ปัญหา สาเหตุ ประเภท และอันตรายของสารเสพติด

สถานการณปัจจุบันพบว่าภาวการณ์แพร่ระบาดของการใช้สารเสพติดได้แพร่ระบาดเข้าไปถึงทุกเพศทุกวัยทุกกลุ่มอายุ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพพลานามัยของบุคคลกลุ่มนั้นๆโดยเฉพาะการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดของกลุ่มเยาวชนที่กําลังศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษา หรือนอกสถานศึกษาหรือกลุ่มเยาวชนนอกระบบการศึกษา


ประเภทของสารเสพติด 

    ยาเสพติดใหโทษแบ่งได้ 5 ประเภท [ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) 

เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. 2522] ดังนี้

1. ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เช่น เฮโรอีน เมทแอมเฟตามีน เอ็มดีเอ็มเอ (ยาอี) 

ยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ไม่ใช้ประโยชนทางการแพทย์

2. ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เช่น มอร์ฟีน โคเคอีน เพทิดีน เมทาโดน และฝน ยา เสพติดให้โทษประเภทนี้มีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ก็มีโทษมาก ดังนั้นจึงต้องใช้ภายใต้ความ ควบคุมของแพทย์

3. ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เป็นยาสําเร็จรูปที่ผลิตขึ้นตามทะเบียนตํารับ ที่ได้รับ อนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มีจำหน่ายตามร้านขายยา ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน หรือ ยาแก้ทองเสียที่มีตัวยาได้เฟนอกซิน
เป็นต้น ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 มีประโยชน์ทางการแพทย์ และมีโทษน้อยกว่ายาเสพติดให้โทษอื่น ๆ

4. ยาเสพติดให้โทษประเภท 4 เป็นน้ำยาเคมีที่นํามาใชในการผลิตยาเสพติดใหโทษ ประเภท 1 ได้แก่ น้ำยาเคมี อาซิติกแอนไฮไดรด์ อาซิติลคลอไรด์ เอทิลิดีน ไดอาเซเตท สารเออรโกเมทรีน 128 และคลอซูโดอีเฟดรีน

5. ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ได้แก พืชกัญชา พืชกระทอม พืชฝน และพืชเห็ด ขี้ควาย


การติดยากับการเสพยาองค์การอนามัยโลกได้ให้การนิยามของภาวะที่เกี่ยวของกับยาเสพติดไว้ ดังนี้

1. การใช้ยาในทางที่ผิด (Harmful use, abuse) หมายถึง การใช้ยาเสพติดในลักษณะ อันตรายต่อสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศราจากการดื่มสุราอย่างหนัก

2. การติดสารเสพติด (Depenedence syndrome) หมายถึง ภาวะผิดปกติทางด้านปัญญา ความคิดอ่าน และระบบสรีระร่างกายซึ่งเกิดภายหลังจากการใชสารเสพติดซ้ำๆ และมีอาการต่าง ๆ 

ดังต่อไปนี้รวมด้วย

1) มีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะใชสารตัวนั้น ๆ

2) มีความยากลําบากในการควบคุมการใชทั้งปริมาณและความถี่

3) ยังคงใชสารนั้นต่อไปทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

4) หมกมุ่นอยู่กับการใช้สารเสพติดมากกว่าการทำกิจกรรมอื่นที่สำคัญกว่า

5) มีอาการดื้อยา คือ ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ เพื่อให้ได้ผลเท่าเดิม

6) เมื่อหยุดการใช้ยาจะเกิดอาการขาดยาหรืออยากยาทางร่างกาย (Physical with)


สาเหตุของการติดสารเสพติด

1. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

1) อยากทดลอง

2) ความคึกคะนอง
3) การชักชวนของคนอื่น

       2. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใชสิ่งเสพติด ผสมลงในสินคาที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด


อันตรายและโทษของสารเสพติด

1. ฝิ่น (Opium) ฝนจะมีฤทธิ์กดประสาท ทำใหนอนหลับเคลิบเคลิ้ม ผู้ที่ติดฝนจะมี ความคิดอ่านช้าลง

   อาการขาดยา จะเริ่มหลังจากได้รับยาครั้งสุดท้าย 4-10 ชั่วโมง แล้วไม่สามารถ หายาเสพได้อีก จะมีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิด โกรธง่าย ตื่นเต้นตกใจง่าย

2. มอร์ฟีน (Morphine) เป็นแอลคาลอยดจากฝนดิบ มีฤทธิ์ทั้งกดและกระตุ้น ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ศูนย์กลางประสาทรับความรูสึกชา อาการเจ็บปวดต่างๆ หมดไป

             3. ยากลอมประสาท (Tranquilizers) เป็นยาที่มีฤทธิ์กดสมอง ทำใหจิตใจสงบหาย กังวล แต่ฤทธิ์ไม่รุนแรงถึงขั้นทำใหหมดสติหรือกดการหายใจ