โลกใต้เลนส์

โลกใต้เลนส์

เรื่อง กล้องจุลทรรศน์

ประวัติของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

กล้องจุลทรรศน์ (microscope) คือ เครื่องมือที่ประกอบด้วยเลนส์นูน (convex lens) หรือสิ่ง ที่ทำหน้าที่คล้ายเลนส์นูนขยายภาพวัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถศึกษาโครงสร้างขนาดเล็กของวัตถุนั้นได้ กล้องจุลทรรศน์อย่างง่ายประกอบด้วยเพียงส่วนฐาน ส่วนที่ใช้วางหรือยึดวัตถุ และส่วนที่เป็นเลนส์นูนขยายภาพวัตถุ ในทางชีววิทยา กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูภาพขยายของโครงสร้างต่างๆ ของตัวอย่างทางชีววิทยาที่ต้องการศึกษา เช่น เซลล์ของสิ่งมีชีวิต กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (light microscope) คือกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงจากแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ หรือหลอดไฟ เพื่อส่องผ่านวัตถุที่ต้องการศึกษา ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถศึกษาโครงสร้างขนาดเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่นิยมใช้ในการศึกษาชีววิทยาพื้นฐานในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ (compound light microscope) ซึ่งมีเลนส์หลายอันประกอบกันเป็นระบบเลนส์เชิงประกอบ (compound lens system) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการขยายภาพวัตถุ กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พัฒนามาจากต้นแบบกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบตัวแรก ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย Christopher Cock (คริสโตเฟอร์ ค็อก) เมื่อกว่า 300 ปีมาแล้ว ซึ่ง Robert Hooke (โรเบิร์ต ฮุก) ได้นำไปใช้ในการส่องดูโครงสร้างของไม้คอร์ก จนพบโครงสร้างเป็นช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่มาของ คำว่าเซลล์ ต่อมาแอนทอน วาน เลเวนฮุก (Antoine van Leeuwenhoek) ได้พัฒนาเลนส์ที่มีประสิทธิภาพมากและนำมาประกอบเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ทาให้เกิดการค้นพบสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดในน้ำ ดังนั้นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาชีววิทยานับแต่นั้นมา ถือเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

ภาพที่ 1 กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ Robert Hooke ใช้ในการส่องดูโครงสร้างของไม้คอร์ก จนพบโครงสร้างเป็นช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าเซลล์

ส่วนประกอบและหลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถศึกษาวัตถุหรือโครงสร้างขนาดเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น

ภาพที่ 2 กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบที่ใช้ในการศึกษาชีววิทยา ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ใช้กันในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นแบบเชิงประกอบ ซึ่งจะสามารถทำงานได้โดยมีส่วนประกอบพื้นฐาน ได้แก่

1. แหล่งกำเนิดแสง (light source) แหล่งกำเนิดแสงโดยทั่วไปจะเป็นหลอดไฟให้แสงสว่าง ติดอยู่ที่ฐานของกล้องจุลทรรศน์


ภาพที่ 3 ตำแหน่งของแหล่งกำเนิดแสง เป็นหลอดไฟอยู่บริเวณฐานของกล้องจุลทรรศน์

2. Condenser (คอนเดนเซอร์) Condenser คือเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ให้ส่องผ่านวัตถุที่จะศึกษา

ภาพที่ 4 ตำแหน่งของ condenser ซึ่งเป็นเลนส์รวมแสงจากหลอดไฟอยู่ข้างใต้บริเวณช่องว่างที่แสงส่องผ่านขึ้นมายังวัตถุ

3. เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens)

เลนส์ใกล้วัตถุ เป็นเลนส์ที่ทำหน้าที่รับแสงที่ส่องผ่านวัตถุ แล้วขยายภาพขึ้นตามกาลังขยาย ของเลนส์ภาพ

ภาพที่ 5 ตำแหน่งของเลนส์ใกล้วัตถุ อยู่เหนือ condenser

4. เลนส์ใกล้ตา (ocular lens)

เลนส์ใกล้ตา อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า eyepiece lens (อายพีซ เลนส์) เป็นเลนส์ที่อยู่ส่วนบนสุดของกล้องทำหน้าที่รับ และขยายภาพจากเลนส์ใกล้วัตถุ


ภาพที่ 6 ตำแหน่งของเลนส์ใกล้ตา อยู่ด้านบนสุดของกล้องจุลทรรศน์
ภาพที่ 7 ส่วนประกอบพื้นฐานทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ

ภาพที่เห็นเมื่อผู้ศึกษามองผ่านเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงนี้ จะเป็นภาพที่ขยายขนาดขึ้น และเป็นภาพเสมือนหัวกลับ กลับซ้ายเป็นขวา

ภาพที่ 8 ภาพตัวอักษรเมื่อมองผ่านเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เป็นภาพเสมือนหัวกลับ กลับซ้ายเป็นขวา

วิธีการใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ถูกต้อง

การใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ถูกต้อง จะทำให้เราสามารถทาการศึกษาชีววิทยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้

1. เมื่อจะใช้งานกล้องจุลทรรศน์ ให้เปิดสวิตช์ไฟที่อยู่บริเวณฐานของกล้อง แล้วปรับความเข้มแสงให้อยู่ระดับปานกลาง


ภาพที่ 9 การเริ่มใช้งานกล้องจุลทรรศน์โดยการเปิดสวิตช์ไฟ แล้วปรับความเข้มแสงบริเวณฐานของกล้อง (ภาพล่าง) จนกระทั่งสังเกตเห็นแสงไฟสว่างขึ้นมาจนถึงบริเวณ condenser (ภาพบน)

2. นำตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่บนสไลด์แก้ว วางลงบนแท่นวางสไลด์ เลื่อนให้ตำแหน่งของตัวอย่างอยู่ตรงกลางของช่องว่างที่แสงจะผ่านขึ้นมา

ภาพที่ 10 การนำสไลด์แก้ววางลงบนแท่นวางสไลด์ (ภาพซ้าย) แล้วเลื่อนให้ตำแหน่งของตัวอย่างอยู่ตรงกลางช่องว่างที่แสงส่องผ่านขึ้นมาจากcondenser (ภาพขวา)

3. เริ่มจากการใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุด

ภาพที่ 11 การหมุนเปลี่ยนเลนส์ใกล้วัตถุ เป็นเลนส์ที่มีกาลังขยายต่ำสุดของกล้องจุลทรรศน์ โดยการจับบริเวณแป้นหมุนเปลี่ยนเลนส์ (ลูกศรชี้)

4. หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้แท่นวางสไลด์เลื่อนขึ้นจนถึงตำแหน่งสูงสุด สังเกตว่าจะไม่สามารถเลื่อนขึ้นต่อไปได้อีก

5. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา แล้วค่อย ๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้สไลด์ค่อย ๆ เลื่อนลง จนกระทั่งเห็นภาพ

6. ปรับให้ภาพคมชัด โดยหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดอีกเล็กน้อย

ภาพที่ 12 การหมุนปุ่มปรับภาพหยาบ (ภาพซ้าย) และปุ่มปรับภาพละเอียด (ภาพขวา) ของกล้องจุลทรรศน์

7. ระยะระหว่างสไลด์ตัวอย่างและเลนส์ใกล้วัตถุที่เห็นภาพชัดเจนนี้เรียกว่าระยะโฟกัสของเลนส์หากต้องการจะศึกษาวัตถุบนสไลด์ให้ละเอียดมากขึ้น สามารถหมุนเปลี่ยนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกาลังขยายสูงขึ้นลาดับถัดไปมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเลื่อนแท่นวางสไลด์ลง

8. ปรับระยะโฟกัส โดยการหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเล็กน้อย ก็จะเห็นภาพชัดเจน

ภาพที่ 13 ระยะโฟกัสของเลนส์ คือระยะห่างระหว่างวัตถุบนสไลด์แก้วกับตัวเลนส์ใกล้วัตถุเมื่อหมุน ปุ่มปรับภาพจนผู้ใช้สามารถมองเห็นภาพชัดที่สุดผ่านเลนส์ใกล้ตา

ส่วนประกอบอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้อง ซึ่งมีความสำคัญรองลงมาจากส่วนประกอบพื้นฐาน ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ควรสอนให้นักเรียนรู้จัก ได้แก่ ฐาน สวิตช์ไฟ ปุ่มปรับความเข้มแสง แท่นวางวัตถุ ไดอะแฟรม และปุ่มปรับภาพ ซึ่งประกอบด้วยปุ่มปรับภาพหยาบ และปุ่มปรับภาพละเอียด

ภาพที่ 14 ส่วนประกอบอื่น ๆ ของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ควรทราบ

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของกล้องจุลทรรศน์ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ที่ฐานจะมีปุ่มสำหรับปิดเปิดไฟฟ้า

2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน

3. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่างๆ

4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

5. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมี ประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น 4x , 10x , 40x และ 100x เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ

6. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

8. เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา

9. จานหมุน (Revolving Nosepiece) ใช้สำหรับหมุนเพื่อเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

10. ไอริส ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสง ทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ

11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา

12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น

การใช้กล้องจุลทรรศน์

1. การจับกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง

2. ตั้งลำกล้องให้ตรง

3. เปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่

4. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง

5. นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ โดยปรับให้อยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน

6. ค่อยๆหมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆเพื่อหาระยะภาพ แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์ใกล้วัตถุกระทบกับสไลด์ตัวอย่าง เพราะจะทำให้เลนส์แตกได้

7. ปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลางให้เลื่อนสไลด์ให้มาอยู่ตรงกลาง

8. ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงกว่าเดิมมาอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง จากนั้นปรับภาพให้ชัดเจนด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น ห้ามปรับภาพด้วยปุ่มปรับภาพหยาบเพราะจะทำให้ระยะของภาพหรือจุดโฟกัสของภาพเปลี่ยนไป

9. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา

การระวังรักษากล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่มีราคาสูงและมีความซับซ้อนในการใช้งาน ผู้ใช้จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังและรักษาความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังมีดังนี้

1. การยกกล้องเพื่อเคลื่อนย้าย ให้ใช้มือหนึ่งจับที่แขนของกล้อง อีกมือหนึ่งใช้รอง ที่ใต้ฐาน ปรับให้ตรงและยกกล้องในลักษณะตั้งตรง เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของเลนส์ใกล้ตา

2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ต้องไม่เปียก เพราะอาจทำให้แท่นวางวัตถุเป็นสนิม และทำให้เลนส์ใกล้วัตถุชื้น อาจเกิดราที่เลนส์ได้

3. ขณะที่หมุนปรับภาพหยาบเพื่อเลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุลงใกล้แผ่นสไลด์ ให้คอย มองด้านข้างของเลนส์ใกล้วัตถุไม่ให้ชนแผ่นสไลด์

4. อย่าปรับกระจกของกล้องจุลทรรศน์ให้รับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง

5. การมองภาพในกล้องจุลทรรศน์ควรลืมตาทั้ง 2 ข้าง

6. การหาภาพเริ่มต้นด้วยเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดก่อนเสมอ

7. เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูง การปรับภาพให้ชัดเจนจะต้องหมุน ปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น

8. ห้ามใช้มือแตะเลนส์ การทำความสะอาดเลนส์ให้ใช้กระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น

การเก็บกล้องจุลทรรศน์เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้

1. นำวัตถุที่ศึกษาออกจากแท่นวางวัตถุ

2. ใช้ผ้านุ่มที่แห้งและสะอาดทำความสะอาดส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนเลนส์และ กระจกใช้กระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น

3. เลื่อนที่หนีบสไลด์ให้ขนานกัน

4. ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวดิ่งตั้งฉากกับตัวกล้อง เพื่อไม่ให้ฝุ่นเกาะ

5. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้ตรงกับลำกล้อง และเลื่อนให้อยู่ ในระดับต่ำสุด

6. เก็บเลนส์ใกล้ตาเข้ากล่อง แล้วปิดกระบอกเลนส์ใกล้ตำเพื่อกันฝุ่นเข้า

7. ใช้ผ้ำคลุมไว้เมื่อเลิกใช้งาน หรือเก็บใส่กล่องหรือตู้ให้เรียบร้อย

8. อย่าเก็บกล้องจุลทรรศน์ไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้เลนส์ขึ้นรา

เรื่อง เซลล์

เซลล์ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยไซโทพลาซึม (Cytoplasm) ที่ล้อมรอบด้วย เยื่อหุ้มเซลล์ภายในมีนิเคลียส ส่วนเซลล์พืชมีผนังชั้นหนึ่งเป็นสารพวกเซลลูโลส เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างของเซลล์ ประกอบด้วยส่วนห่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส และออร์แกเนลล์ต่างๆ

การค้นพบเซลล์

หลักฐานเรื่องเซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตนี้ ค่อยๆพัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาเกือบสองศตวรรษ ไม่เป็นที่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้ค้นพบเซลล์เป็นคนแรก เริ่มตั้งแต่การตั้งใช้ชื่อเซลล์เป็นครั้งแรก

ปี ค.ศ.1665 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ Robert Hooke ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ ชนิดเลนส์ประกอบ ตรวจดูไม้คอร์กที่ฝาบางๆพบว่าไม้คอร์กประกอบด้วยช่องเล็กๆ มากมายและเขาได้เรียกช่องเล็กๆ ว่าเซลล์ (cell)

ปี ค.ศ.1672 Anthony Van Leeuwenhoek ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 300 เท่า ศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆเช่นเม็ดเลือดขาว เซลล์สืบพันธ์

ปี ค.ศ.1833 Robert Brown ชาวอังกฤษเป็นผู้เสนอคำว่านิวเคลียส เป็นคนแรกโดยศึกษาจาก เซลล์พืชและ ได้วางพื้นฐานของนิยามที่ว่าเซลล์ที่มีนิวเคลียสเป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

ปี ค.ศ. 1838 Matthias Jacob Schneider นักพฤกษศาสตร์ชาวเยออรมัน ศึกษาเนื้อเยื่อพืช ชนิดต่าง ๆ แล้วสรุปได้ว่า เนื้อเยื่อพืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์

ปี ค.ศ.1839 Theodor Schwann นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์หลายๆชนิดแล้วสรุปว่าเนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ ทั้งสองจึงร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ว่า "All animals and plants composed of cells and products" หมายความว่า "สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์" และเซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ได้

ปี ค.ศ.1858 Rudolf virchaw เป็นผู้เสนอว่าสิ่งมีชีวิตต้องเกิดมาจากสิ่งมีชีวิต หรือไบโอเจเนซิส(biogenesis)ไม่ได้เกิดขึ้นเองธรรมชาติที่เคยเชื่อกันมาดังนั้นเซลล์ทุกชนิดเกิดมาจากเซลล์เก่าที่มี อยู่แล้วโดยขบวนการแบ่งเซลล์

สรุป ทฤษฎีของเซลล์

1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยหนึ่งเซลล์หรือหลายเซลล์

2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ได้

3. เซลล์ทุกชนิดเกิดมาจากเซลล์เก่าที่มีอยู่แล้ว

โครงสร้างของเซลล์

1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์มี 2 ชนิด คือ

1.1 ผนังเซลล์ (cell wall) พบในเซลล์พืช ประกอบด้วยเซลลูโลส ทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อพืช

1.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane หรือ cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้ม ของเหลวที่อยู่ภายใน โดยทั่วไปเยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) ซึ่งยอมให้สารบางชนิดแพร่ผ่านเข้าออกได้

2. นิวเคลียส เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม และยังควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย

2.1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส ทำหน้าที่หุ้มนิวเคลียสและควบคุมการผ่านเข้าออกของสารภายในนิวเคลียส

2.2 นิวคลีโอลัส ทำหน้าที่สร้างไรโบโซม

2.3 โครมาทิน ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

3. ออร์แกเนลล์ที่สำคัญ จะมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน เช่น

3.1 ร่างแหเอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม ทำหน้าที่สร้างและขนส่งโปรตีนออกไปนอกเซลล์และลำเลียงสารภายในเซลล์

3.2 ไรโบโซม ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน

3.3 กอลจิ บอดี ทำหน้าที่สะสมและขนส่งโปรตีน

3.4 ไมโดคอนเดรีย ทำหน้าที่ผลิตสารที่มีพลังงานสูงให้กับเซลล์

3.5 คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่เป็นแหล่งสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและโพรติสต์บางชนิด

3.6 เซนทริโอล ทำหน้าที่ควบคุมรูปร่างและการเคลื่อนไหวของไซโทพลาซึมในเซลล์

3.7 ไลโซโซม ทำหน้าที่ย่อยสารและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์

3.8 แวคิวโอล ทำหน้าที่สะสมสารต่างๆ


เรื่อง การทำสไลด์

อุปกรณ์

1. แผ่นสไลด์

2. ตัวอย่าง เช่น สาหร่ายหางกระรอก เยื่อกระพุ้งแก้ม

3. น้ำ

4. หลอดหยด

5. เครื่องมือตัดแต่งตัวอย่าง เช่น มีดผ่าตัด ใบมีด คีมคีบ เหล็กปลายแหลมสำหรับเขี่ยตัวอย่าง

วิธีการเตรียมสไลด์สด

1. หยดน้ำ 1 -2 หยดด้วยหลอดหยดลงบนแผ่นสไลด์

2. เด็ดตัวอย่างเช่น ใบสาหร่ายหางกระรอกใบยอดสุดวางบนหยดน้ำบนสไลด์

3. ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ โดยวางทำมุม 45 องศากับแผ่นสไลด์แล้ววางลง ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ

4. นำไปตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ ด้วยกำลังขยาย 10 X 4

5. ถ่ายภาพเซลล์ที่พบเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์

6. ทดลองซ้ำ ตามข้อ 1-5 ด้วยตัวอย่างอื่นๆ

7. ให้น้ำจากแหล่งน้ำหยดลงบนสไลด์และปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ โดยวางทำมุม 45 องศา กับแผ่นสไลด์ และทำตามข้อ 4 – 5