เรื่องที่ 3 การเขียนสะกดคำและประสมคำ

1. การเขียนสะกดคำ

การสะกดคำ หมายถึง การออกเสี่ยงจำแนกคำเพื่อให้ทราบส่วนประกอบของคำ

1.1 คำที่มีตัวสะกด เป็นคำที่ประสมด้วยพยัญชนะ สระ และพยัญชนะท้ายคำ แบ่งเป็น 8 มาตรา

1.1.1 มาตราแม่กง คือ พยางค์ที่มีต้ว สะกด เช่น จาง บาง

1.1.2 มาตราแม่กม คือ พยางค์ที่มีตัว สะกด เช่น ถม ดม

1.1.3 มาตราแม่เกย คือ พยางค์ที่มีตัว สะกด เช่น เลย ตาย

1.1.4 มาตราแม่เกอว คือ พยางค์ที่มีตัว สะกด เช่น สาว เลว แจว

1.1.5 มาตราแม่กน คือ พยางค์ที่มีตัว สะกด เช่น กิน นอน หรือที่ตัวอื่นที่ทำหน้าที่และออกเสียงเหมือน  

สะกด คือ ญ ณ ร ล ฬ เช่น จรูญ คูณ ขจร มูล และทมิฬ

1.1.6 มาตราแม่กก คือ พยางค์ที่มีตัว สะกด เช่น มาก จากหรือตัวอื่นที่ทำหน้ที่และออกเสียงเหมือนมี  

สะกดคือ ข ค ฆ เช่น สุข พรรค และเมฆ

1.1.7 มาตราแม่กด คือ พยางค์ที่มีตัว สะกด เช่น กด มด หรือตัวอื่นที่ทำหน้าที่และออกเสียงเหมือนมีตัว  

สะกด เช่น จ ช ซ ฏ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ และ ส เช่น ดุจราช ก๊าซ กฎ นาฏศิลป์ รัฐ ครุฑ วุฒิ มารุต รถ บาท พุทธ เพศ เศษ และรส

1.2 คำที่ไม่มีตัวสะกด เป็นคำที่ประสมด้วยพยัญชนะต้น สระ หรือคำที่มีตัวสะกดในแม่ ก กา เช่น จะ นำ ไป เป็นต้น

2. การประสมคำ เป็นการสร้างคำโดยใช้พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์


การอ่านออกเสียงสะกด เช่น

งาม อ่านว่า งอ - อา - มอ - งาม

บาน อ่านว่า บอ - อา - นอ - บาน

ร้าน อ่านว่า รอ - อา - นอ -ราน-โท - ร้าน

ลิ้น อ่านว่า ลอ -อิ -น-โท-ลิ้น