ตัวอย่างความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย

ตัวอย่าง

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา

การพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 6 ปีมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยความสามารถความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขภาพดีสุขภาพจิตดีและมีความสุขมีทักษะชีวิตและสร้าง ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขมีทักษะการใช้ภาษาสื่อสารและสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ การวางรากฐานให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยจะนำเด็กไปสู่การเติบโตที่มี คุณภาพปลูกฝังความรู้และประสบการณ์เมื่อเติบโตจะช่วยให้เด็กรู้จักคิดและมองเห็นถึงปัญหา ความสำคัญของสิ่งที่ตนทำทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ มีความมั่นใจรู้จักปรับตัวเข้ากับสังคม รู้จัก คิด รู้จักพูด รู้จักแก้ไขปัญหา รู้จักค้นหาคำตอบหรือมีความพร้อมทั้งกายใจสังคมและสติปัญญา พร้อมที่จะเรียนในระดับสูงขึ้นอย่างมีคุณภาพและศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2560 : ความนำ) ที่ ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์.(2555:51) ได้กล่าวว่า เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญและตระหนักในความสำคัญของเด็กวัยนี้ว่าเป็นวัยทองของชีวิตและมีความจำเป็นต้องได้รับการศึกษา และฝึกฝนให้อยู่ในสภาพสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเรื่องของ สิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาของสังคมประเทศและสังคมโลกปัจจุบันซึ่งทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้ เด็กเล็กต้องได้รับการปลูกฝังให้อยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ผูกพันกันและไม่เอาประโยชน์จาก สิ่งแวดล้อมแต่ฝ่ายเดียว อัน พิทยาภรณ์ มานะจุติ.(2552 : 32) ได้กล่าวว่าหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัยพุทธศักราช 2546 จึงให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้ำและอากาศ โดยกำหนด ไว้ในจุดมุ่งหมายว่ามุ่งให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างดี และกำหนดเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ไว้ข้อหนึ่งคือให้เด็กรักธรรมชาติสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและความเป็นไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกันภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่น ๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่าง ๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้น ๆภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวมภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาลเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วยองค์ประกอบของภาษา

บัตรคำยังเป็นสื่อการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่ประสิทธิภาพและจำเป็นในการเรียนการสอน อีกทั้งยังสร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียน ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ และสามารถจดจำได้ง่าย ทำให้การเรียนการสอนในชั้นเรียนมีความน่าสนใจมากกว่าการเรียนตามคู่มือครูเพราะเนื้อหาในบัตรคำประกอบไปด้วยรูปภาพที่มีสีสันสวยงานประกอบกับมีคำศัพท์ที่ชัดเจน เมื่อผู้สอนแสดงบัตรคำศัพท์ผู้เรียนก็สามารถตอบหรือบอกได้ทันที่ว่าคำ ๆ นั้นคือคำว่าอะไร นอกจากนี้ การใช้บัตรคำศัพท์ไม่เพียงแต่จะสอนเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์ ผู้สอนยังสามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในการอ่านประโยคได้อีกด้วย ผู้สอนสามารถนำบัตรคำศัพท์แทนสิ่งของหรือวัตถุ ที่ไม่สามารถนำมาให้ผู้เรียนได้สัมผัสหรือเห็นของจริงได้ บัตรคำศัพท์จึงเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับ จำลองสิ่งเหล่านี้ให้ผู้เรียนได้เห็น ดังนั้น การใช้เกมและบัตรคำศัพท์เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษา นอกจากเกมยังทำให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกแล้วยังทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่ง พรสวรรค์ สีป้อ.