ตัวอย่างอภิปรายผล

ตัวอย่าง


อภิปรายผลการวิจัย

1.ผลจากการศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่ากิจกรรมชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำช่วยในการส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุ 4-5 ปี ระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านช้างตะลูด จำนวน 1 ห้องเรียนมีเด็กปฐมวัยทิ้งสิ้นรวม 10 คน เป็นหญิง 3 คน และเป็นเด็กชาย 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงโดยในสัปดาห์ที่ 1 ผู้วิจัยจัดกิจกรรมชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย สัปดาห์ที่ 1 อาชีพในฝัน สัปดาห์ที่ 2 ผลไม่น้ารู้ สัปดาห์ที่ 3 หน่วยผักแสนอร่อยและสัปดาห์ที่ 4 สัตว์โลกน่ารู้ ซึ่งในแต่ละวันจะจัดกิจกรรมโดยจะให้เด็กนั่งเป็นรูปตัวยูแล้วครูนำบัตรภาพบัตรคำที่เตรียมมามาให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ในแต่ละหน่วยที่จะเรียน ให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์โดยครูอ่านให้เด็กฟังก่อน จากนั้นให้เด็กออกมาอ่านคำศัพท์ให้เพื่อนและครูฟังหน้าห้องเรียนทีละคน เมื่อเด็กอ่านคำศัพท์ได้แล้ว ครูให้เด็กเลือกบัตรภาพบัตรคำที่ตนเองสนใจมา 1 บัตร แล้วให้แต่งประโยคให้เพื่อนและครูฟังหน้าห้องเรียนทีละคนเมื่อเด็ก ๆแต่งประโยคเสร็จ เด็กและครูร่วมกันแต่งนิทานจากบัตรภาพบัตรคำจำนวน 5 บัตร และเมื่อสาธิตเสร็จแล้วจึงให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์และอ่านคำศัพท์ในหน่วยที่จะจัดให้แต่ละสัปดาห์ โดยดำเนิดการตามแผนการจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 1 อาชีพในฝัน วันจันทร์ผู้วิจัยได้เตรียมบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 3 คำ พบว่าเด็ก ๆอ่านคำศัพท์ตามและให้สนใจบัตรภาพบัตรคำเป็นอย่างมาก เด็ก ๆทุกคนตื่นเต้นกับบัตรภาพบัตรคำที่ได้เตรียมมาผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนบัตรภาพบัตรคำวันละ 1 บัตร วันอังคารนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 4 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพุธนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 5 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพฤหัสบดีให้เด็กเลือกบัตรภาพบัตรคำคนละ 1 บัตรแล้วแต่งประโยคทีละคน วันศุกร์ให้เด็กร่วมกันนำบัตรภาพบัตรคำทั้ง 5 บัตรมาช่วยกันแต่งเป็นนิทาน 1 เรื่อง เมื่อและครูทำการเล่านิทานเสร็จสิ้นลง ครูก็ขออาสาสมัครออกมาทำการเล่า เกี่ยวกับนิทานว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ในเรื่องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพื่อให้เด็ก ๆได้เกิดทักษะทางภาษาด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัย สัปดาห์ที่ 2 ผลไม่น้ารู้ วันจันทร์ผู้วิจัยได้เตรียมบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 3 คำ พบว่าเด็ก ๆอ่านคำศัพท์ตามและให้สนใจบัตรภาพบัตรคำเป็นอย่างมาก เด็ก ๆทุกคนตื่นเต้นกับบัตรภาพบัตรคำที่ได้เตรียมมาผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนบัตรภาพบัตรคำวันละ 1 บัตร วันอังคารนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 4 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพุธนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 5 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพฤหัสบดีให้เด็กเลือกบัตรภาพบัตรคำคนละ 1 บัตรแล้วแต่งประโยคทีละคน วันศุกร์ให้เด็กร่วมกันนำบัตรภาพบัตรคำทั้ง 5 บัตรมาช่วยกันแต่งเป็นนิทาน 1 เรื่อง เมื่อและครูทำการเล่านิทานเสร็จสิ้นลง ครูก็ขออาสาสมัครออกมาทำการเล่า เกี่ยวกับนิทานว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ในเรื่องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพื่อให้เด็ก ๆได้เกิดทักษะทางภาษาด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัย สัปดาห์ที่ 3 หน่วยผักแสนอร่อย วันจันทร์ผู้วิจัยได้เตรียมบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 3 คำ พบว่าเด็ก ๆอ่านคำศัพท์ตามและให้สนใจบัตรภาพบัตรคำเป็นอย่างมาก เด็ก ๆทุกคนตื่นเต้นกับบัตรภาพบัตรคำที่ได้เตรียมมาผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนบัตรภาพบัตรคำวันละ 1 บัตร วันอังคารนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 4 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพุธนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 5 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพฤหัสบดีให้เด็กเลือกบัตรภาพบัตรคำคนละ 1 บัตรแล้วแต่งประโยคทีละคน วันศุกร์ให้เด็กร่วมกันนำบัตรภาพบัตรคำทั้ง 5 บัตรมาช่วยกันแต่งเป็นนิทาน 1 เรื่อง เมื่อและครูทำการเล่านิทานเสร็จสิ้นลง ครูก็ขออาสาสมัครออกมาทำการเล่า เกี่ยวกับนิทานว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ในเรื่องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพื่อให้เด็ก ๆได้เกิดทักษะทางภาษาด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัย สัปดาห์ที่ 4 สัตว์โลกน่ารู้ วันจันทร์ผู้วิจัยได้เตรียมบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 3 คำ พบว่าเด็ก ๆอ่านคำศัพท์ตามและให้สนใจบัตรภาพบัตรคำเป็นอย่างมาก เด็ก ๆทุกคนตื่นเต้นกับบัตรภาพบัตรคำที่ได้เตรียมมาผู้วิจัยได้เพิ่มจำนวนบัตรภาพบัตรคำวันละ 1 บัตร วันอังคารนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 4 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพุธนำบัตรภาพบัตรคำมาให้เด็กดูและและอ่านให้เด็กฟังแล้วให้เด็กอ่านตามจำนวนอ่าน 5 คำ (เพิ่มคำศัพท์จากเดิม 1 คำ) วันพฤหัสบดีให้เด็กเลือกบัตรภาพบัตรคำคนละ 1 บัตรแล้วแต่งประโยคทีละคน วันศุกร์ให้เด็กร่วมกันนำบัตรภาพบัตรคำทั้ง 5 บัตรมาช่วยกันแต่งเป็นนิทาน 1 เรื่อง เมื่อและครูทำการเล่านิทานเสร็จสิ้นลง ครูก็ขออาสาสมัครออกมาทำการเล่า เกี่ยวกับนิทานว่า มีตัวละครอะไรบ้าง ในเรื่องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพื่อให้เด็ก ๆได้เกิดทักษะทางภาษาด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นด้วยการจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ สุภา บุญพึ่ง.(2558:47). ได้ศึกษาการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ ที่สอคล้องกับการพัฒนาสมอง การสอนภาษาแบบธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาแบบบูรณาการประกอบไปด้วยทักษะการฟังพูดอ่านเขียนที่พัฒนาไปพร้อมกันโดยไม่แยกส่วนและเป็นการจัดประสบการณ์ทางภาษาที่ส่งเสริมการคิด การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และยังสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. (2557). ได้กล่าวว่า การสื่อสารมีความสำคัญ ดังนี้

1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสารทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงานการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลาพัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคมช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคมช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีสะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรืองวิถีชีวิตของผู้คนช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคมการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ พลัมพ์ ลี. (2559). การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจาวันในวันหนึ่งเราใช้การสื่อสารตลอดเวลา ทั้งการสื่อสารกับตนเอง การสื่อสารกับผู้อื่นตั้งแต่บุคคลในครอบครัว กลุ่มเพื่อน ผู้ร่วมงาน และทุกกิจกรรมในการดำรงชีวิตก็ต้องใช้การสื่อสารทั้งนั้น ความสำคัญต่อความเป็นสังคมมนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมได้ตั้งแต่สังคมเล็กระดับครอบครัวจนถึงสังคมที่ใหญ่ระดับประเทศและระดับโลกได้ก็เพราะอาศัยการสื่อสารเป็นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทานและแบบวัดพัฒนาการทางการพูดที่ใช้การวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นแบบวัดทั้งฉบับ ได้ค่าเท่ากับ .86 ในการศึกษาใช้แบบการวิจัยแบบ One – Group Pretest – Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t – test แบบ Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทาน มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

2. ผลการเปรียบเทียบเด็กปฐมวัยมีทักษะการฟังและพูดหลังการจัดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำเน้นภาษาทั้งโดยรวมแลรายด้านมีการเปลี่ยนแปลงทักษะการฟังและพูดสูงขึ้น โดยก่อนการจัดกิจกรรมเล่านิทานภาษาอยู่ในระดับปานกลางและหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานเน้นภาษาอยู่ในระดับดี เช่นเดียวกับ ภคภรณ์ เกิดผล (2553) ได้ศึกษางานวิจัยเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและเพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ซึ่งสามารถส่งเสริมพฤติกรรมรักการอ่านของนักเรียนได้ คะแนนพฤติกรรมรักการอ่าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.10 และมีพฤติกรรมรักการอ่านอยู่ในระดับดีมาก

2.1 ผลจากการการเปรียบเทียบคะแนนทักษะ ฟัง โดยรวมแสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง พบว่าก่อนจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าร้อยละ 47.00 หลังจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าร้อยละ 78.00 ส่งผลให้มีคะแนนการพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารด้านการฟังสูงโดยรวมสูงขึ้นโดยมีค่าร้อยละ 31.00 แสดงว่าเด็กมีทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารด้านการฟังสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม

2.2 ผลจากการการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการพูด การจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมที่สามารถดึงดูดความสนใจเด็กปฐมวัย เด็กสามารถอ่านคำศัพท์ และการสังเกตการเปรียบเทียบสัญลักษณ์และคำศัพท์ ซึ่งสอดคล้อง สุภา บุญพึ่ง (2557:16) กล่าวว่า ภาษาเป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญของมนุษย์ชาติภาษามีความสำคัญในการสื่อสารและสร้างสรรค์สังคมให้ก้าวหน้าโดยเฉพาะการเรียนรู้ในสังคมปัจจุบันภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการแสวงหาความรู้ข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆเด็กปฐมวัยที่จะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้าจึงจำเป็นจะต้องมีพื้นฐานและทักษะทางภาษาที่ดีและหลากหลายเพื่อจะได้สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ดีในสังคมไร้พรมแดน รติรัตน์ คล่องแคล่ว (2558 : 56 ) กล่าวว่า การพูดเป็นการแสดงถึงความรู้สึกจากการได้ฟังและสื่อสารถ่ายทอดอออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจสามารถแสดงออกมาในลักษณะ ความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ ความรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยใช้น้ำเสียงเป็นสื่อในการอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจอารีย์ คำสังฆะ (2559:9) กล่าวว่า ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษา ทำให้ทราบถึงการเรียนรู้ภาษาของเด็กที่เกิดจากหลายด้าน ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยา การเล่นเสียง การเลียนแบบ การหัดเปล่งเสียงแบบต่าง ๆ และสิ่งที่สำคัญคือ การตอบสนองจากบุคคลใกล้ชิดด้วยการโต้ตอบ ให้การเสริมแรงและเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาโดยรวมก่อนจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านการพูดมีค่าร้อยละ 50.00 หลังการจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าร้อยละ 80.00 ส่งผลให้มีคะแนนการพัฒนาทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารด้านการพูดโดยรวมสูงขึ้นโดยมีค่าร้อยละ 90.00 แสดงว่าหลังจากการจัดชุดกิจกรรมบัตรภาพบัตรคำตามแนวคิดภาษาธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กมีทักษะภาษาเพื่อการสื่อสารด้านการพูดสูงขึ้นกว่าก่อนการจักกิจกรรม