การเขียนสรุปผล

หลักการเขียน

1. การสรุปผลการวิจัย ควรสรุปตามความมุ่งหมายของการวิจัยและสมมติฐานของการวิจัย ทั้งนี้เพราะสรุปผลการวิจัยจะสามารถเชื่อมโยงหรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

2. สรุปผลการวิจัย นิสิต นักศึกษาควรใช้ภาษาเขียนที่เป็นกลางหลีกเลี่ยงการใช้ความ คิดเห็นส่วนตัวมาสรุปในการบรรยายและหลีกเลี่ยงการตีความเอาเองในสรุปผลการวิจัย

3. การสรุปผลการวิจัยควรใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุม บ่งบอกถึงการตอบคำถามของการวิจัยที่ชัดเจนหรือสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ในบทที่ 1

4. ควรสรุปภาพรวมของผลการวิจัย ไม่ควรยกผลการวิจัยทั้งหมดจากบทที่ 4 มาเขียนสรุปผลการวิจัยและอธิบายปลีกย่อยมากเกินไปจะทำให้สับสนผลการวิจัยได้

5. กรณีที่ผลการวิจัยได้ผลเหมือนกัน นิสิต นักศึกษาสามารถรวมเป็นข้อเดียวกันก็ได้ เพื่อความกระชับในการเขียนสรุปผลการวิจัย ไม่จำเป็นต้องแยกข้อจนอ่านไม่เข้าใจ ทั้งที่สามารถรวมเป็นข้อเดียวได้

6. สรุปผลการวิจัยบทที่ 5 คือบทคัดย่อนั้นเอง การสรุปควรมีกระชับ รัดกุมที่สำคัญ การสรุปผลการวิจัย นิสิต นักศึกษาคือการตอบคำถามของความมุ่งหมายของการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย ว่าตอบชัดเจนหรือไม่อย่างไร สามารถตรวจสอบได้โดยย้อนดูความมุ่งหมายของการวิจัยอีกครั้ง

7. กรณีที่นิสิต นักศึกษาสรุปผลการวิจัยแล้ว อยากตรวจสอบว่าสรุปผลครอบคลุม ชัดเจน รัดกุมหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้โดยทำตารางความสัมพันธ์ระหว่าง ความมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ซึ่งจะบ่งชี้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตรวจสอบได้ง่ายว่าการสรุปผลมีความชัดเจนเพียงใด

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2551). กล่าวว่าหลักการเขียนการสรุปผลการวิจัย

1. สรุปผลต้องตอบคำถาม/ปัญหาที่กำหนดไว้ทั้งหมด

2. ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของการวิจัยเท่านั้น

3. ต้องตรงตามข้อเท็จจริงที่ได้มา

4. เสนอเฉพาะข้อเท็จจริงที่ได้มาเท่านั้น (ต้องไม่ลำเอียง)

5. ต้องเป็นประโยชน์ต่อการนำใช้/ศึกษาเพิ่มเติม

6. มาจากการคิดทบทวน ไตร่ตรองอย่างดีแล้วและต้องทดสอบซ้ำได้

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2551). กล่าวว่า องค์ประกอบเป็นการย่อสรุปเนื้อหาสาระของบทที่ 1

และบทที่ 3

1. เริ่มจากการการสรุปความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

2. ต่อมาบอกว่าต้องการทำอะไร ขอบเขต ข้อจำกัด คืออะไร

3. ต่อมาบอกวิธีการในการหาคำตอบ

4. ผู้วิจัยควรเสนอหัวข้อสรุปผลการวิจัยให้สอดคล้องกับบทที่ 4 (ตั้งให้เหมือนกับบทที่ 4 ) โดยเน้นเฉพาะหัวข้อใหญ่ หากมีหัวข้อย่อย อาจรวมเข้าด้วยกันโดยใช้คำเชื่อม

5. สรุปให้ครอบคลุม ครบถ้วนของผลการวิจัย ต้องตอบประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัยทั้งหมดและสรุปในทุกประเด็นปัญหา

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2551). กล่าวว่า รูปแบบการเขียนสรุปผลการวิจัย

แบบมีโครงสร้าง

- จัดเนื้อหาเป็นหัวข้อแล้วสรุปย่อความ (เอาหัวข้อบทที่ 1 , 3 ,มาจัด)

1. วัตถุประสงค์

2. สมมติฐาน

3. ขอบเขต

4. รูปแบบ

5. เครื่องมือ

6. การเก็บรวบรวมข้อมูล

7. การวิเคราะห์ข้อมูล

แบบไม่มีโครงสร้าง

- เขียนเป็นบทความติดต่อกัน

- ควรแบ่งเป็นส่วนๆตามประเด็นสำคัญ

- เขียนเนื้อหาติดต่อกันตามลำดับโดยอาศัยคำเชื่อม และย่อหน้าเป็นหลัก

- เนื้อหาในส่วนนี้ 1-2 หน้า

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557 : 4). ได้กล่าวว่า การสรุปผลการวิจัย เป็นการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากบทที่ 4 มาเขียนสรุปย่อเพื่อให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจว่าผลการวิจัยเป็นอย่างไร และการเขียนสรุปผลการวิจัยที่ดีนั้นต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ของภาพรวมของการวิจัยทั้งหมด การเขียนสรุปจะเขียนเฉพาะในส่วนที่สำคัญ ๆ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าได้ผลอย่างไรบ้าง พยายามสรุปให้ครอบคลุมครบถ้วนประเด็นปัญหาที่

วิจัยทั้งหมดการสรุปผลการวิจัยมีหลักเกณฑ์ในการเขียนดังนี้

1. การสรุปผลการวิจัย ควรสรุปตามความมุ่งหมายของการวิจัยและสมมติฐานของการวิจัย ทั้งนี้เพราะสรุปผลการวิจัยจะสามารถเชื่อมโยงหรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

2. สรุปผลการวิจัย นิสิต นักศึกษาควรใช้ภาษาเขียนที่เป็นกลางหลีกเลี่ยงการใช้ความ คิดเห็นส่วนตัวมาสรุปในการบรรยายและหลีกเลี่ยงการตีความเอาเองในสรุปผลการวิจัย

3. การสรุปผลการวิจัยควรใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุม บ่งบอกถึงการตอบคำถามของการวิจัยที่ชัดเจนหรือสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ในบทที่ 1

4. ควรสรุปภาพรวมของผลการวิจัย ไม่ควรยกผลการวิจัยทั้งหมดจากบทที่ 4 มาเขียนสรุปผลการวิจัยและอธิบายปลีกย่อยมากเกินไปจะทำให้สับสนผลการวิจัยได้

5. กรณีที่ผลการวิจัยได้ผลเหมือนกัน นิสิต นักศึกษาสามารถรวมเป็นข้อเดียวกันก็ได้ เพื่อความกระชับในการเขียนสรุปผลการวิจัย ไม่จำเป็นต้องแยกข้อจนอ่านไม่เข้าใจ ทั้งที่สามารถรวมเป็นข้อเดียวได้

6. สรุปผลการวิจัยบทที่ 5 คือบทคัดย่อนั้นเอง การสรุปควรมีกระชับ รัดกุมที่สำคัญ การสรุปผลการวิจัย นิสิต นักศึกษาคือการตอบคำถามของความมุ่งหมายของการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย ว่าตอบชัดเจนหรือไม่อย่างไร สามารถตรวจสอบได้โดยย้อนดูความมุ่งหมายของการวิจัยอีกครั้ง

7. กรณีที่นิสิต นักศึกษาสรุปผลการวิจัยแล้ว อยากตรวจสอบว่าสรุปผลครอบคลุม ชัดเจน รัดกุมหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้โดยทำตารางความสัมพันธ์ระหว่าง ความมุ่งหมายของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัยและสรุปผลการวิจัย ซึ่งจะบ่งชี้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตรวจสอบได้ง่ายว่าการสรุปผลมีความชัดเจนเพียงใด