ่งแวดล้อม นิทาน ประวัติศาสตร์ ตํานาน ฯลฯ สํานวนจึงเกิดขึ้น เสมอ เพราะคนช่างคิดย่อมจะนําเรื่องนั้นเรื่องนี้มาผูกเป็นถ้อยคํา สํานวนสมัยใหม่ที่ได้ยินเสมอๆ เช่น

เขี้ยวลากดิน หมายถึง คนเจ้าเล่ห์ รู้มาก ชํานาญ เชี่ยวชาญ (ในเรื่องไม่ดี) 

ชั้นเชิงมาก ส้มหล่น หมายถึง ได้รับโชคลาภโดยไม่ได้คิด หรือคาดหวัง ไว้ก่อน       

2. คำพังเพย  คือ สำนวนภาษาที่ใช้เปรียบเทียบหรือเปรียบเปรย ประชดประชัน มีความหมายเป็นคติสอนใจ ลักษณะคล้ายกับสุภาษิต อาจจะเป็นคำกล่าวติชม หรือแสดงความคิดเห็น คำพังเพยเป็นลักษณะหนึ่งของสำนวนภาษา เช่น

         กินบนเรือน ขี้บนหลังคา   หมายถึง เปรียบกับคนอกตัญญู หรือเนรคุณ

         ขายผ้าเอาหน้ารอด      หมายถึง ยอมเสียสละแม้สิ่งจำเป็นที่ตนมีอยู่เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้

         คางคกขึ้นวอ แมงปอใส่ตุ้งติ้ง     หมายถึง คนที่ฐานะต่ำต้อยพอได้ดิบได้ดี ก็มักแสดงกริยา อวดดี

         ตำข้าวสารกรอกหม้อ   หมายถึง คนเกียจคร้านหาเพียงพอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ ทำพอให้เสร็จไปเพียง

 ครั้งเดียว

         น้ำท่วมปาก                 หมายถึง พูดไม่ออก เพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนและอื่น

3. สุภาษิต คือ สำนวนภาษาที่ใช้เป็นเครื่องเตือนสติ คำกล่าวสอนใจในสิ่งที่เป็นความจริงแท้แน่นอนเป็นสัจธรรม มักกล่าวให้ทำความดีหลีกหนีความชั่ว

         กล้านักมักบิ่น             หมายถึง กล้าหรือห้าวหาญเกินไปมักได้รับอันตราย

         เข้าเถื่อนอย่างลืมพร้า   หมายถึง ให้มีสติอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าต้องมีมีดพร้าติดตัวไปด้วย

         เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด  หมายถึง ประพฤติตามผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย


ภาคเหนือ

ทำมิชอบเข้าลอบตนเอง หมายถึง กรรมที่ผู้ใดทำไว้ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้น

คนรักใหญ่เท่ารอยตีนเสือ หมายถึง คนรักมีน้อย คนชังมีมาก

ข้าวเหลือเกลืออิ่ม หมายถึง อยู่ดีกินดี

ภาคใต้

ปากอี้ฆ่าคอ หมายถึง ปลาหมอตายเพราะปาก

ใหญ่พร้าวเฒ่าลอกอ หมายถึง อายุมากเสียเปล่าไม่ได้มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่

ช้างแล่นอย่ายุงหาง หมายถึง อย่าขัดขวางผู้ที่มีอำนาจ หรือเหตุการณ์ที่กำลังรุนแรงอย่าไปขัด

ขวาง ฯลฯ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตีกลองแข่งเสียงฟ้า ขี่ม้าแข่งตาแว่น(ตะวัน) หมายถึง แข่งดีหรือผู้มีอำนาจวาสนาไม่มีทางจะสู้ได้

น้ำขึ้นปลาลอย น้ำบกหอยไต่ หมายถึง ทีใครทีมัน

ตกหมู่แฮ้ง (แร้ง) เป็นแฮ้ง หมายถึง คบคนดีจะพาให้ตนดีด้วย

ตกหมู่กาเป็นกา หมายถึง คบคนชั่วจะพาให้ตนชั่วตาม ฯลฯ

การรู้จักสำนวนไทย มีประโยชน์ในการนำมาใช้ในการพูดและการเขียน ทำให้ไม่ต้องพูดหรืออธิบายยาวๆ เช่น 

ในสำนักแห่งหนึ่ง จู่ๆ ก็เกิดมีของหาย ทั้งๆ ที่ได้มีการรักษาป้องกันอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่ให้มีคนภายนอกเข้ามาได้ แต่ของก็ยังหายได้ เหตุการณ์ เช่นนี้ก็ใช้สำนวนภาษาสั้นๆ ว่า "เกลือเป็นหนอน" ได้ซึ่งหมายถึงคนในสำนักงานนั้นเองเป็นไส้ศึกให้คนภายนอกเข้ามาขโมยของหรือเป็นขโมยเสียเอง

ถ้าจะเตือนสติคนที่กำลังหลงรักหญิงที่มีฐานะสูงกว่าซึ่งไม่มีทางจะสมหวังในความรัก ก็ใช้สำนวนภาษาเตือนว่า 

"ใฝ่สูงเกินศักดิ์"

นอกจากจะใช้สำนวนภาษาในการประหยัดคำพูด หรือคำอธิบายได้แล้ว ยังทำให้คำพูดหรือข้อเขียนนั้นมีคุณภาพ

แสดงความเป็นผู้รู้จักวัฒนธรรมของผู้ใช้ด้วย

มาเล่นเกมส์กัน!!!