เรื่องที่ 4 การเขียนสื่อสาร

การเขียนสื่อสาร

1. การเขียนสื่อสาร หมายถึง การเขียนที่ผู้อื่นอ่านแล้วได้ความตามจุดมุ่งหมายของผู้เขียน ในระดับประถมศึกษานี้ 

ของผู้เรียน กศน. ควรจะเขียนสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้

2. การเขียนบันทึกประจำวัน

การเขียนบันทึกประจำวัน เป็นการเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ ที่พบ หรือที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นในวันนั้นๆ หลักการเขียน

บันทึกประจำวัน ได้แก่

1. บันทึกเป็นประจำทุกวัน

2. บันทึกตามความเป็นจริง

3. เลือกบันทึกเฉพาะเรื่องสำคัญ หรือที่ต้องการจดจำ

4. ใช้ภาษา ถ้อยคำง่ายๆ อย่างไม่เป็นทางการ และข้อความกระชับ

5. อาจแทรกความรู้สึก และความคิดเห็นของผู้บันทึก


ตัวอย่างการเขียนบันทึกประจำวัน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554

วันนี้ตื่นนอนตอนเช้า ต้องรีบไปทำงาน ที่ทำงานมีการประชุมเกี่ยวกับแผนการทำงานในเดือนมีนาคม ตั้งแต่ 

เวลา 10.00 -12.00 น. ตอนบ่ายทำงานที่ยังไม่เสร็จให้เสร็จ กลับบ้านและถึงบ้าน เวลา 18.30 น. รถติดมากถึงช้ากว่า

ทุกวัน เหนื่อยกับการเดินทางมาก


3. การเขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับข่าวหรือเหตุการณ์

การเขียนเล่าเรื่อง เป็นการเขียนจากประสบการณ์ตรงให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยมีหลักการเขียน

1. เขียนตามความจริง

2. ใช้ภาษาที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจและละเอียดพอที่จะอ่านเข้าใจ

3. เขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย

4. อาจจะมีเนื้อหาสาระ แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่นๆ ได้


ตัวอย่างการเขียนเล่าเรื่อง

เหตุการณ์ที่ประทับใจ

เมื่อหยุดงานได้ไปเที่ยวทะเลที่จังหวัดระยอง เรียกว่า บ้านเพ ขณะที่นั่งเล่นริมชายหาด มีเด็กถูกมอเตอร์ไซต์ชน

จึงเดินไปดูเด็กได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย คงจะชนไม่แรง รถมอเตอร์ไซต์ขับเลยไปแล้ว ไม่ยอมหยุดดูเลย คงคิดว่ไม่เป็นอะไรมาก เราจึงพาเด็กไปส่งที่สถานีอนามัยที่อยู่ดังนี้ใกล้ๆ เจ้าหน้าที่ได้ทำความสะอาดบาดแผลและใส่ยาให้ เราได้พาเด็กไปส่งที่บ้าน และเราก็กลับมานั่งชมทะเลที่บ้านเพต่อจนถึงบ่าย 4 โมงเย็น จึงกลับบ้าน

วันนี้ได้ทำความดี เป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์