เทคโนโลยีอวกาศในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี 3 S ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี 3S ประกอบด้วยองค์ความรู้ ได้แก่ RS การรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) GNSS ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System) GIS (Geographical Information System)

เทคโนโลยี 3S ด้านการเกษตร Agricultural ข้อมูลจากเทคโนโลยี 3S มีความสำคัญมากเกี่ยวกับด้านการเกษตร เนื่องจากข้อมูลจากดาวเทียมสามารถใช้เพื่อมาวิเคราะห์ วางแผนและประเมินผลผลิตที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลต่างๆ คือ ข้อมูลการคาดการณ์สภาพอากาศ ข้อมูลการประเมินผลผลิตของเกษตรกร ข้อมูลปริมาณน้ำ พื้นที่เพาะปลูกรายแปลง ข้อมูลการเกิดศัตรูพืช และข้อมูลราคาการซื้อขายสินค้าทางการเกษตรที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยี 3S ด้านภัยพิบัติ Disaster ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมใช้ในการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภทการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ คือ ดินถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟป่า สึนามิ

การประยุกต์ใช้ดาวเทียมกับทรัพยากรธรรมชาติ

1 ด้านบุกรุกป่า

ป่าไม้ (Forest) หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

2 ด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม

ติดตามมลพิษอากาศ สามารถใช้ดาวเทียมในการหาความลึกเชิงแสงของฝุ่นละอองจากการวัดภาคพื้นดิน เนื่องจากฝุ่นละอองมีการกระเจิงรังสีดวงอาทิตย์ออกไปสู่นอกอวกาศ ดาวเทียมสามารถวัดการกระเจิงดังกล่าวได้

3 ด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ในอดีตการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ และจะปรับสภาพชายฝั่งให้เข้าอยู่ในสมดุลตลอดเวลา เรียกว่า สมดุลพลวิติ (Dynamic equilibrium) การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการกัดเซาะ (Erosional Coast) โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยแวดล้อมหลายประการทั้งสาเหตุจากธรรมชาติและสาเหตุจาการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ ส่งผลกระทบให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

4 ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ

การจัดการทรัพยากรน้ำ หมายถึง การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันเกี่ยวกับทรัพยากรในลุ่มน้ำ เพื่อจัดหาการจัดสรรน้ำและใช้ทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำรวมทั้งการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ หมายถึง แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆรวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม

เครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ

1 การทำงานของเครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Weather Station System-WSS)

เครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ > อุปกรณ์แสดงผ > ส่งข้อมูลไปยังระบบปนะมวลผล > ซอฟต์แวร์แสดงผล และวิเคราะห์ข้อมูล

2. แสดงทิศทางลม (Wind Direction)

เมื่อลมเคลื่อนที่ผ่านเครื่องตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ สามารถแสดงทิศทางลมเป็นองศาโดยเทียบจากทิศเหนือ

3 แสดงค่าความเร็วลม (Wind Speed) มีหน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/h)

- ลมสงบ ค่าความเร็วลม 1 km/h

- ลมปานกลาง ค่าความเร็วลม 20-28 km/h

- ลมจัด ค่าความเร็วลม 39-49 km/h

- พายุ ค่าความเร็วลม 89-102 km/h

4 แสดงค่าอุณหภูมิ (Temperature) มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส (°C)

- DEW (Dew Point temperature) แสดงค่าอุณหภูมิจุดน้ำค้าง

- Out (Outside Temperature) แสดงค่าอุณหภูมิของอากาศภายนอก

- Chill (Wide Chill) แสดงค่าความเย็นที่ร่างกายรู้สึก เนื่องมาจากผลของลม

- Heat (Heat Index) แสดงค่าความร้อนที่ร่างกายรู้สึก เนื่องมาจากผลของความชื้น

5 แสดงค่าปริมาณฝนที่ตกภายใน 24 ชั่วโมง (Current Rain) มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm)

- ฝนเล็กน้อย ปริมาณฝน 0.1-10.0 mm

- ฝนปานกลาง ปริมาณฝน 10.1-35.0 mm

- ฝนหนัก ปริมาณฝน 35.1-90.0 mm

- ฝนตกหนัก ปริมาณฝน >90.1 mm

6.แสดงค่าปริมาณฝนสะสม (Total Rain) มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm)

- Month แสดงค่าปริมาณฝนสะสมรายเดือน

- Year แสดงค่าปริมาณฝนสะสมรายปี

7.แสดงค่าความกดอากาศ (Barometer) มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg)

ความกดอากาศ คือ แรงที่กระทำต่อพื้นผิวโลกอันเนื่องน้ำหนักของอากาศ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ตั้งแต่พื้นผิวโลกขึ้นไปจนถึงเขตสูงสุดของบรรยากาศ

8. แสดงค่าการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ (Solar Radiation) มีหน่วยเป็นเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร (W/m2)

เป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบชั้นบรรยากาศมาถึงพื้นผิวโลก

9 แสดงค่าระดับความเข้มของรังสี (UV Radiation Index) UV แสดงค่าระดับความเข้มของรังสีอัลตราไวโอเลตที่แผ่กระจายจากดวงอาทิตย์มายังโลก

- UV Index 1-2 ระดับความเข้มต่ำ

- UV Index 3-5 ระดับความเข้มปานกลาง

- UV Index 6-7 ระดับความเข้มสูง

- UV Index 8 ขึ้นไป ระดับความเข้มสูงมาก

10. แสดงค่าการคายระเหย (Evapotranspiration) ET มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (mm)

- Day แสดงค่าการคายระเหยสะสมรายวัน

- Month แสดงค่าการคายระเหยสะสมรายเดือน

- Year แสดงค่าการคายระเหยสะสมรายปี

11 แสดงค่าความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity) มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)

- In (Inside Humidity ) แสดงค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศบริเวณพื้นที่ติดตั้งเครื่องรับข้อมูล

- Out (Out Humidity) แสดงค่าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศบริเวณพื้นที่ติดตั้งเครื่องตรวจวัดอากาศ

บทเรียนออนไลน์ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

1 พื้นฐานเกี่ยวกับดาวเทียม

2 เซ็นเซอร์

3 การประมวลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม

4 การใช้ประโยชน์

ระบบการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศแบบออนไลน์ ผ่านกิจกรรม เรียนรู้ (Learn) เล่น (Interact) ฝึกฝน (Practice) ใช้งาน (Apply)