เรื่องที่ 2 ความหมายของวรรณคดี

ความหมายของวรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง เรื่องแต่งที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี เป็นตัวอย่างด้านภาษา แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่

ในยุคนั้นๆ แต่งโดยกวีที่มีชื่อเสียง เช่น วรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี และสังข์ทอง เป็นต้น

วรรณคดีที่แต่งดีมีลักษณะดังนี้

1. เนื้อเรื่องสนุกสนาน ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ที่ไม่ล้าสมัย

2. ใช้ภาษาได้เพราะ และมีความหมายดี นำไปเป็นตัวอย่างของการแต่งคำประพันธ์ได้

3. ใช้ฉากและตัวละครบรรยายลักษณะนิสัย และให้ข้อคิดที่ผู้อ่านตีความ โดยฉากหรือ

สถานที่เหมาะสมกับเรื่อง

4. ได้รับการยกอง และนำไปเป็นเรื่องให้ศึกษาของนักเขียนและนักคิดได้


วรรณคดีที่น่าศึกษา

สำหรับระดับประถมศึกษานี้มีวรรณคดีที่แนะนำให้ศึกษา 3 เรื่อง คือ สังข์ทองซึ่งเป็นกลอนบทละคร พระอภัยมณี

เป็นกลอนนิทาน และขุนช้างขุนแผนเป็นกลอนเสภา โดยขอให้นักศึกษาค้นคว้าวรรณคดี 3 เรื่องและสรุปเป็นสาระสำคัญ ในหัวข้อต่อไปนี้ (อาจให้ผู้เรียนนำหัวช้อเหล่านี้แยกเขียนลงในสมุด)

1. ชื่อเรื่อง

2. เนื้อเรื่องสรุปโดยย่อ

3. ข้อคิดและความประทับใจ

สังข์ทองซึ่งเป็นกลอนบทละคร

พระอภัยมณีเป็นกลอนนิทาน

ขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา