ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์เป็นฐานการเรียนรู้ผ่านนิทรรศการเกี่ยวกับระบบสุริยะ ปรากฎการณ์ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ กาแล็คซี่ เทคโนโลยีอวกาศ ในการจุดประกายความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับผู้รับบริการ โดยผู้รับบริการสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยวิธีการบรรยายกับสื่อที่การเรียนรู้จริง ทำให้ผู้รับบริการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

ระบบสุริยะ

1. ดาวเคราะห์ชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร

2. ดาวเคราะห์ชั้นนอก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

3. แถบดาวเคราะห์น้อย อยู่ระหว่างดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี

4. มนุษย์สามารถมองเห็นดาวเคราะห์ด้วยตาเปล่าเพียง 5 ดวง เท่านั้น ได้แก่ ดาวพุธ

ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แต่มีเพียง 2 ดวง เท่านั้นที่มนุษย์มองเห็นได้บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันตกหรือทางทิศตะวันออก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนไม่สามารถมองเห็นได้

5. ในปี พ.ศ. 2549 สมาพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ ได้ให้คำนิยามดาวเคราะห์ใหม่ ดังนี้

5.1 ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์

5.2 มีมวลมากพอจนเกิดแรงโน้มถ่วงทำให้มีรูปร่างกลมหรือเกือบกลม

5.3 มีวงโคจรชัดเจน ไม่สัมพันธ์กับดาวเคราะห์ดวงอื่น จากคำนิยามดาวเคราะห์ใหม่มีผลทำให้ดาว

พลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระ โดยมีดาวเคราะห์น้อย 2003 UB 313 (อีริส) และดาวเคราะห์น้อยซิเรสรวมอยู่ด้วย

ดวงอาทิตย์

1. มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลกประมาณ 109 เท่า

2. มีอายุ 5,000 พันล้านปี และเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง

3. อยู่ห่างจากโลกราว 150 ล้านกิโลเมตร ( 1 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1 AU )

4. พลังงานเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น กล่าวคือ เกิดจากการรวมตัว

ของนิวเคลียสไฮโดรเจน (H) 4 นิวเคลียสหลอมไปเป็นนิวเคลียสของธาตุธีเลียม (He) 1 นิวเคลียร์พร้อมกับพลังงานมหาศาล


กลุ่มดาวฤกษ์

1. นักดาราศาสตร์ ได้แบ่งพื้นที่บนท้องฟ้าออกเป็นกลุ่มดาวฤกษ์ได้ 88 กลุ่ม

2. ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง สร้างโดยมีสีดาวฤกษ์แบ่ง เป็น 7 สี เป็นตัวบ่งบอกอุณหภูมิ ดาวฤกษ์สีน้ำเงิน มีอุณหภูมิสูงในขณะที่ดาวฤกษ์ สีส้มแดงมีอุณหภูมิต่ำ

3. กลุ่มดาวที่ใช้หาดาวเหนือ คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่ (จระเข้,ช้าง,กระบวยตักน้ำ) และกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (ค้างคาว) กลุ่มดาวทั้งสองนี้จะขึ้นตกสลับกัน

4. กลุ่มดาวที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใน 1 รอบปี เรียกว่า กลุ่มดาวจักราศี ซึ่งมี 12 กลุ่ม ได้แก่ แพะทะเล คนแบกหม้อน้ำ ปลา แกะ วัว คนคู่ ปู สิงโต หญิงสาว คันชั่ง แมงป่อง และคนยิงธนู

5. สามเหลี่ยมฤดูหนาว เกิดจากดาวบีเทลจุส (กลุ่มดาวนายพราน) ดาวซีรีอุส (กลุ่มดาวสุนัขเล็ก) และดาวโปรซิออน (กลุ่มดาวสุนัขเล็ก)

6. สามเหลี่ยมฤดูร้อน เกิดจากดาววีกา (กลุ่มดาวพิณ) ดาวเดเนบ (กลุ่มดาวหงส์) และดาวอัลแทร์ (กลุ่มดาวนกอินทรี)

ปรากฎการณ์บนฟากฟ้า

1. สุริยุปราคา เกิดจากดวงจันทร์เคลื่อนที่บังดวงอาทิตย์ เมื่อโคจรอยู่ในแนวเดียวกัน

โดยดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง มักเกิดในเวลากลางวัน หรือข้างแรม 15 ค่ำ มี 3 แบบ คือ สุริยุปราคาแบบเต็มดวง แบบบางส่วนและแบบวงแหวน

2. จันทรุปราคา เกิดจากเงาของโลกทอดไปที่ดวงจันทร์ โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เมื่อโคจรอยู่ในแนวเดียวกันมักเกิดในเวลากลางคืน หรือข้างขึ้น 15 ค่ำ มี 2 แบบ คือ แบบเต็มดวง และแบบบางส่วน

3. ดาวหาง บริวารขนาดเล็กของดวงอาทิตย์ประกอบด้วยส่วนหลัก คือ นิวเคลียสและโคมาที่รวมกันเป็นส่วนหัว ส่วนหางจะปรากฏให้เห็นเมื่อดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์

4. อุกกาบาต เป็นของแข็งจำพวกหินหรือเหล็กกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลกเพราะแรงดึงดูดจะเกิดการเสียดสี จนร้อนจัดลุกไหม้สลายหมดไป เห็นเป็นแสงสว่างวูบวาบในท้องฟ้า เรียกว่า ดาวตก หรือผีพุ่งไต้ บางก้อนมีขนาดใหญ่มากตกกระแทกพื้นโลกเกิดเป็นหลุมอุกกาบาต