เรื่อง 2 ความหมาย ความสําคัญ และการแพรกระจายของเชื้อโรค

       ปัจจุบันมีโรคติดต่อที่แพร่ระบาดจากคนสู่คน และจากสัตว์่สู่คน ซึ่งทําให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตแก่ประชาชนจํานวนมาก โดยมีการแพร่กระจายเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว จากชุมชนไปสู่เมือง และจากเมืองแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ เนื่องจากการเดินทางติดต่อระหว่างกันสามารถทําได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ทําให้การแพร่กระจายโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน โรคระบาดซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขสําคัญของประเทศในปัจจุบันได้แก่ โรคซาร์ส โรคไข้หวัดนก โรคมาลาเรีย โรคอหิวาตกโรค โรคชิคุนกุนยา โรคไข้หวัดใหญและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นตน


โรคซาร์ส

                โรคซาร์ส เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ.2002) และเริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลกใน พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานเกี่ยวกับผูที่สงสัยวาจะป่วยเป็นโรคซาร์สมากกว่า 2500 ราย จากเกือบ 20 ประเทศทั่วโลก โดยผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคในช่วง 10 วัน ก่อนเริ่มแสดงอาการ และเป็นผู้ที่อยูใกลชิดกับผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคซาร์ส จํานวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานทั่วโลกในเดือนเมษายน ปี 2546 มีมากกวา 100 ราย

                เชื้อไวรัสซาร์ส ห้องปฏิบัติการขององคการอนามัยโลก (WHO) ได้ตรวจพบเชื้อไวรัสชนิดใหม่ในผู้ป่วยโรคซาร์ส เรียกว่า เชื้อโคโรนาไวรัส เชื้อไวรัสซาร์สมีการกลายพันธุ์ได้เร็ว  ปัจจุบันพบว่า มีอย่างน้อย 19 สายพันธุ์ เชื้อที่กลายพันธุ์อาจมีการเกิดอันตรายรุนแรงขึ้นหรืออาจ
อ่อนตัวลง แต่สามารถอยู่ในคนเราได้ยาวนาน

                ระยะฟักตัว องค์การอนามัยโลกกําหนดระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสซาร์สอยูในระยะ 2-7 วัน ไม่เกิน 10 วัน จึงมีการกักบริเวณผู้ติดเชื้อเพื่อเฝ้าดูอาการเปนระยะเวลา 10-14 วัน

                อาการ อาการสําคัญของผู้ป่วยโรคซาร์ส ได้แก่ มีไข้ตัวรอน หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไอ ปวดศีรษะ และหายใจลําบากส่วนอาการอื่นที่อาจพบได้มีทองเดิน ไอมีเสมหะ น้ำมูกไหล คลื่นไสอาเจียนผู้ป่วยที่สงสัยวาจะเป็นโรคซาร์ส

                การแพร่กระจายของเชื้อโรค เชื้อโรคซาร์สติดต่อได้ทางระบบหายใจ และอาจติดต่อทางอาหารการกินได้อีกด้วย เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า เชื้อนี้มีอยูในน้ำเหลือง อุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย เมื่ออาการป่วยย่างเข้าสัปดาหที่ 3


การปองกันและรักษา

                โรคนี้ติดตอไดโดยการสัมผัสละอองน้ำลาย เสมหะ เขาทางปากและจมูก แตเดิมเชื่อวา เชื้อไวรัสโคโรน่าจะมีชีวิตอยูนอกรางกายมนุษยไดไมเกิน 3 ชั่วโมง แตจากขอมูลการศึกษาใหม ๆ พบวา เชื้อนี้อยูไดนานกวา 1 วัน โดยเฉพาะในอุจจาระและปสสาวะจะอยูไดนานหลายวัน การปองกัน ที่ดีที่สุดไดแก การลางมือ การปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยอยางเครงครัด และการใสหนากากอนามัย


ในการป้องกันโรคซาร์สนั้น มีขอแนะนําดังนี้

1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายสม่่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามลดความเครียด และไม่เสพสารเสพติด

 

      

 

      


2. ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเมื่อไอหรือจาม ขณะที่เป็นหวัดควรใช้หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ




3. รักษาความสะอาดของมืออยู่เสมอ ด้วยการล้ามือบ่อย ๆ
ด้วยน้ําสบู่ 

4. ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น 

โรคไข้มาลาเรีย (Malaria)

       ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อปรสิตจําพวกโปรโตซัว ชื่อ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งเกิดจากยุงก้นปล่องเป็นพาหะนําโรคมาสู่คน และเปนโรคที่มีสถิติการระบาดสูงมาก โดยเฉพาะในภาคใต้และในจังหวัดที่เปนป่าเขาที่มีฝนตกชุกอยู่บ่อย ๆ

สาเหตุ

       ยุงก้นปล่องเป็นพาหะนําโรคเมื่อยุงกัดคนที่เป็นไข้มาลาเรียแล้วไปกัดคนอื่นก็จะแพร่เชื้อให้กับคนอื่น ๆ ต่อไป

อาการ

       ผู้ที่ได้รับเชื้อไข้มาลาเรียจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น อาเจียน และมีเหงื่อมาก บางรายที่เปนชนิดรุนแรงมีไข้สูงขึ้นสมอง อาจมีอาการเพ้อ ชัก หมดสติหรือตายในที่สุด บางรายไม่ตายแต่เพ้อคลั่ง เสียสติ และความจําเสื่อม

การติดต่อ

       ติดต่อโดยยุงก้นปล่องตัวเมียไปกัดและกินเลือดคนที่เปนไข้มาลาเรียแล้วได้รับเชื้อมาลาเรียมาจากคนที่เปนไข้ เชื้อนั้นจะเจริญในตัวยุงประมาณ 10 วัน ก็จะมีอาการไข้มาลาเรีย

การป้องกัน

       1. นอนในมุ้งอย่าให้ยุงกัดได้

       2. ทําลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ภาชนะที่มีน้ำขังให้หมดไป

       3. เมื่อเข้าป่าหรือแหล่งที่มีไข้มาลาเรียระบาด ระวังอย่าให้ยุงกัดโดยใช้ยากันยุงทา

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza หรือ Bird Flu)

       เดิมเชื้อไข้หวัดนกเป็นเชื้อไวรัสโดยธรรมชาติจะติดต่อในนกเท่านั้น โดยเฉพาะนกป่า นกเป็ดน้ำ จะเป็นพาหะของโรค เชื้อจะอยูในลําไสนก โดยที่ตัวนกไม่มีอาการ แต่เมื่อนกเหล่านี้อพยพไปตามแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก ก็จะนําเชื้อนั้นไปด้วย เมื่อสัตวอื่น เช่น ไก่ เป็ด หมู หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ได้รับเชื้อไข้หวัดนกก็จะเกิดอาการ 2 แบบ คือ

1. หากได้รับเชื้อชนิดไม่รุนแรงสัตวเลี้ยงนั้นอาจจะมีอาการไม่มากและหายได้เอง

2. หากเชื้อที่ไดรับมีอาการรุนแรงมากก็จะทําใหสัตวเลี้ยงตายไดภา้ยใน 2 วัน

สาเหตุ

       เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเอ็ชไฟวเอ็นวัน (H5N1) พบในนก ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อโรคในธรรมชาติ โรคอาจแพรมายังสัตวปีกต่าง ๆ ได้ เช่น ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในฟาร์ม เลี้ยงตามบ้านและไก่ชน รวมทั้งเป็ดไล่ทุ่งด้วย

ระยะฟักตัว

       ระยะฟ้กตัวในคน 1 ถึง 8 วัน

อาการ

       ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ ผู้ปวยเด็กเล็ก ผูสูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจําตัว หากมีภูมิคุ้มกันไมดี อาจมีอาการรุนแรงได้ โดยจะมีอาการหอบ หายใจลําบาก เนื่องจากปอดอักเสบรุนแรง

 การป้องกัน

       1. รับประทานอาหารประเภทไก่และไขที่ปรุงสุกเทานั้น โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด ของโรค

       2. ควรเลือกซื้อไก่สดที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ เช่น เนื้อมีสีคล้ำมีจุดเลือดออก สําหรับไข้ ควรเลือกฟองที่ไม่มีมูลไก่ติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนํามาล้างให้สะอาด

       3. ไม่เล่นคลุกคลีหรือสัมผัสตัวสัตว์ น้ำมูก น้ำลาย มูลของไก่และสัตว์ปีก โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วยหรือตาย รวมทั้งบริเวณที่เลี้ยงสัตว์ปีกด้วย

ผลกระทบเมื่อมีการระบาดของไข้หวัดนก

       1. เมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดนกจากคนสู่คน เชื้อจะติดต่อโดยการจามหรือไอ จากนั้นคนที่ได้รับเชื้ออาจจะแพร่เชื้อโดยที่ยังไม่มีอาการ ทําให้เชื้อระบาดไปทั่วโลกได่อย่างรวดเร็ว

