การเขียนภาคผนวก

การเขียนภาคผนวก

ภาคผนวก กล่าวคือ เป็นส่วนช่วยเติมเต็มแต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมี ภาคผนวกอาจจะเขียนถึงส่วนอ้างอิงสำหรับผู้อ่าน เนื้อหาโดยย่อหรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่กล่าวถึงวิธีการที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน คุณอาจจะต้องเขียนภาคผนวกในโรงเรียนหรืออาจจะตัดสินใจเขียนภาคผนวกสำหรับโครงงานที่คุณกำลังทำอยู่ คุณควรเริ่มจากการเก็บรวบรวมเนื้อหาในการเขียนภาคผนวกและวางองค์ประกอบของภาคผนวกได้อย่างเหมาะสม คุณจึงจะสามารถปรับปรุงภาคผนวกเพื่อให้มีเนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่าย มีประโยชน์ และทำให้ผู้อ่านประทับใจ

ส่วน 1 รวบรวมเนื้อหาสำหรับเขียนภาคผนวก

1.เขียนข้อมูลดิบ. ภาคผนวกควรเป็นส่วนที่คุณสามารถเขียนข้อมูลดิบที่รวบรวมระหว่างการวิจัยเพื่อเขียนงานวิจัยหรือรายงาน ในการเขียนภาคผนวกนั้น คุณควรจะเขียนข้อมูลดิบที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนผลการวิจัยของคุณ ให้เขียนข้อมูลดิบที่กล่าวถึงหรืออภิปรายในงานวิจัยของคุณเท่านั้น เพราะคุณต้องยืนยันว่าข้อมูลนั้นมีความเกี่ยวข้องกับผู้อ่านของคุณ ข้อมูลดิบอาจจะกล่าวถึงตัวอย่างการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในงานวิจัย และข้อมูลชี้เฉพาะที่ช่วยขยายความข้อมูลดิบหรือข้อมูลที่ใช้อภิปรายในงานวิจัย นอกจากนี้ ข้อมูลดิบเชิงสถิติก็สามารถเขียนในภาคผนวกได้เช่นกัน

2.แนบรูปภาพ แผนภูมิ และกราฟที่เกี่ยวข้อง. ภาคผนวกควรจะแนบข้อมูลที่เป็นรูปภาพ เช่น กราฟ แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ ภาพวาด หรือภาพถ่าย เพียงแค่แนบรูปภาพที่สนับสนุนผลการวิจัยของคุณ ก็สามารถเขียนในภาคผนวกได้ คุณอาจจะแนบกราฟและแผนภูมิที่คุณทำด้วยตัวเอง หรือนำกราฟหรือแผนภูมิจากแหล่งข้อมูลอื่น อย่างไรก็ตาม ดูให้ดีว่าคุณได้อ้างอิงภาพทั้งหมดที่ไม่ใช่ของคุณเองในภาคผนวกด้วย

3.เขียนอุปกรณ์ในการวิจัยลงในภาคผนวก. คุณควรจะดูให้ดีว่าได้เขียนอุปกรณ์ที่คุณใช้ในการทำวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นกล้องวีดิโอ เครื่องอัดเสียง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลของคุณ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีใช้อุปกรณ์ในการทำวิจัยของคุณ [3]

ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเขียนในภาคผนวกว่า: “All interviews and surveys were conducted in person in a private setting and were recorded with a tape recorder.”

4.เพิ่มบทสัมภาษณ์หรือผลสำรวจ. ภาคผนวกควรจะแนบบทสัมภาษณ์หรือผลสำรวจที่คุณทำเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ดูให้ดีว่าบทสัมภาษณ์ที่คุณเขียนนั้นครอบคลุมตลอดการสัมภาษณ์ รวมไปถึงคำถามและคำตอบระหว่างการสัมภาษณ์ หรือคุณอาจจะแนบสำเนาของแบบสำรวจที่เขียนด้วยมือหรือแบบทดสอบที่ทำบนอินเทอร์เน็ต [4]

คุณควรจะแนบจดหมายที่กล่าวถึงงานวิจัยของคุณ เช่น สำเนาอีเมล์ จดหมาย หรือบันทึกที่เขียนถึงหรือเขียนจากงานวิจัยของคุณ

ส่วน 2 จัดวางรูปแบบภาคผนวก

1.เขียนชื่อภาคผนวก. ภาคผนวกควรจะเขียนชื่อให้ชัดเจนที่ด้านบนสุดของหน้า ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น “APPENDIX” หรือตัวพิมพ์ใหญ่ต้นคำ เช่น “Appendix” คุณสามารถใช้รูปแบบอักษรและขนาดเดียวกันกับที่ใช้เขียนหัวข้อบทในงานวิจัยหรือรายงานของคุณ (หากเป็นภาษาไทยให้เขียนว่า “ภาคผนวก” เท่านั้น)

ถ้าคุณมีภาคผนวกภาคกว่าหนึ่ง ให้จัดเรียงตามตัวอักษรหรือตัวเลข และใช้รูปแบบดังกล่าวเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้ตัวอักษร ก็ให้ใช้ตัวอักษรเสมอ “Appendix A” “Appendix B” หรืออื่นๆ ถ้าคุณใช้ตัวเลข ก็ให้ใช้ตัวเลขเสมอ เช่น “Appendix 1” “Appendix 2” และอื่นๆ (ในการภาษาไทยส่วนใหญ่จะใช้ “ภาคผนวก 1” “ภาคผนวก 2” หรือ “ภาคผนวก ก” “ภาคผนวก ข”)

