เรื่องที่ 2 การฟัง และการดูเพื่อจับใจความสำคัญ


คำประพันธ์สั้น ๆ บทหนึ่ง ที่เคยฟังและจำได้ น่าจะเกี่ยวกับหลักการฟังและดูเป็นอย่างดี

สองคนยลตามช่อง                  คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

อีกคนตาแหลมคม                        เห็นดวงคาวอยู่พราวพราย

คำประพันธ์ข้างต้นนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านศักยภาพ คือความรู้ความสามารถของแต่ละคน เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ และเป็นไปในแนวเดียวกัน จึงสรุปเป็นหลักการได้ดังนี้

1. ตั้งใจฟัง มีสมาธิดี ติดตามเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ

2. ฟังให้เข้าใจและลำคับเหตุการณ์ให้ดีว่า เรื่องที่ฟังเป็นเรื่องอะไร เกิดขึ้นกับใครหรือใครเป็นคนทำ ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร

3. แยกให้ออกว่า ตอนใดเป็นใจความสำคัญ (เนื้อความ) ตอนใดเป็นส่วนขยาย(พลความ)

4. บันทึกข้อความสำคัญจากเรื่องที่ฟังไว้หลักการทั้ง ๔ ประการข้างต้นนี้ เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นในการจับใจความสำคัญซึ่งเพียงพอที่จะแยกให้ออกว่า ใจความสำคัญหรือข้อเท็จจริง อยู่ส่วนใด และข้อความที่เป็นส่วนขยายหรือข้อคิดเห็นอยู่ส่วน ใด ทั้งจากการฟังร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนี้

1. การจับใจความสำคัญของร้อยแก้ว

ร้อยแก้ว คือ ความเรียงที่สละสลวยไพเราะ เหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมาย แต่ไม่

กำหนดระเบียบบัญญัติแห่งฉันทลักษณ คือ ไม่จำกัดครุ ลหุ ไม่กำหนดสัมผัส

ตัวอย่างที่ 1 เรื่องเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

2.  การจับใจความสำคัญร้อยกรอง

        ร้อยกรอง คือ  ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบ ตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ คือ ตำราว่า ด้วยการประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

การจับใจความสำคัญของบทร้อยกรอง จะต้องอ่าน ฟัง และดูข้อความให้จบแต่ละบท คือ ถ้าเป็นโคลงต้องอ่านให้จบ โคลง ๑ บท มี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรก (ขึ้นอยู่กับการเขียน) ดังนี้


ตัวอย่างที่ 1 โคลงสี่สุภาพ 1 บท

3. จับใจความสำคัญจากบทความ

บทความ คือ ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงาน หรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นฯต้น


ตัวอย่างที่ 5 ร้อยแก้ว