เรื่องที่ 7 ลักษณะของคําไทย คําภาษาทองถิ่น และ คําภาษาตางประเทศในภาษาไทย

การนำคำภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย จึงทำให้ภาษาไทยมีคำที่ใช้สื่อความหมายหลากหลาย

และมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคำไทย คำภาษาถิ่น หรือคำภาษาต่างประเทศต่างก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน

1. ลักษณะของคำไทย มีหลักการสังเกต ดังนี้

1.1 มีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียวโดดๆ มีความหมายชัดเจน เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ เช่น แขน ขา 

หัว พ่อ แม่ เดิน วิ่ง นอน ฯลฯ

แต่มีคำไทยหลายคำหลายพยางค์ซึ่งคำเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการกร่อนเสียงของคำหน้าที่นำกร่อนเป็นเสียงสั้น

(คำหน้ากร่อนเป็นเสียงสั้น กลายเป็นคำที่ประวิสรรชนีย์

เช่น มะม่วง มาจาก หมากม่วง

 มะนาว มาจาก หมากนาว

 มะกรูด     มาจาก     หมากกรูด

 ตะขบ     มาจาก     ต้นขบ

 ตะขาบ     มาจาก     ตัวขาบ

การแทรกเสียง หมายความว่า เดิมเป็นคำพยางค์เดียว 2 คำวางเรียงกัน ต่อมาแทรกเสียงระหว่างคำเดิม 2 คำ 

และเสียงที่แทรกมักจะเป็นเสียงสระอะ เช่น

ผักกะเฉด     มาจาก     ผักเฉด

   ลูกกระดุม       มาจาก ลูกดุม

   ลูกกะท้อน       มาจาก ลูกท้อน


การเติมเสียงหน้าพยางค์หน้า เพื่อให้มีความหมายใกล้เคียงคำเดิม และมีความหมายซัดเจนขึ้น 

เช่น

กระโดด     มาจาก     โดด

ประท้วง     มาจาก     ท้วง

ประทับ     มาจาก     ทับ

กระทำ มาจาก   ทํา

ประเดี๋ยว     มาจาก     เดี๋ยว

1.2 มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น จง (แม่กง) ตัก (แม่กก) กับ (แม่กบ) เป็นต้น

1.3 ไม่นิยมมีคำควบกล้ำ เช่น ทราบ ตราบ สรวง ประพฤติ เป็นต้น

1.4 ไม่มีตัวการันต่ำ คำทุกคำสามารถอ่านออกเสียงได้หมด เช่น แม่ น่ารัก ไกล

1.5 คำไทยคำเดียว อาจมีความหมายได้หลายอย่าง เช่น ขันตักน้ำ นกเขาขันหัวเราะขบข้น

1.6 มีรูปวรรณยุกต์กำกับเสียง ทั้งที่ปรากฏรูปหรือไม่ปรากฏรูป เช่น นอน (เสียงสามัญ ไม่ปรากฏรูป) ค้า 

(เสียงตรี ปรากฎรูปไม้โท)

1.7 คำที่ออกเสียง ไอ จะใช้ไม้ม้วน ซึ่งมีอยู่ 20 คำ นอกนั้นใช้ไม้มลาย

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู

จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาบู่

สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั๋งเตียง

บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี

2. ลักษณะของคำภาษาถิ่น

ภาษาถิ่น หมายถึง คำที่ใช้ในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทยที่มีลักษณะแตกต่างจากภาษากลาง เช่น ภาษาถิ่นใต้ 

ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นเหนือ ซึ่งภาษาถิ่นเหล่านี้เป็นภาษาที่ใช้กัน

เฉพาะคนในถิ่นนั้น

ตัวอย่าง เปรียบเทียบภาษากลาง และภาษาถิ่น

3. ลักษณะของคำภาษาถิ่นต่างประเทศที่ปรากฎในภาษาไทย

คําภาษาต่างประเทศที่ใช้อยู่ในภาษาไทยมีอยู่มากมาย เช่น ภาษาจีน ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ แต่ที่ใช้กันอยู่ส่วน

ใหญ่มาจากภาษาจีน และภาษาอังกฤษ ซึ่งมีสาเหตุมาจากประเทศ ไทยมีการติดต่อและมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาตินั้นๆ จึงยืมคํามาใช้ ซึ่งทําให้ภาษาไทยมีคําใช้ในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น