เรื่องที่ 1 เสียง รูปอักษรไทย และไตรยางค์

เสียง รูปอักษรไทย และไตรยางค์

ผู้เรียนได้ศึกษารูปอักษร คือ พยัญชนะ 44 ตัว สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเลขไทย 0-9 แล้วในเรื่องที่ 2 การ

เขียนอักษรไทย ซึ่งอยู่ในบทที่ 4 การเขียน

ในเรื่องนี้ผู้เรียนจะได้ศึกษาเสียงของภาษาไทย คือ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ตามรายละเอียด

ดังนี้

1. เสียงพยัญชนะ เสียงพยัญซนะมี 21 เสียง

พยัญชนะต้นของคำบางคำมีการนำพยัญชนะมารวมกันแล้วออกเสียงพร้อมกันเรียกว่า "เสียงควบกล้ำ" มีที่ใช้กัน

พอยกเป็นตัวอย่างได้ ดังนี้

1. กว เช่น แกว่ง/ ไกว

2. กร เช่น กรอบ / กรุง

3. กล เช่น กลอง / กลับ

4. คว เช่น ควาย / คว้า

5. คร เช่น ใคร่ / ครวญ

6. คล เช่น คล้อย/ เคลิ้ม

7. พร เช่น พระ / โพรง 

8. พล เช่น พลอย / เพลง

9. ปร เช่น ปราบ/โปรด

10. ปล เช่น ปลุก/ ปลอบ

11. ตร เช่น ตรวจ / ตรอก

12. ทร เช่น จันทรา / ทรานซิสเตอร์

13. ฟร เช่น เฟรน / ฟรี

14. ฟล เช่น ฟลุก / แฟลต

15. บล เช่น บล็อก / เบลอ 

16. ดร เช่น ดราฟท์


2. เสียงสระ มี 24 เสียง โดยแบงเปนเสียงสั้นและเสียงยาว

3. เสียงวรรณยุกต์ มี 5 เสียง คือ

เสียงสามัญ เช่น กา

เสียงเอก เช่น ก่า

เสียงโท เช่น ก้า

เสียงตรี เช่น ก๊า

เสียงจัตวา เช่น ก๋

คำไทยทุกคำมีเสียงวรรณยุกต์ แต่อาจไม่มีรูปวรณยุกต์ เช่น ขอ หนุ หู ตัง

4. ไตรยางศ์ คืออักษร 3 หมู่ ซึ่งแบ่งตามเสียง ดังนี้

1. อักษรสูงมี 11 ตัว คือ  ข  ฯ  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห

2. อักษรกลางมี 9 ตัวคือ ก  จ  ฏ  ภู  ด  ต  บ  ป  อ

3. อักษรต่ำมี 24 ตัวคือ ค  ต  ฆ  ง  ช  ช  ฌ  ญ  ฑ  ฒ  ณ  ท  ธ  น  พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ  ฮ


ตัวอย่างการผันวรรณยุกต์