เรื่องที่ 1 หลักการ ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการฟังและการดู


ผู้ที่สามารถรับสารได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ ข่อมรับรู้สิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ตลอดจนถึงเรียนรู้ใด้ดีและแม่นยำ ให้รับประโยชน์และได้เปรียบมากกว่าผู้ที่ไม่มีวิธีการรับรู้

หลักการฟัง การดู

     การติดต่อสื่อสารที่สำคัญที่สุดก็คือ ทั้งผู้ส่งสาร (ผู้พูด) และผู้รับสาร (ผู้ฟังผู้ดู) จะต้องเข้าใจจุดประสงค์และความหมายได้ตรงกัน การสื่อสารนั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย

ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่พูดหรือเขียน เพื่อแจ้งความประสงค์ให้ผู้อื่นรับรู้

ผู้รับสาร คือ ผู้ฟังผู้ดูหรือผู้ที่รับรู้ว่า ผู้ส่งสารพูดหรือเขียนว่าอย่างไร

สาร คือ ข้อความหรือเรื่องราวที่มีความหมาย ที่ผู้ส่งสารต้องการจะแจ้งให้ทราบ การฟังการดู เป็นการรับสารประเภทหนึ่ง


การฟัง หมายถึง การรับรู้จากเสียงที่ผู้พูดสื่อสารมาให้ มีหลักการและจุดมุ่งหมาย ดังนี้

1.1 การฟังเพื่อความรู้

การฟังเพื่อความรู้ ต้องฟังโดขตั้งใจ มีสมาธิ จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการฟัง ความรู้ที่ได้รับฟังหรือดูต้องแยกให้ได้ว่า ตอนใดเป็นความรู้สึกนึกคิด ตอนใดเป็นข้อเท็จจริงหรือตอนใจเป็นความคิดเห็นของผู้พูด การฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ สิ่งใดที่เป็นความรู้ใหม่ ๆ ต้องจดบันทึกความสำคัญไว้ด้วย

1.2 การฟังคำสั่งเพื่อนำไปปฏิบัติได้

      ต้องฟังด้วยความตั้งใจ และฟังให้เข้าใจแยกข้อความว่า ใครสั่ง สั่งทำอะไร ทำอย่างไร ถ้าฟังคำสั่งไม่เข้าใจ กวรขอร้องผู้พูดให้พูดซ้ำจนเข้าใจ ควรจดบันทึกคำสั่งไว้เพื่อกันลืม และจะได้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

1.3 การฟัง การดู เพื่อความเพลิดเพลิน

         การฟัง การดูเพื่อความเพลิดเพลิน ผู้ฟังจะเกิดอารมณ์และความรู้สึกเพลิดเพลิน เมื่อได้ฟังน้ำเสียง อาจเป็นเสียงมนุษย์ เสียงคนตรี เสียงธรรมชาติ หรือการได้ฟัง ได้ดูเรื่องราวที่พอใจนอกจากจะเกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังก่อให้เกิดความรู้ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ที่ผู้เรียนอาจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

1.4 การฟังเพื่อพิจารณาคุณค่าของสิ่งที่ฟังการฟัง

เพื่อพิจารณาคุณค่าของสิ่งที่ฟัง ต้องเลือกฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ตนเองให้มากโดยมีหลักสำคัญในการฟัง เพื่อพิจารณาคุณค่าของสิ่งที่ฟัง คือ เรื่องนั้นเป็นเรื่องอะไร ฟังแล้วมีคติสอนใจอะไรบ้าง ฟังแล้วได้อารมณ์ความรู้สึกอย่างไรบ้าง ฟังแล้วได้ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้อย่างไร และสามารถนำสำนวนภาษาไปใช้พูดใช้เขียนได้อย่างไร

1.5 หลักการฟังคำถามการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ผู้ฟังต้องตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ ฟังเรื่องให้เข้าใจและตั้งคำถามถามตนเอง

ว่า เรื่องที่ฟังเป็นเรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ให้พิจารณาว่าตอนใดเป็นใความสำคัญ ตอนใดเป็นส่วนขขาย ให้วิเคราะห์แยกแยะว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรเป็นข้อคิดเห็น อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล เพื่อประโยชน์ในการตีความและประเมินค่าของเรื่องที่ฟัง และให้บันทึกข้อความที่สำคัญไว้ให้เรียบเรียงคำถามและคำตอบทั้งหมดโดยใช้ภาษาของตนเองง่าย ๆ สั้น ๆ เป็นการสรุปความซึ่งการดูจะทำให้ผู้ดู


