เรื่องที่ 1 การพูด ความสําคัญของการพูด

หลักการ ความสำคัญ และ จุดมุ่งหมายของการพูด

การพูด  เป็นการสื่อข้อความจากผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสารโดยตรง เป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุด และดีที่สุดขอ

มนุษย์ คนเราพูดเพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความรู้การพูดจึงเป็นการธำรงสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชน    ในสมัยโบราณผู้คนไม่รู้หนังสือมีมากประสบการณ์ต่างจากปัจจุบันมีผู้ไม่รู้หนังสือลดลง จึงใช้วิธีถ่ายทอดวัฒนธรรมด้วยการพูด จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นหนึ่งตลอดมา วิธีดังกล่าวเรียกว่า มุขปาฐะ


หลักการพูด

ผู้พูดเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนทัศนคติของตไปสู่ผู้ฟังโดยใช้ภาษา เสีย

อากัปกิริยาและบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรมในการพูดด้วย ผู้พูดจะต้องรู้จักสะสมความรู้ความคิดและประสบการณ์ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แล้วรวบรวม เรียบเรียงความระเบียบ เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจได้โดยง่าย แจ่มแจ้ง ผู้พูดจะต้องมีทักษะในการพูดความคิดเหล่านี้ให้เป็น, การคิด 

การฟัง และมีความสนใจที่จะพัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจในตนเอง หลักการพูด มีดังนี้

1.  ความรู้ในเรื่องที่จะพูด หากคิดว่าตนมีความรู้มีเพียงพอ ต้องค้นคว้าเพิ่มเติม

2. พูดด้วยกาษาและถ้อยคำที่สุภาพให้เกียรติผู้ฟังตลอดเวลา

3. ต่างกายเหมาะสมและสุภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ฟัง

4. พูดให้ตรงประเด็นและใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ


ความสำคัญของการพูด

การพูดมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก เพราะมนุษย์ ต้องติดต่ออสารกัน การพูดมีความสำคัญ ดังนี้

1.  เพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน

2.  เพื่อความรู้ ให้ผู้ฟังมีความรู้ได้หลากหลายและไปใช้ประโยชน์ได้

3. ได้รับความเพลิดเพลินและเนื้อหาสาระที่ฟัง

4. นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของตน

 

จุดมุ่งหมายของการพูด

      1. เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความต้องการของผู้พูด

 2. เพื่อแสดงความรู้ความสามารถของตนเองให้ผู้อื่นทราบและนำไปใช้ประโยชน์ได้

    3. เพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของตนเองและผู้อื่น

ประเภทของการพูด มี 2 ประเภท คือ

1. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ

2. การพูดอย่างเป็นทางการ


1. การพูดอย่างไม่เป็นทางการ (Informa) คือ การพูดในชีวิตประจำวัน เป็นการสนทนากันตามปกติในหมู่ญาติพี่น้อง มิตรสหาย คนสนิทและไม่เป็นพิธีการ ทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ต้องเตรียมตัวมาก่อน แบ่งออกเป็น ๒ แบบ ได้แก่

1.1 การพูดทั่วไป เช่น การพูดกับญาติพี่น้องเพื่อนสนิทมิตรสหายที่มีโอกาสพบปะพูดจากันเสมอในชีจิตประจำวัน

.       1.2 การสนทนา คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสนใจร่วมกัน การสนทนาอาจทำได้ตั้งแต่ไม่เป็นทางการจนถึงเป็นทางการ

2. การพูดอย่างเป็นทางการ(Forma) ได้แก่ การพูดหรือสนทนากันอย่างมึพิธีรีตอง เป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกัน เป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการ ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกในการพูด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล รูปแบบก่อนพูดอย่างเป็นทางการแบ่งออกเป็น ๔ รูปแบบ คือ

2.1 การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การพูดโดยกะทันหัน"การพูดแบบนี้ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ ประสบการณ์ ความรู้และความชำนาญที่มีอยู่เดิม

2.2 การพูดโดยมีการเตรียมตัวถ่วงหน้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"การพูดแบบมีโน้ตย่อ"ผู้พูดต้องรู้ล่วงหน้าว่าจะพูดเรื่องอะไร ที่ไหน ใครฟัง จึงสามารถ เตรียมเนื้อเรื่อง เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูดและทำโน๊ตย่อหรือ โครงเรื่องที่จะพูดมาดูได้ในขณะที่พูด

2.3 การพูดจากความจำ เรียกว่า "การพูดแบบท่องจำ" การพูดแบบนี้เหมาะสมกับผู้พูดวามจำดี และเป็นเรื่องที่ไม่ยาวนัก ผู้พูดต้องมีเวลาในการนำเรื่องไปอ่าน ทั้งหมดโดยจดจำประเด็นสำคัญให้ได้

  2.4 การพูดโคยการอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดตามต้นฉบับที่ตระเตรียมไว้ให้ครบถ้วน วิธีนี้จึงดูเหมือนเป็นการอ่านจากต้นฉบับ แต่ผู้พูดจะต้องใช้สายตามองดูผู้ฟังมากกว่าต้นฉบับ จึงมักใช้ในการพูดที่เป็นพิธีการ เช่น กล่าวสุนทรพจน์ คำปราศรัย แถลงการณ์ เป็นต้นทุกครั้งที่มีการพูด ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใด โอกาสใค ล้วนมีจุดประสงค์ทั้งสิ้น ทั้งการพูดอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้พูดสามารถบอกได้ว่าต้องการพูดเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร