เรื่องที่ 6 การใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือการแสวงหาความรู้

การใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือการแสวงหาความรู้

การสื่อความหมายของมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และการสื่อสารจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทักษะทางภาษาของ

แต่ละคน ซึ่งเกิดขึ้นได้จะต้องมีการฝึกเป็นประจำ เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะต่างๆ เหล่านี้ได้มีการซึมซับอยู่ในคนทุกคนอยู่แล้วเพียงแต่ว่าผู้ใดจะมีโอกาสได้ใช้ได้ฝึกฝนบ่อยๆ ก็จะเกิดทักษะ

ที่ชำนาญขึ้น

ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจของคนในอดีตจะเป็นการสื่อสารโดยตัวต่อตัวเพราะอดีต

คนในสังคมมีไม่มาก แต่ปัจจุบันคนในสังคมเริ่มมากขึ้น กว้างขึ้นการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสื่อสารได้รวดเร็วกว้างไกลและทั่วถึง ได้แก่ โทรศัพท์ โทรเลข โทรทัศน์ วิทยุ โทรสาร คอมพิวเตอร์ ซึ่งเครื่องมือแต่ละประเภทมีจุดเด่นหรือข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป

การใช้ภาษาในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาการเขียน จะต้องให้เหมาะสมกับบุคคลและ

สถานการณ์ เช่น กิน เป็นภาษาที่ใช้กันในกลุ่มเพื่อนหรือบุคคลคุ้นเคย แต่ถ้าใช้กับบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่หรือคนที่ไม่คุ้นเคย จะต้องใช้ภาษาที่สุภาพว่า ทาน หรือรับประทาน

แม่ คุณแม่ มารดา หมอ คุณหมอ → แพทย์ เป็นต้น

การใช้ภาษาไทยนอกจากจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจของภาษาแล้ว สิ่งสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่ง คือ ความมี

คุณธรรมในการใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาเขียน


วิธีการใช้ภาษาได้เหมาะสม ดีงาม มีดังนี้

1. ใช้ภาษาตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่พูดโกหก หรือหลอกลวงให้ร้ายผู้อื่น

2. ใช้ภาษาไพเราะ ไม่ใช้คำหยาบ

3. ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะและะดับของบุคคลที่สื่อสารด้วย

4. ใช้ภาษาเพื่อให้เกิดความสามัคคี ความรัก ไม่ทำให้เกิดความแตกแยก

5. ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา