ครอบครัวบทบาทและอิทธิพลที่สําคัญมากในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลในครอบครัว เพราะ ครอบครัวเป็นสังคมปฐมภูมิที่มีความใก้ลชิดผูกพัน มีความนับถือเชื่อ   ฟังกันและกันเป็นพื้นฐาน ครอบครัว 32 ประกอบด้วย ปู ยา ตา ยาย พ่อ แม่ ลูก หลาน และอื่นๆครอบครัวจึงเป็นศูนย์กลางการเรียนรูขั้นพื้นฐานและ พัฒนาการด้านต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลทุกวัย ดังนั้นการวางแผนดูแลสุขภาพของบุ คคลในครอบครัวจึงจําเป็นและสําคัญอย่างมากเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดีโดยต้องเริ่มจากตัวเราและทุกคนใน ครอบครัวเป็นสําคัญ

การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวจะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและดําเนินการให้ เป็นไปตาม แผน และทุกคนตองมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนที่วางไวในเรื่องต่างๆดังนี้

 1. การรักษาความสะอาด

 2. การป้องกันโรค

3.การรับภูมิคุมกันโรค

 4. อาหารและโภชนาการ

5. การออกกําลังกายและเล่นกีฬา

6. การพักผ่อนและกิจกรรมนันทนาการ

7. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

8. การดูแลสุขภาพจิต

9. การป้องกันอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัย

10. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 การรักษาความสะอาด การรักษาความสะอาดของร่างกาย ได้แก่ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ส่วนตัว และสวนรวม ตลอดจน การรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย ในวัยเด็ก พ่อ แม่ ปู ยา ตา ยาย หรือ ผู้ปกครองเป็นแบบอย่างในการรักษา ความสะอาด เมื่อเติบโตขึ้นเราควรรู้จักการดูแลตนเองเรื่องการทําความสะอาดในเรื่องส่วนตัว และช่วยเหลือ สมาชิกคนอื่น ภายในครอบครัวจนเป็นนิสัย เช่น ช่วยซักผ้าให้พ่อแม่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัว เป็นตน

การป้องกันโรค

 การปฏิบัติให้ถูกต้องจะช่วยป้องกันโรคต่างๆที่เกิดขึ้นตามดูกาลหรือเมื่อเกิดการระบาด เชน หน้าฝนจะ มีการระบาดของโรคหวัด ควรสวมใสเสื้อผ้าที่ทําให้ร่างกายอบอุ่น ฝนตกต้องกางร่ม หรือสวมใสเสื้อกันฝน หนา ร้อนก็เกิดการระบาดของโรคทองร่วงหรืออหิวาตกโรค ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชนและปรุงสุกใหม่ๆ หากมีการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน ก็ควรให้บุคคลในครอบครัวไปรับการฉีดวัคซีนเป็นต้น


การรับภูมิคุ้มกันโรค


การรับภูมิคุ้มกันในวัยเด็กเป็นหน้าที่ของพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องพาเด็กไปรับภูมิคุ้มกันจากแพทย์ เช่น โรคไอกรน คอตีบ โปลิโอ เป็นต้น เมื่อโตขึ้นหากเกิดโรคระบาดหรือต้องฉีดวัคซีน เราต้องเห็นความสําคัญและ เห็นคุณค่าของการรับภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคต้างๆและยินดีเต็มใจรับภูมิคุมกัน ตลอดจนแนะนําคนอื่นๆให้เห็นความสําคัญด้วย


อาหารและโภชนาการ


 การได้รับอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละมื้อและแต่ละ วันนับวามีความสําคัญ ควรมีกําหนดหรือวางแผนไว้ล่วงหน้าว่ามื้อเช้า มื้อกลางวัน หรือมี้อเย็นจะทําอาหาร อะไรบ้าง เพื่อจะได้อาหารที่หลากหลายและแตกต่างกันไป เช่น อาหารของเด็กเล็กควรแตกต่างจากอาหารผู้ใหญ่ การจัดอาหารสําหรับผู้ป่วยเฉพาะโรคได้คุณค่าของอาหารครบทุกหมู่และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพของทุกคนในครอบครัว ในแต่ละวันทุกคนในครอบครัวควรได้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ มีคุณค่าอาหารครบ 5 หมู่ และดื่มน้ําอยางนอยวันละ 6-8 แก้ว


การออกกําลังกายและเลนกีฬา


 ควรออกกําลังกายและสนับสนุ่นให้ทุกคนในครอบครัวได้ออกกําลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจํา โดย ชักชวนกันไปออกกําลังกาย พร้อมทั้งให้คําแนะนําเกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกําลังกายและเล่นกีฬาที่ช่วยให้ สุขภาพดี มีความสดชื่น แจ่มใส คลายเครียด และช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทํางานดีขึ้น ทุกคนควรออกกําลัง กายอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที หรืออย่างน้อยสัปดาหละ 3 วัน ถ้าเป็นไปได้ควรออกกําลังกายทุกๆวัน



การพักผอนและกิจกรรมนันทนาการ


 หลังจากการทํางานของผู้ใหญ่ หรือการเรียนของเด็ก การอออกกําลังกาย และการเลนกีฬาของทุกคนใน ครอบครัวที่ถือวาเป็นภารกิจที่จะต้องทําประจําวันแล้ว ภารกิจอีกส่วนหนึ่งที่ทุกคนจะต้องทํา คือ การพักผ่อนและ กิจกรรมนันทนาการที่ต้องมีการกําหนดหรือวางแผนในการปฏิบัติ การพักผ่อน โดยการนอนที่ถือวาสําคัญที่สุด ควรนอนเป็นเวลา และนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรกําหนดการวางแผนรวมกับครอบครัว โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ เช่น ปลูกต้นไม้ร่วมกันไปท่องเที่ยวในวันหยุด เป็นตน


การดูแลรักษาสิ่งแวดลอม


  การดูแลสุขภาพของทุกคนในครอบครัวในเรื่องสุขภาพร่างกาย ความสะอาด อาหาร การบริโภค ตลอดจนการพักผอนนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่จะช่วยให้คนมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไขเจ็บไดต้องมีสิ่งอื่น ประกอบด้วย ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน สิ่งแวดลอมรอบตัว ต้องช่วยกันดูแลให้สะอาด ปราศจากขยะมูลฝอย และ สิ่งปฏิกูลต่างๆ ทางระบายน้ําไม่มีน้ําเน่า น้ําขัง มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และมีสิ่งแวดลอมที่ดี น่าอยู่อาศัย ทุกคน ควรมีจิตสํานึกโดยปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณให้ถูกลักษณะ รวมทั้งให้ ความรวมมือในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างสม่ําเสมอ เช่น การเข้ารวมกิจกรรมพัฒนาสาธารณะ สถานหรือกิจกรรมบําเพ็ญประโยชนการรักษาชุมชนใหสะอาด หรือกิจกรรมในวันสําคัญทางศาสนา เป็นต้น


การดูแลสุขภาพจิต


การดูแลสุขภาพรางกายอยางเดียวยอมไม่เพียงพอ เพราะทุกคนจะมีสุขภาพที่สมบูรณแข็งแรงได้จะต้อง มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพจิต ทําไดโดยการให้ความเอื้ออาทร ความ ห่วงใยแก่สมาชิกในครอบครัว มีการช่วยเหลือเกื้อกูล และให้กําลังใจซึ่งกันและกัน ใหคําปรึกษาหารือและมีส่วน รวมในการวางแผนและการทํากิจกรรมของครอบครัวเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดี ให้เกิดขึ้นในครอบครัวซึ่งจะ ส่งผลถึงการมีสุขภาพจิตที่ดีในที่สุด


การป้องกันอุบัติเหตุและสรางเสริมความปลอดภัย


การวางแผนเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุภายในครอบครัว ทุกคนในครอบครัวควรช่วยกันสํารวจเครื่องมือ เครื่องใช้ที่อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุให้ปลอดภัยในการใช้ หากมีการชํารุดต้องซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดี จัดเก็บในที่ที่เหมาะสมและสะดวกสําหรับการใช้งานในครั้งต่อไป เรียนรูการใช้ เครื่องมือทุกชนิดให้ถูกวิธี และรูวิธีป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ฝึกให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง รู้หลักของความปลอดภัย และรูจักหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น


การดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นเรื่องสําคัญและจําเป็นสําหรับครอบครัว นักเรียน ควรหาความรู้ และ ความเข้าใจในเรื่องการปฐมพยาบาลอย่างง่ายๆ สําหรับบุคคลในครอบครัว เช่น เมื่อมีการบาดเจ็บต้องปฐม พยาบาลด้วยการทําแผล ใส่ยา รู้จักการวัดอุณหภูมิเมื่อมีไข้ การปฐมพยาบาลคนเป็นลม เป็นตะคริว เป็นต้น นอกจากนี้ต้องวางแผนในการดูแลคนในบ้านให้ได้รับการตรวจโรคอย่างน้อยปละ 1 ครั้ง หรือถ้าในครอบครัวมี สุขภาพไมปกติจะต้องไปพบแพทยวันใด เดือนใดหรือหากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องไปพบแพทยที่ไหน โดยวิธีใด หรือ ใช้เบอรโทรศัพท์อะไร เป็นต้น และแนะนําให้ทุกคนในบ้านเข้าใจและฝึกปฏิบัติให้ทุกคนได้เรียนรู้ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้



การปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ


ในสภาวะปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และพัฒนาการทางสังคมเข้ามาเกี่ยวของใน ชีวิตประจําวันและเป็นต้นเหตุที่ทําให้เกิดพฤติกรรมในทางที่ไม่ถูกตอง พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่

- การมีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย

 - การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล

 - การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา

- การกลั้นปสสาวะ

- การเกี่ยวของกับสารเสพติด และบุหรี่

- การดื่มเครื่องดื่มชูกําลังเป็นประจํา

 - การนั่งในอิริยาบถเดิมนานๆ

- การใชสายตาเพ่งมองนานๆ เช่น เล่นเกม,ทําคอมพิวเตอร์