เรื่องที่ 2 ความหมายและหน้าที่ของคํา กลุ่มคํา และประโยค

ความหมายและหน้าที่ของคำ กลุ่มคำ และประโยค

คำ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย จะมีกี่พยางค์ก็ได้ เช่น ไก่ ขนม นาฬิกา เป็นต้น

พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ เสียงที่เปล่งออกมา 1 ครั้งก็นับว่า 1 

พยางค์ เช่น นาฬิกา มี 3 พยางค์ แต่มี 1 คำ แม่น้ำ มี 2 พยางค์ แต่มี 1 คำ มีความหมายว่า ลำน้ำใหญ่ ซึ่งเป็นที่รวมของลำธารทั้งปวง

ชนิดของคำ คำที่ใช้ในภาษาไทยมี 7 ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน 

และคำอุทาน ซึ่งคำแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้

1. คำนาม คือคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ 

สถานที่และคำที่บอก กิริยาอาการหรือลักษณะต่างๆ 

ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค

2. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามหรือ

ข้อความที่กล่าวมาแล้วในกรณีที่ไม่ต้องการกล่าวคำนั้นซ้ำอีก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนาม

3. คำกริยา คือ คำที่แสดงการกระทำอย่างใดอย่าง

หนึ่งของคำนาม คำสรรพนาม หรือแสดงการกระทำของ

ประธานในประโยค ใช้วางต่อจากคำที่เป็นประธานของประโยค

4. คําวิเศษณ์ คือ คําที่ใช้ประกอบคํานาม 

คําสรรพนาม และคํากริยา เพื่อบอกลักษณะ หรือราย

ละเอียดของคํานั้นๆ คําวิเศษณ์ส่วนมากจะวางอยู่หลังคําที่ต้องการบอกลักษณะหรือรายละเอียด

      5. คําบุพบท คือ คําที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างประโยคหรือคําหน้า กับประโยคหรือ คําหลัง

 6. คําสันธาน คือ คําที่ใช้เชื่อมขอความหรือประโยค

ให้เป็นเรื่องเดียวกัน

7. คําอุทาน คือ คําที่เปลงออกมา แสดงถึงอารมณ์

หรือความรู้สึกของผู้พูด มักอยูหน้า ประโยคและใช้เครื่องหมายอัศเจรีย (!) กํากับหลังคําอุทาน ตัวอย่าง คําอุทาน ได้แก่ โธ่! อุ้ย! เอ้า! อ้า! 

กลุ่มคําวลี คือ คําที่เรียงกันตั้งแต่ 2 คําขึ้นไป สื่อความได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่เป็น ประโยค กลุ่มคําสามารถทํา

หน้าที่เป็นประธาน กริยา หรือกรรมของประโยคได้ 

ประโยค คือ ถ้อยคําที่เรียบเรียงขึ้นได้ใจความสมบูรณ์ ให้รู้ว่า ใคร ทําอะไร อย่างไร ในประโยคอย่างน้อยต้อง

ประกอบด้วยประธานและกริยา

โครงสร้างของประโยค

ประโยคจะสมบูรณ์ได้ จะต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นภาคประธาน และส่วนที่เป็นภาคแสดง ส่วนที่

เป็นภาคประธาน แบ่งออกเป็น ประธาน และส่วนขยาย ส่วนที่เป็นการแสดงแบ่งออกเป็น กริยา ส่วนขยาย กรรม ส่วนขยาย

ตัวอย่าง

การใช้ประโยคในการสื่อสาร

ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้สื่อสาร (ผู้พูด) กับผู้รับสาร (ผู้ฟัง, ผู้อ่านและผู้ดู เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน

นั้นจำเป็นต้องเลือกใช้ประโยคให้เหมาะสมกับการสื่อสาร ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

1. ประโยคบอกเล่า เป็นประโยคที่บอกเรื่องราวต่างๆให้ผู้อื่นทราบว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำอย่างไร เช่น 

คุณพ่อชอบเล่นฟุตบอล

2. ประโยคปฏิเสธ เป็นประโยคที่มีใจความไม่ตอบรับ มักมีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ไม่ได้ มิได้ เช่น ฉันไม่ชอบเดินกลาง

แดด

3. ประโยคคำถาม เป็นประโยคที่มีใจความเป็นคำถามซึ่งต้องการคำตอบ มักจะมีคำว่าใคร อะไร เมื่อไร เหตุใด 

เท่าไร วางอยู่ต้นประโยคหรือท้ายประโยค เช่น ใครขโมยปากกาไป ปลาช่อนตัวนี้มีน้ำหนักเท่าไร

4. ประโยคแสดงความต้องการ เป็นประโยคที่มีใจความที่แสดงความอยากได้ อยากมีหรืออยากเป็น มักจะมีคำ

ว่า อยาก ต้องการ ปรารถณา เช่น นักเรียนไม่อยากไปโรงเรียน หมอต้องการรักษาคนไข้ให้หายเร็วๆ

5. ประโยคขอร้อง เป็นประโยคที่มีใจความ ซักชวน ขอร้อง มักจะมีคำว่า โปรด วาน กรุณาช่วย เช่น โปรดให้

ความช่วยเหลืออีกครั้ง ช่วยยกกล่องนี้ไปด้วย

6. ประโยคคำสั่ง เป็นประโยคที่มีใจความที่บอกให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือห้ามทำ ไมให้ทำ เช่น นายสมศักดิ์ต้องไป

จังหวัดระยอง บุคคลภายนอกห้ามเข้า เด็กทุกคนอย่าเล่นเสียงดัง