เรื่องที่ 4 มารยาทในการพูด


ทุกๆ วันเราต้องพูดเพื่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ และบางโอกาสอาจต้องพูดต่อที่ประชุมชน การพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ดังคำกล่าวที่ว่า

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์        มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร      จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

                                                                         (สุนทรภู่)


ใคร ๆ ก็ชอบผู้ที่พูดจาดี มีสาระ และมีมารยาทในการพูดดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ที่จะฝึกฝนให้ตนเองเป็นคนที่

พูดจาดี มีสาระ และมีมารยาท

มารยาทในการพูด

มารยาทในการพูด ควรปฏิบัติดังนี้

1. พูดจานุ่มนวล สุภาพ ไพเราะ และอ่อนหวาน

- ชาย ให้สรรพนามแทนตนเองว่า "ผม" หรือ "กระผม" และลงท้ายว่า "ครับ"

- หญิง ใช้สรรพนามแทนตนเองว่า "ฉัน" หรือ "ดิฉัน" และลงท้ายว่า "คะ" หรือ

2. ใช้คำพูดให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เช่น

2.1 คำทักทาย ได้แก่ คำว่า "สวัสดีครับ" "สวัสดีค่ะ"

2.2 คำแสดงการขอบคุณ เมื่อมีใครทำะไร ให้อะไรและชมเชยเราใช้คำว่า "ขอบคุณครับ" หรือ "ขอบพระคุณ

ครับ"  "ขอบคุณค่ะ" หรือ "ขอบพระคุณค่ะ" คำใดคำหนึ่ง

2.3 คำแสดงการขอโทษ ใช้เมื่อทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ได้แก่ คำว่า"ขอโทษครับ" หรือ 

"ขอประทานโทษครับ" "ขอโทษค่ะ" หรือ "ขอประทานโทษค่ะ"

2.4 ใช้คำแสดงการขอทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คำว่า "ผมขออนุญาต...ครับ" "ดิฉันขออนุญาต....ค่ะ"

3. หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมได้แก่

3.1 คำพูดที่หยาบคาย

3.2 คำพูดยุยง เสียดสี เยาะเย้ย ดูหมิ่นเหยียดหยามหรือประณามผู้อื่น

3.3 คำพูดโอ้อวด ข่มผู้อื่น

3.4 คำพูดที่นินทาผู้อื่น

4. ยิ้มแย้มแจ่มใส สายตามองที่ผู้ฟัง

5. นั่งหรือยืนพูดด้วยกิริยาที่สุภาพเรียบร้อย

6. ขณะพูดไม่ควรควัก ล้วง แคะ แกะ หรือเกา อวัยวะในร่างกาย หรือทำอย่างอื่นไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พูด

7. ควรเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้พูดด้วย ไม่ควรพูดเพียงคนเดียวหรือพูดแทรกผู้อื่น

๘. ขณะที่มีการสนทนา ไม่ควรทำให้การสนทนาต้องหยุดลงกลางคัน

9. เมื่อต้องพูดต่อหน้าชุมชน ควรเตรียมตัวสำหรับการพูดมาให้พร้อม พูดให้ตรงประเด็นและรักษาเวลาในการพูด

10. ใช้คำพูดให้เหมาะสมกับบรรยากาศของงาน เช่น งานศพ ไม่ควรพูดจาตลกขบขันคึกคะนอง หรือสรวลเสเฮฮา 

ขณะที่หลายคนกำลังเศร้าโศก

2.mp4