การดู หมายถึง การรับรู้ความหมายจากคำหรือข้อความทางสายตา ซึ่งการดูจะทำให้ผู้ดูมองเห็นภาพของสิ่งต่าง ๆ การเคลื่อนไหว เหตุการณ์เรื่องราวสีสันต่าง ๆ การดูข้อความเรื่องราวและสิ่งที่ดู ต้องทำความเข้าใจเรื่องที่ดูจับใจความสำคัญตีความพิจารณารายละเอียดวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ และเห็นคุณค่าเรื่องที่ดูแล้วนำความรู้ที่ได้จากการดูไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การดูมี ๒ ประเภท คือ

1. การดูจากของจริง เช่น การชมการสาธิต การไปทัศนาจร ฯลฯ

2. การดูผ่านสื่อ เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อคอมพิวเตอร์ ภาพถ่ายสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อภาพยนตร์ สัญลักษณ์ ฯลฯ

หลักการดูที่ดี มีดังนี้

2.1 ดูอย่างมีจุดมุ่งหมาย คือ ดูไปเพื่ออะไร เพื่อความรู้ เพื่อความเพลิดเพลิน หรือเพื่อให้ได้ข้อคิดในการนำไปปฏิบัติตาม

2.2 ดูในสิ่งที่ควรดู เช่น ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนควรดูรายการที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียน ได้แก่ ราขการตอบปัญหาทางวิชาการ รายการที่มุ่งให้แนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสม

2.3 ดูอย่างมีวิจารณญาณ ให้ดูและคิดไตร่ตรองหาเหตุและผลทุกครั้ง

2.4 ดูแล้วนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์ 

การดูภาพสัญลักษณ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดู เพื่อให้เข้าใจและนำมาใช้ปฏิบัติให้ถูกต้องเช่น สัญญลักษณ์ที่แสดงเครื่องหมายการจราจร เครื่องหมายการจราจร เครื่องหมายห้ามผ่าน เครื่องหมายอันตราย ฯลฯ


     การฟังและการดูนั้นเป็นพฤติกรรมที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ปรากฏผลจาการสำรวจการรียนภาษาของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง พบว่า "นักเรียนใช้เวลาในการฟังร้อยละ 48 การพูดร้อยละ 23 การอ่านร้อยละ 16 และการเขียนร้อยละ 13 " แสดงว่าการฟังเป็นทักษะทางภาษาที่ใช้มากที่สุด (สนิท ตั้งทวี การใช้ภาษาเชิงปฏิบัติ, 2538 : 56)


ความสำคัญของการฟังและการดู

การฟังเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญของการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ กล่าวคือ

1. การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ตั้งแต่เล็กจนโต มนุษย์เรียนรู้โดยการฟังจากบิดา-มารดา ญาติพี่น้อง จึงสามารถเลียนเสียงพูดได้ และออกเสียงเป็นภาษาพูดของมนุษย์ประจำท้องถิ่นของตน เช่นสำเนียงสุพรรณบุรี สำเนียงจันทบุรี ระยอง สำเนียงท้องถิ่นเหนือ - อีสาน -ใต้ และแยกย่อยเป็นแต่ละท้องถิ่นอื่น ๆ อีก

กรณีที่การฟังผิดเพี้ยนไปจากเสียงมนุษย์ เนื่องจากได้ยินต้นเสียงอย่างอื่นมาตั้งแต่เด็ก การออกเสียงมักจะเลียนตามเสียงที่ได้ยิน เช่น เรื่อง เมาคลีลูกหมาป่า เมาคลีต้องเห่าหอนภาษาหมาป่าตามที่แม่หมาป่าเลี้ยงดู และในฝูงสัตว์ทั้งหลาย ต้องฟังเสียงจากแม่เป็นหลัก เราจึงได้ยินเสียงสัตว์แตกต่างกัน

2. การฟังเป็นส่วนสำคัญของการคิดและพูด ผู้ที่มีการฟังเป็นปกติ คือประสาทหูไม่พิการ สามารถฟังสารต่าง ๆ ได้ชัดเจน ย่อมแปลความหมายจากสารที่ฟังได้ดี ช่วยให้เกิดความ

เข้าใจ ความคิด และการพูดที่ดี มีประสิทธิภาพด้วย เพราะผู้ที่ฟังมีความรู้ ย่อมเกิดสติปัญญา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไปในทางที่ดีได้

3. การฟังช่วยเพิ่มความรู้และความบันเทิง วันหนึ่ง ๆ คนเราใช้การรับฟังเรื่องราวต่างๆ มากมาย ในบรรดาเรื่องราวเหล่านั้น ทำให้เกิดความรู้โดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งอาจสอดแทรกอยู่ในสารคดีบันเทิง เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีสำรวจโลก หรือการฟังเพลงต่าง ๆ การฟังการสนทนาอภิปราย เป็นต้นการดูก็มีส่วนสำคัญในลักษณะเดียวกัน และทำให้องค์ประกอบของการฟัง มีความกระจ่างชัดเจน และมีรสชาติยิ่งขึ้นหลายเท่า