ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการหาคุณภาพ

ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการหาคุณภาพ

3.1 การจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL จำนวน 20 แผน

3.2 คู่มือการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL จำนวน 20 แผน จำนวน 20 กิจกรรม

3.3 แบบประเมินวัดความทักษะการพูดจำนวน 2 ชุด

4.1 การสร้างแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBLผู้วิจัยได้ดำเนิน ตามขั้นตอนดังนี้

4.1.1 ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมชั้นอนุบาล 2 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (กระทรวงศึกษาธิการ 2560:2) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL

4.1.2 ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL (ศรีสุดา จริยากุล : 2558) เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างแผนชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตาม แนวคิดภาษาธรรมชาติ

4.1.3 กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL จำนวน 20 กิจกรรมโดยกำหนดจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ การดำเนินกิจกรรม สื่อที่ใช้ ในการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL และประเมินผล

4.1.4 ดำเนินการการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาทีในช่วงเวลา 9.20 น. รวม 20 แผน โดยกำหนดจุดประสงค์ เนื้อหา การจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยผู้วิจัยได้กำหนด ขั้นตอนไว้ดังนี้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ครูพาเด็กร้องเพลงหรือทำ กิจกรรม เช่น ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนรู้ ก่อนการเริ่มลงมือเรียนรู้ในกิจกรรมที่ครูเตรียมมาเพื่อเตรียมเด็กให้เข้าใจพร้อมที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ สิ่งที่ครูจะให้ทำกิจกรรม ซึ่งการทำกิจกรรมก่อนการเรียนรู้เป็นการเตรียมสมอง ควบคุมอารมณ์ของ เด็กให้อยู่ในความพร้อมที่จะเรียนรู้

ขั้นประกอบกิจกรรม

1. ครูจะสร้างข้อตกลงกับเด็ก ๆ ในการปฏิบัติทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครูกำหนด เช่น เมื่อทำ กิจกรรมเสร็จแล้วเด็ก ๆ ทุกคนต้องช่วยกันเก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย เด็ก ๆ ทุกคน จะต้องร่วมมือกันทำงานให้งานเสร็จออกมาภายในระยะเวลาที่กำหนดในกิจกรรม และเด็ก ๆ ทุกคน จะต้องไม่แกล้งผู้อื่น ซึ่งการทำความสะอาดช่วยกันเก็บอุปกรณ์จะช่วยให้สมองของเด็กเกิดการจัดระบบความเป็นระเบียบเรียบร้อย

2. ครูจะให้เด็กเริ่มทำกิจกรรมโดยการครูจะให้เด็กนั่งเป็นรูปตัวยูครูนำ บัตรภาพบัตรคำที่เตรียมมามาให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ในแต่ละหน่วยที่จะเรียน

ขั้นสรุปผลการเรียน

3. เมื่อเด็กเรียนรู้คำศัพท์ในแต่ละหน่วยที่เรียนครบแล้ว ครูให้เด็กออกมาอ่านคำศัพท์ให้เพื่อนและครูฟังหน้าห้องเรียนทีละคน

4. เมื่อเด็กอ่านคำศัพท์ได้แล้ว ครูให้เด็กเลือกบัตรภาพบัตรคำที่ตนเองสนใจมา 1 บัตร แล้วให้แต่งประโยคให้เพื่อนและครูฟังหน้าห้องเรียนทีละคน

5. ให้เด็กร่วมกันนำบัตรภาพบัตรคำทั้ง 5 บัตรมาช่วยกันแต่งเป็นนิทาน 1 เรื่อง

4.1.5 นำแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL ที่สร้างขึ้นไปให้ที่ปรึกษาเพื่อตรวจความถูกต้องและปรับปรุงให้เรียบร้อย

4.1.6 นำแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL ซึ่ง ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจพิจารณาถึงความเหมาะสม ความสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ ตลอดจนการใช่สื่อ อุปกรณ์ และการดำเนินการจัดกิจกรรม ซึ่งมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้

1. นางสาวพรภิมล สุขสานต์

2. นางสาวเมธานัน คำยิ่ง

3. นางสาวปทิตตา กันพรมมา

ในการพิจารณาการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL

ครั้งนี้เป็นการใช้ตัวเลขแทนระดับความคิดเห็นโดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ (อนุวัติ คูณ แก้ว.2555:133)

5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง

4 หมายถึง เห็นด้วย

3 หมายถึง ไม่แน่ใจ

2 หมายถึง ไม่เห็นด้วย

1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

4.1.7 นำแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วมาหาค่าเฉลี่ย โดยเปรียบเทียบเกณฑ์ที่มีลักษณะการประเมิน เป็นมาตรา ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) ซึ่งมี 5 ระดับ (อนุวัติ คูณแก้ว.2555:133) ดังนี้

ช่วงคะแนน 4.51-5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด

ช่วงคะแนน 3.51-4.50 หมายถึง ระดับมาก

ช่วงคะแนน 2.51-3.50 หมายถึง ระดับปานกลาง

ช่วงคะแนน 1.51-2.50 หมายถึง ระดับน้อย

ช่วงคะแนน 1.00-1.50 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด

ซึ่ง ค่าเฉลี่ยที่ได้มาอยู่ที่ 3.2-4.2 อยู่ในเกณฑ์ ระดับมาก โดยผู้เชี่ยวชาญให้ปรับปรุงรายละเอียดดังนี้

4.1.8 นำการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL ที่ปรับปรุงแล้วไปทดลอง (Try Out) กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายอายุ 4-5 ปี ที่เป็นระดับเดียวกัน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านห้วยสวิง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ได้ผลดังนี้

4.1.9 นำแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL มา ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและจัดพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างต่อไป

4.2 คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL ผู้วิจัยได้ ดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้

4.2.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL (ศรีสุดา จริยากุล 2551 : 672) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างคู่มือการจัด กิจกรรมชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติ

4.2.2 เตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL และดำเนินกำสร้างคู่มือโดยมีขั้นตอน จำนวน 4 หน่วย

1. กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์

2. กำหนดหน่วยการสอน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยที่ครูจะสามารถถ่ายทอดให้นักเรียนแต่ละครั้ง

3. กำหนดหัวเรื่อง

4. กำหนดมโนคติและหลักการ

5. กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง

6. กำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

7. กำหนดแบบประเมินผล

8. เลือกและผลิตสื่อการสอน วัสดุ อุปกรณ์

9. หาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม

10. การใช้การจัดกิจกรรม ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ คือให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นประกอบกิจกรรม ขั้นสรุปผลการเรียน และทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อดูพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ได้เปลี่ยนไป ดำเนินกำสร้างคู่มือโดยมีขั้นตอน จำนวน 4 หน่วย

หน่วยที่ 1 อาชีพในฝัน

หน่วยที่ 2 ผลไม่น้ารู้

หน่วยที่ 3 หน่วยผักแสนอร่อย

หน่วยที่ 4 สัตว์โลกน่ารู้

4.2.3 นำไปให้ที่ปรึกษาเพื่อตรวจความถูกต้องและปรับปรุงให้เรียบร้อย

4.2.4 นำคู่มือการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจหาความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมชุดกิจกรรมบัตรภาพ บัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติพูดถึงข้อมูลนวัตกรรม ดังนี้

1. นางสาวพรภิมล สุขสานต์

2. นางสาวเมธานัน คำยิ่ง

3. นางสาวปทิตตา กันพรมมา

ในการพิจารณาคู่มือการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL เป็นการใช้ตัวเลขแทนระดับ ความคิดเห็น โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ (อนุวัติ คูณแก้ว.2555:133)

5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง

4 หมายถึง เห็นด้วย

3 หมายถึง ไม่แน่ใจ

2 หมายถึง ไม่เห็นด้วย

1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

4.2.5 คู่มือการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL ที่ผ่าน การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย โดยเปรียบเทียบเกณฑ์ที่มีลักษณะการประเมิน เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของ ลิเคร์ท (Likert) ซึ่งมี 5 ระดับ (อนุวัติ คูณ แก้ว.2555:133) ดังนี้

ช่วงคะแนน 4.51-5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด

ช่วงคะแนน 3.51-4.50 หมายถึง ระดับมาก

ช่วงคะแนน 2.51-3.50 หมายถึง ระดับปานกลาง

ช่วงคะแนน 1.51-2.50 หมายถึง ระดับน้อย

ช่วงคะแนน 1.00-1.50 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด

ซึ่ง ค่าเฉลี่ยที่ได้มาอยู่ที่ 3.8 – 4 อยู่ในเกณฑ์ ระดับมาก โดยผู้เชี่ยวชาญให้ปรับปรุงรายละเอียด

