เรื่องที่ 2 การอ่านร้อยแก้ว

การอ่านออกเสียง ร้อยแก้ว

บทร้อยแก้ว คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะ เป็นความเรียงที่ไม่บังคับคำสัมผัส แต่มี ความสละสลวย ไพเราะ

ด้วยเสียงและความหมาย คำประพันธ์ที่เป็น บทร้อยแก้ว เช่น เรียงความ สารคดี บทความ 

หลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

1. พิจารณาประเภทของบทร้อยแก้ว

2. ตรวจสอบคำศัพท์ที่อ่านไม่ได้

3. ฝึกอ่านออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี

4. ใช้น้ำเสียงให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง สบตาผู้ฟังเป็นระยะ ๆ

5. อ่านเว้นวรรคตอนให้เหมาะสม

6. ไม่อ่านคำตก ตัดคำหรือเติมคำ

7. อ่านในอัตราเร็วที่เหมาะสม

8. อ่านสำรวจเนื้อเรื่องคร่าว ๆ


โวหารที่ใช้ในงานเขียนร้อยแก้วซึ่งนักเรียนควรรู้จักมีดังนี้

1. บรรยายโวหาร คือ สำนวนที่อธิบายหรือเล่าเรื่องราวโดยละเอียดเพื่อให้ความรู้แจ่มแจ้งชัดเจนในเรื่องนั้น ๆ 

2. พรรณนาโวหาร คือ สำนวนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็น ภาพ มักรำพันถึงความ

งามและความรู้สึก

3. สาธกโวหาร คือ สำนวนที่มีการยกตัวอย่างมาอ้างให้เห็นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย ขึ้น ตัวอย่างที่ยกมา

อาจเป็นนิทาน เรื่องราวหรือเหตุการณ์ก็ได้

4. เทศนาโวหาร คือ สำนวนที่สอดแทรกคำแนะนำสั่งสอน อย่างมีเหตุผลและมีตัวอย่างประกอบ