(2550237) ได้กล่าวว่า ผู้เรียนสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่าง ๆ ในการทำ กิจกรรมที่ผู้สอนได้เตรียมไว้ ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนรู้คำศัพท์ และยังจดจำคำศัพท์ ทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษามีความมั่นใจในการใช้ภาษาและเรียนอย่างมีความสุข ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารหรือสื่อความหมายให้เข้าใจซึ่งกันและกัน โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาทางภาษา ซึ่งประกอบด้วยการรับข้อมูล และการส่งข้อมูลผ่านการคิดและสัญลักษณ์ ภาษามีความสำคัญต่อการศึกษาในทุกระดับโดยเฉพาะในระดับปฐมวัย พัฒนาการทางภาษาของเด็กอายุ 0 –6 ปี เป็นรากฐานสำคัญและมีความจำเป็นที่สุดต่อการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและศักยภาพของมนุษย์ เนื่องจากภาษาเป็นระบบที่มีความซับซ้อน เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย เด็กจะใช้ภาษาในการสื่อสารความคิด ความต้องการของตนเองกับผู้อื่น นอกจากนี้เด็กยังใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะทางสติปัญญาและพัฒนาทักษะในด้านอื่น ๆ จากการศึกษาความสำคัญของภาษาที่มีต่อเด็กปฐมวัย สามารถสรุปได้ว่าภาษามีความสำคัญดังนี้ ภาษาก่อให้เกิดกระบวนการทางสังคมประกิต (Socialization) หมายถึงเด็กจะใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะและเจตคติจากเด็กรุ่นหนึ่งไปยังเด็กอีกรุ่นหนึ่งเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติให้มีทิศทางเดียวกัน เช่น เด็กในชั้นเรียนที่โตกว่าจะถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติตนต่อครูประจำชั้นให้กับนักเรียนรุ่นน้องได้ปฏิบัติตาม ซึ่งลักษณะการปฏิบัตินั้น ๆ เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับและอยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นที่ยอมรับของสังคม ภาษายังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้มนุษย์ได้แลกเปลี่ยนความคิดที่เป็นนามธรรมต่อกัน เช่น การบรรยายของอาจารย์เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากนักศึกษาในระดับนี้จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับนามธรรมได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าเด็กในวัยต้น ภาษาจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม เช่น การที่เด็กทำงานกลุ่มจะต้องใช้ภาษาที่แสดงถึงการวางแผน การบอกสิ่งที่ตนต้องการให้สมาชิกในกลุ่มรับรู้ เข้าใจ และทำให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการการทางสติปัญญา จากการศึกษาผลการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการทางภาษากับระดับสติปัญญาพบว่า เด็กที่มีความสามารถทางภาษามีแนวโน้มที่จะมีระดับสติปัญญาหรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงด้วย ซึ่งไวก็อตสกี้ (Vygotsky) กล่าวว่า ภาษามีความสัมพันธ์กับการคิด ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิด ในช่วงต้นของชีวิตเด็กจะใช้ภาษาในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นซึ่งเรียกว่าเป็นภาษาสังคม (Social Speech) ต่อมาเด็กจะใช้ภาษาที่พูดกับตัวเอง (Private Speech) เพื่อแนะนำการปฏิบัติของตัวเด็กเองในการแก้ไขปัญหาที่เด็กต้องเผชิญ เด็กใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแสดงความต้องการ เมื่อเด็กใช้ภาษาจะทำให้เด็กได้รับสิ่งของ การช่วยเหลือ หรือสิ่งอื่น ๆตามที่เด็กต้องการ เช่น เด็กทารกจะร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการดื่มนม เด็กจะไขว่คว้าเพื่อต้องการให้แม่อุ้ม ซึ่งเด็กใช้ภาษาเพื่อควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น โดยเริ่มต้นจากการที่เด็กถูกควบคุมโดยภาษาของผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่อาจบอกให้ลูกนอน ดื่มนม กินข้าว เป็นต้น เมื่อเด็กโตขึ้น เด็กจะเรียนรู้และเปลี่ยนจากการถูกควบคุมมาเป็นการใช้ภาษาเพื่อควบคุมผู้อื่นแทน เด็กอาจใช้ภาษาพูดเพื่อให้ผู้อื่นทำตามในสิ่งที่ตนเองต้องการ เช่น หยิบตุ๊กตาให้หน่อย เอาบล็อกมานี่ เด็กใช้ภาษาเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะกับแม่หรือบุคคลที่เด็กใกล้ชิด เป็นการใช้ภาษาเพื่อการทักทาย หรือสื่อให้ผู้อื่นหันมาสนใจ ในช่วงแรกของชีวิตเด็กจะใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารกับคนอื่น เช่น การยิ้ม การแกว่งตัว ไขว่คว้า การโบกมือ เด็กใช้ภาษาในการแสดงความเป็นตัวตนของเด็ก เป็นการใช้ภาษาในการพัฒนาบุคลิกภาพ ในการแสดงความรู้สึกส่วนตัว การมีส่วนร่วมหรือการถอนตัว ความสนใจ ความพึงพอใจ เช่น การพูดเพื่อขอเล่นกับเพื่อน การปฏิเสธการร่วมเล่น การแสดงท่าทีที่บ่งบอกถึง ความสนใจในกิจกรรมกับกลุ่ม การใช้ภาษาเพื่อค้นหาข้อมูล เด็กมีความต้องการที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว จึงใช้ภาษาในรูปแบบของการถามคำถาม เด็กใช้ภาษาในการคิดจินตนาการ เป็นการใช้ภาษาในลักษณะของการเล่นสมมติ หรือเล่นจินตนาการ เช่น การเล่นบทบาทเป็นตำรวจ หมอ ชาวนา และใช้ภาษาเพื่อแสดงบทบาทของอาชีพนั้น ๆ เด็กใช้ภาษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นการใช้ภาษาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แตกต่างกันที่ประสบการณ์จะเป็นไปตามประสบการณ์ที่เด็กคิดและรับรู้

ภาษาจึงเป็นเครื่องสำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ภาษาช่วยให้เด็กรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เมื่อเด็กรับรู้ผ่านทางภาษาเด็กจะทำความเข้าใจและพยายามตอบสนองอย่างเหมาะสม เด็กเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมกับการเรียนรู้คำศัพท์และความคิดรวบยอด เมื่อรู้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เด็กสามารถขยายการเรียนรู้คำศัพท์ที่มีความยากและวับซ้อนมากขึ้น ทั้งในการเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์นั้น และเด็กจะเรียนรู้ความคิดรวบยอดทางภาษาอย่างง่าย นำไปสู่ความคิดรวบยอดที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดีขึ้น ดังนั้นความสามารถในการใช้ภาษาจึงเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดทางไปสู่ความรอบรู้ทางด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและพัฒนาชีวิตไปพร้อมๆกัน ซึ่ง ศรียา นิยมธรรม.(2550:43). ได้กล่าวว่า ทฤษฎีของนักจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (Psycholinguistics) ชอมสกี้ (Chomsky, 1957) นักภาษาศาสตร์ ชาวอเมริกัน เขาเชื่อว่าภาษาเป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์ การเรียนรู้เป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องคำนึงถึงโครงสร้างใน ตัวเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับโครงสร้างในการเรียนรู้ภาษา (Language Acquisition Device) เรียกว่า แอล เอดี (L.A.D.) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ เครื่องมือในการสร้างสมมติฐาน ลักษณะสากลทางภาษา และการประเมิน ซึ่งนำไปใช้ในการรับรู้ ข้อมูลทางภาษาด้านคำศัพท์ กฎเกณ์ทางไวยากรณ์ทางภาษา เป็นการเรียนรู้ความหมายของประโยค โครงสร้างที่เป็นสิ่งที่เหมาะสมเฉพาะสำหรับใช้กระบวนการทางภาษาของเด็ก ซึ่ง แมคนีล (McNeil, 1970)ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาจากการรับกลุ่มคำหรือประโยคแล้วสร้างระบบไว้ยากรณ์ขึ้นโดยใช้ เครื่องมือการเรียนรู้ภาษาที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ได้แก่ อวัยวะเกี่ยวกับการพูดและฟัง จากนั้นใช้ ความสามารถทางสมองเปลี่ยนแปลงประโยคที่ได้ยินโดยการลดเสียง ลดคำ เปลี่ยนที่และแทนที่ การเปลี่ยนแปลงที่มีทุกภาษา แต่สามารถมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน เด็กจะใช้ความสามารถ ของตนสร้างไวยากรณ์โดยอัตโนมัติ มุมมองจะต้องข้ามกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมในระดับที่ไม่เห็น ความสำคัญของปฏิสัมพันธ์จากผู้ให้ในการพัฒนาภาษาเด็ก และเด็กจะเรียนโครงสร้างของประโยค โดยการตั้งสมมติฐาน แล้วสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ เด็กจะเรียนรู้ได้อัตโนมัติว่าลักษณะสากล ของภาษาที่อยู่รอบตัวเด็กมีทั้งระบบที่ฐานและระดับลึก เด็กจึงเรียนรู้ในการตัดสินเลือกใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องที่สุดจนทำให้เด็กเกิดความรู้ภาษาในลักษณะกฎทางไวยากรณ์ ที่ เลนเบริ์ก (Leneberg, 1980 cited in Brown, 1980, p. 21) เป็นผู้นำทฤษฎีของชอมสกีมา อธิบายเพิ่มในมุมมองทางชีววิทยา โดยเชื่อว่ามนุษย์มีอวัยวะที่พร้อมในการเรียนรู้นั่นคือ สมอง เลนเบริ์ก เชื่อว่าเด็กเกิดมาด้วยความสามารถทางภาษาและการเรียนรู้ภาษาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ที่เด็กได้รับตราบใดที่เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางภาษาพูด เด็กจะพัฒนาการพูดอย่างอัตโนมัติ การอธิบายการเรียนรู้ภาษาของเด็กตามแนวคิดนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่เพียงพออธิบายได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากมุ่งเน้นเพียงกฎไวยากรณ์ ขาดการพัฒนาเกี่ยวกับบริบท และสิ่งแวดล้อมในการใช้ภาษาการพูดจะต้องอาศัยทฤษฎี แนวคิดและหลักการต่าง ๆ จากที่ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งพัฒนาการทางการพูดของเด็กนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเด็กจะอาศัยการเรียนแบบและการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมของเด็ก ซึ่งมีความแตกต่างกัน ไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในตัวเด็กเองและจากปัจจัยภายนอกที่แวดล้อมตัวเด็ก ที่ กณิการ์ พงศพันธุ์.(2553:19). ได้กล่าวว่า การพูดเป็นทักษะทางภาษาที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการที่จะ สื่อสารให้กับผู้อื่นได้รู้และเข้าใจในความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยบุคคลที่ใกล้ชิดูและเกี่ยวข้องมีความรู้และมีเทคนิคที่จะส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูด รู้จักการเรียงลำดับการพูดเรื่องราวต่าง ๆ ได้ตามลำดับก่อนหลังจะเป็นการสื่อสารและเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการให้กับผู้อื่นได้เข้าใจอย่างถูกต้องและการสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใดการแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกันบริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

จากปัญหาดังกล่าวว่าผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย โดยการใช้การจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยประสบการณ์ที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจมสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นได้ด้วย ตนเองเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษามีความมั่นใจในการใช่ภาษาในการพูดและเรียนอย่างมี ความสุข การสอนภาษา ควรจะเป็นประสบการณ์ ที่ทำให้เด็ก ได้มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อนและครูปฏิสัมพันธ์นี้จะเป็นไปในทางสนับสนุน ให้กำลังใจ ช่วยเหลือและส่งเสริมซึ่งกันและกันเด็กจะ เรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษาซึ่งมีผู้ศึกษาซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะได้นำไปเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัด การศึกษาระดับปฐมวัยตลอดจนนำกิจกรรมไปจัดเพื่อพัฒนาประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยเกี่ยวกับ การส่งเสริมทักษะการพูด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญอีกด้านหนึ่งของเด็กปฐมวัย