       2. ประมาณว่าจะมีประชากรโลกติดเชื้อรอยละ 25-30 โดยคาดว่าจะมีคนเสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้ประมาณ 2 –7.4 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งหากเชื้อมีความรุนแรงก็อาจจะมีคนเสียชีวิตมากกว่านี้

       3. จํานวนเตียงของโรงพยาบาลจะไม่เพียงพอ ทําให้ขาดบุคลากรด้านการรักษาพยาบาล รวมทั้งการดูแลรักษาจะไม่ทั่วถึง


อหิวาตกโรค

       ออหิวาตกโรคติดต่อได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ติดเชื้อหรือโดยการรับประทานหอยดิบ ๆ จากแหล่งน้ำที่มีเชื้อนี้ แต่ไม่ติดต่อโดยการสัมผัสผิวเผินกับผู้ติดเชื้อการระบาดมักเกิดในบริเวณที่มีระบบท่อระบายอุจจาระและแหล่งน้ำสะอาดไม่เพียงพอ ไม่กี่ปีมานี้โรคอหิวาตกโรคเกิดระบาดต่อเนื่องกันหลายครั้งในพื้นที่บางแห่งของทวีปแอฟริกา เอเชีย อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง (แม้ตามปกติจะมีแหล่งน้ำสะอาดพอเพียง แต่อหิวาตกโรคก็อาจเกิดขึ้นหลังจากมีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวหรือน้ำท่วมได้) อย่างไรก็ดี ผู้ที่เข้าไปในบริเวณแพร่ระบาด ของโรค แต่ระมัดระวังเรื่องการกินอาหารก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อน้อย

ระยะเวลาฟักตัว
ผู้ที่ได้รับเชื้อจะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1-2 วัน

อาการ

1. เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่าย

อุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้อง

หรือคลื่นไส้อาเจียนได้

2. เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาการอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตรต่อชั่วโมง

และจะหยุดเองใน 1-6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการท้องเสีย

1. งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือของหมักดอง

2. ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้

3. ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์

4. ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน

 โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยProf.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานครลักษณะโรค

       โรคชิคุนกุนยา เปนโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเปนพาหะนําโรค มีอาการคลายไขแดง แตตางกันที่ไมมีการรั่วของพลาสมาออกนอกเสนเลือด จึงไมพบผูปวยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีอาการช็อก

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำโรค

ระยะฟักตัว

       โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แตที่พบบอยประมาณ 2-3วัน

ระยะติดต่อ

       ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 เปนระยะที่มีไวรัสอยูในกระแสเลือดมาก

อาการและอาการแสดง

       ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามรางกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctiva injection)แตไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่


โรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

โรคไข้หวัดใหญ่

       โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถติดต่อกันได้ง่ายจะมีอาการรุนแรงกว่าโรคหวัดธรรมดาผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คัดจมูก น้ำมูกไหล ตาแดง ไอ จาม บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ทองเดิน และอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ เช่น หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปวดบวม ต่อมทอนซิลอักเสบ
เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักเกิดในเด็กเล็ก คนสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน คนที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง

       โรคไขหวัดใหญ่ ติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจได้รวดเร็ว มักระบาดในฤดูฝน ไข้หวัดใหญมีหลายชนิด บางชนิดรุนแรงทําให้ผู้ปวยเสียชีวิตได้

สาเหตุ

       เกิดจากเชื้อไวรัส มีอยู่ 3 ชนิด คือ ชนิดเอ ชนิดบี และชนิดซี บางครั้งใชชื่อตามเมืองที่ระบาด เช่น ไข้หวัดฮ่องกง หรือไข้่หวัดใหญ่ 2009 เป็นต้น

การติดต่อ เหมือนกับไข้หวัดธรรมดา ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง ด้่วยการไอหรือจามรดกันหายใจเอาเชื้อโรคที่ปะปนอยูในอากาศและติดต่อทางอ้อมโดยการใชสิ่งของ เสื้อผา ปะปนกับผู้ป่วย

ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 1-3 วัน สําหรับเด็กเล็กอาจแพร่เชื้อได้นานถึง 7 วัน

  การป้้องกันและควบคุมโรค ควรปฏิบัติดังนี้

       1. ไม่ควรคลุกคลีกับผู้ป่วย ควรแยกให้อยู่ต่างหาก

       2. ไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย

       3. เวลาไอหรือจามควรปิดปาก ปิดจมูก