ถ้าคุณมีภาคผนวกมากกว่าหนึ่ง ดูให้ดีว่าภาคผนวกแต่ละภาคต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนว่าภาคผนวกที่อ่านอยู่จบหรือยัง และภาคผนวกใหม่เริ่มหรือยัง

2.จัดลำดับเนื้อหาในภาคผนวก. คุณควรจะลำดับเนื้อหาในภาคผนวกโดยอิงพื้นฐานจากลำดับการปรากฎของเนื้อหาในรายงานวิจัย ซึ่งจะช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลในภาคผนวกนั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าข้อมูลดิบกล่าวถึงในรายงานบรรทัดแรก ให้นำข้อมูลดิบนั้นเป็นภาคผนวกอันดับแรก หรือถ้าคุณกล่าวถึงคำถามสัมภาษณ์ในตอนท้ายของงานวิจัย ดูให้ดีว่าได้เขียนภาคผนวกเกี่ยวกับคำถามสัมภาษณ์ไว้ส่วนท้ายสุด

3.เขียนภาคผนวกต่อท้ายบรรณานุกรม. ภาคผนวกควรจะปรากฏอยู่หลังบรรณานุกรมหรือรายการแหล่งข้อมูล อย่างไรก็ตาม ถ้าอาจารย์ต้องการให้ภาคผนวกอยู่ส่วนอื่นของงานวิจัย เช่น ก่อนหน้าบรรณานุกรม ก็ให้ทำตามที่อาจารย์แนะนำ

คุณควรจะตรวจสอบรายการภาคผนวกที่สารบัญงานวิจัย ถ้าคุณมี คุณสามารถเขียนรายการหัวข้อภาคผนวกได้ เช่น “Appendix” หรือ “Appendix A” ถ้าคุณมีภาคผนวกมากกว่าหนึ่ง

4.เพิ่มหมายเลขหน้า. ภาคผนวกควรมีหมายเลขหน้าอยู่บริเวณด้านล่างของหน้ากระดาษ อาจจะอยู่บริเวณมุมขวาหรือตรงกลางก็ได้ และให้ใช้รูปแบบการวางหมายเลขหน้าให้เหมือนกันทั้งงานวิจัย การใช้หมายเลขหน้าที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่เนื้อหาไปจนถึงภาคผนวกจะทำให้เนื้อหาแต่ละส่วนมีความเป็นเนื้อเดียวกัน [8]

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเนื้อหาจบที่หน้า 17 ก็ให้เขียนหมายเลขหน้าของภาคผนวกต่อจากหน้า 17

ส่วน 3 ปรับปรุงภาคผนวก

1.ตรวจทานแก้ไขภาคผนวกเพื่อความชัดเจนและความสอดคล้องกัน. การเขียนภาคผนวกไม่ได้กำหนดจำนวนคำหรือจำนวนหน้า แต่ก็ไม่ควรจะยาวเกินความจำเป็น ลองกลับไปดูภาคผนวกที่เขียนไว้และดูว่าข้อมูลที่แนบมานั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือไม่ และตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือให้อธิบายด้วยวิธีอื่น การเขียนภาคผนวกที่ยาวเกินไปจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพและทำให้งานวิจัยของคุณดูไม่เป็นระเบียบ

คุณอาจจะพบว่าการให้คนอื่นตรวจทานภาคผนวกของคุณก็เป็นวิธีประโยชน์ เช่น เพื่อนหรืออาจารย์ ลองถามดูว่าอ่านแล้วรู้สึกว่าข้อมูลทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในงานวิจัยหรือไม่ และตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป

2.ตรวจสอบการสะกดคำและความผิดพลาดทางไวยากรณ์. คุณควรจะตรวจทานภาคผนวกเพื่อดูว่าไม่มีข้อผิดพลาดด้านตัวสะกด ไวยากรณ์ หรือเครื่องหมายวรรคตอน ใช้โปรแกรมตรวจสอบสะกดคำบนคอมพิวเตอร์ และลองตรวจทานภาคผนวกด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง [10]

อ่านภาคผนวกย้อนกลับเพื่อดูว่าไม่มีการสะกดคำผิด คุณต้องเขียนภาคผนวกให้ดูเป็นมืออาชีพมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

3.อ้างอิงภาคผนวกในงานวิจัย. เมื่อคุณทำภาคผนวกเสร็จแล้ว คุณควรจะกลับไปอ่านงานวิจัยและอ้างอิงข้อมูลในภาคผนวกโดยใช้ชื่อหัวข้อ การทำแบบนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นว่าภาคผนวกมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณ และยังช่วยให้ผู้ให้ใช้เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อพวกเขาอ่านเนื้อหาของคุณ [11]

ยกตัวอย่าง คุณอาจจะแนบภาคผนวกในเนื้อหาด้วยประโยค: “My research produced the same results in both cases (see Appendix for raw data)” หรือ “I feel my research was conclusive (see Appendix A for interview notes).”