ดังนี้

4.2.6 นำคู่มือการวิจัยเรื่องการจัดกิจกรรมตามแนวคิดแบบภาษาธรรมชาติบูรณาการกับฺ BBL เพื่อพัฒนาทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัยไปทดลองใช้ (Try Out) กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ใช้กลุ่มเป้าหมายอายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสวิง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน

4.2.7 ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและจัดพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปทดลองกับกลุ่ม เป้าหมายต่อไป

4.3 การสร้างแบบประเมินวัดทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้

4.3.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย (กณิการ์ พงศ์พันธ์สุถาพร 2553 : 18 ) เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบแบบประเมินทักษะการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย

4.3.2 การสร้างแบบประเมินวัดทักษะการพูด และคู่มือการวัดทักษะการพูดสำหรับเด็ก ปฐมวัย ให้ควบคุมเนื้อหาที่ใช้วัดทักษะการพูดโดยแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. แบบการพูด สร้างโดยใช้แบบประเมินคำศัพท์เกี่ยวกับภาพ

2. แบบการตอบคำถาม สร้างโดยใช้แบบประเมินสอนภาพสถานการณ์ต่าง ๆ

โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนของแบบการพูด ดังนี้

ทำถูกได้ 1 คะแนน

ทำผิดได้ 0 คะแนน

โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนของแบบการตอบคำถาม ดังนี้

ทำถูกได้ 1 คะแนน

ทำผิดได้ 0 คะแนน

4.3.3 นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นไปให้ที่ปรึกษาเพื่อตรวจความถูกต้องและปรับปรุง

ให้เรียบร้อย

4.3.4 นำแบบประเมินวัดทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยและคู่มือการวัดทักษะการพูด ของ เด็กปฐมวัยต่อผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัด การศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบหาความเที่ยงตรง (IOC) ความเหมาะสม การใช้ ภาษาและเพื่อให้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสมารถประเมินได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการดังนี้

1. นางสาวพรภิมล สุขสานต์

2. นางสาวเมธานัน คำยิ่ง

3. นางสาวปทิตตา กันพรมมา

4.3.5 นำแบบประเมินวัดทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยที่ผ่านการตรวจสอบจาก ผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าเฉลี่ยความเที่ยงตรงของแบบทดสอบ IOC โดยใช้สูตร (ล้วน สายยศ และอังคุณา สายยศ.2538:59) โดยใช้เกณฑ์ ดังนี้

ให้คะแนน +1 หมายถึง ข้อคำถามวัดได้ตรงตามจุดประสงค์นั้น

ให้คะแนน 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามจุดประสงค์นั้น

ให้คะแนน -1 หมายถึง ข้อคำถามวัดไม่ได้ตรงตามจุดประสงค์นั้น

เกณฑ์ในการคัดเลือกข้อสอบที่นำไปใช้ในการวิจัยข้อสอบที่ใช้ได้ คือข้อสอบที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

ซึ่งคะแนนข้อที่ใช้ได้มีจำนวน 20 ข้อโดยมีค่าความเที่ยงตรงอยู่ในระดับ 0.5 ขึ้นไป และข้อที่ใช้ไม่ได้มีจำนวน - ข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะและให้ปรับแก้ ดังนี้

4.3.6 นำแบบประเมินวัดทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารของเด็กปฐมวัยไปทดลองใช้ (Try Out) กับเด็ก ปฐมวัยที่ใช่กลุ่มตัวอย่างอายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยสวิง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน

4.3.7 นำแบบประเมินวัดทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารมาวิเคราะห์เป็นรายข้อ ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์

4.3.8 ค่าความยากง่าย คะแนนที่ได้อยู่ระหว่าง 0.58 - 0.69 ซึ่งคะแนนที่ได้มานี้สามารถใช้ได้จำนวน 20 ข้อ เพราะมีค่าอยู่ในระหว่าง 0.20 – 0.80

4.3.9 ค่าอำนาจจำแนก คะแนนที่ได้มาอยู่ในระหว่าง 0.22 - 0.38 ซึ่งคะแนนที่ได้มานี้สามารถใช้ได้จำนวน 20 ข้อ เพราะมีค่าอยู่ในระหว่าง 0.20 – 0.80

4.3.10 ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR20 คูเดอร์ - ริชาร์สัน Ckuder-Richerdson (อนุวัติ คูณแก้ว. 2555:148)

4.3.11 แบบประเมินวัดทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและจัดพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายต่อไป