การเขียนอภิปรายผล

ปภากร สุวรรณธาดา. (2558 : 2).ได้กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการอภิปรายผล ได้แก่

1. ผู้วิจัยควรแสดงให้ผู้อ่านทราบว่าศึกษาในเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อย่างไร อย่างรู้อะไร มีสมมุติฐานหรือไม่ ถ้ามีแล้วสมมุติฐานคืออะไร

2. ผู้วิจัยควรแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า ได้อะไรจากการศึกษาหรือการวิจัยนี้ ได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง

3. ผู้วิจัยควรแสดงให้เห็นเพิ่มเติมว่าทำไมผลการวิจัยจึงเป็นอย่างนั้น ในบางกรณีอาจเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายตรงๆว่าทำไมผลการวิจัยจึงเป็นแบบนั้น อย่างน้อยที่สุดผู้วิจัยควรแสดงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์หรือองค์ประกอบบางอย่างที่อาจส่งผลต่อผลการวิจัย

4. ผู้วิจัยควรแสดงให้เห็นถึงความหนักแน่นของผู้วิจัยที่จะยืนยันผลการวิจัย หรือไม่ยืนยันผลการวิจัย

5. ผู้วิจัยควรจะต้องแปรผลการวิจัยออกมาในรูปแบบเชิงบรรยายหรืออธิบายความ หากสามารถแสดงให้เห็นถึงวิธีการนำผลการวิจัยไปใช้ประกอบด้วยก็จะเป็นการดี ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้วิจัยสามารถทำการประเมินผลหรืออภิปรายผลการวิจัยได้ง่ายขึ้น ชัดเจนมากขึ้น มองประเด็นต่างๆได้กว้างขึ้นหรือให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย

6. ผู้วิจัยจะต้องประเมินผลการวิจัยที่ได้ โดยควรใช้ผลการวิจัยในรูปแบบที่ได้มีการแปรความไปแล้ว โดยประเมินผลการวิจัยกับแนวคิด ทฤษฎี หรือบทความ ตามที่ได้ทบทวนวรรณกรรมไว้แล้ว ในรูปแบบที่โดยทั่วไปมักนิยมใช้คำว่า สอดคล้องกับ........ หรือ ไม่สอดคล้องกับ.......... ทั้งนี้ความสอดคล้องนั้นอาจเป็นความสอดคล้องกันในบางส่วนกับแนวคิดหรอทฤษฎีก็ได้ นอกจากนี้แล้วผู้วิจัยอาจแสดงให้เห็นถึงความเห็นของผู้วิจัยหรือมีการวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงผลการประเมินนั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่มากเกินไปเพราะเป็นเพียงแค่ส่วนเสริมเพื่อสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมเท่านั้น

7. ผู้วิจัยควรเลือกใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่ายในการอภิปรายผล เนื่องจากเป็นส่วนที่ผู้อ่านควรเข้าใจได้ง่าย และในส่วนอื่นๆของงานวิจัยเช่น ผลการวิจัย หรือ วิธีการวิจัย อาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาวิชาการหรือภาษาทางสถิติ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ยาก ดังนั้นในส่วนของการอภิปรายผลควรทำให้เข้าใจได้ง่ายจะทำงานวิจัยนั้นน่าอ่านมากขึ้น

8. ผู้วิจัยจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง และรักษาจรรยาบรรณของผู้วิจัยเอาไว้

9.ในการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยจะต้องทบทวนให้ครอบคลุมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยให้มาก โดยให้สามารถนำมาใช้ในการอภิปรายผลได้

10.ในการอภิปรายผลการวิจัยนั้น การสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายนั้นมีความสำคัญ ผู้วิจัยควรลำดับเนื้อหาต่างๆให้เป็นลำดับ เป็นขั้นเป็นตอน อย่าให้สับสนหรือเขียนวกวนไปมา

11. ผู้วิจัยควรเลือกให้น้ำหนักกับผลการวิจัยที่มีความสำคัญหรือส่วนที่มีประเด็นที่น่าสนใจแล้วนำมาใช้ในการอภิปรายผล จะทำให้งานมีจุดน่าสนใจ ไม่ควรนำผลการวิจัยทั้งหมดมาอภิปรายเพราะจะทำให้งานขาดความน่าสนใจ

ทองสง่า ผ่องแผ้ว. (2557). ได้กล่าวว่า จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจนำมาอภิปรายผล ดังนี้

แบบที่ 1 ให้นำการอธิบายเหตุผล หลังสรุปผลการวิจัย

1. กรณีสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)... สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยเท่านั้นมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..

2. กรณีไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)... สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..

แบบที่ 2 ให้นำการอธิบายความสอดคล้องกับผลการวิจัย หลังสรุปผลการวิจัย

1. กรณีสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้.. สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยหรือศึกษาเท่านั้นมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)...

2. กรณีไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้..(สรุปผลการวิจัยข้อ ...)...............ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้.. สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ .....(ยกงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลการวิจัยหรือศึกษาเท่านั้นมาเขียนจากบทที่ 2 หัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)..ทั้งนี้เพราะ/อาจเป็นเพราะ ...(อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ ลักษณะที่เกิดผลดังกล่าว มีการอ้างอิงทฤษฏี กล่าวถึงความสำคัญของผลการวิจัยและความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม)...

สาธิต เชื้ออยู่นาน. (2560 : 3). ได้กล่าวว่า แนวทางการเขียนการอภิปรายผลการวิจัยตามสมมติฐานนั้น งานวิจัยที่เข้ามาตรฐานทางวิชาการ จะต้องมีสมมติฐานเพื่อกำหนดตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล โดยหลักการเขียนอภิปรายผลตามสมมติฐานการวิจัยที่สำคัญจากการศึกษาและรวบรวมเอกสารสามารถ สรุปเป็นแนวทางการและหลักการเขียนอภิปรายผลตามสมมติฐานได้ดังนี้

1. การอภิปรายผลตามสมมติฐาน การเขียนอภิปรายผลประเภทนี้นักวิจัยต้องมุ่งเสนอข้อค้นพบที่ สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้และนักวิจัยต้องเขียนการอภิปรายผลการวิจัยให้สอดคล้องกับ รายงานที่เขียนในส่วนของผลการวิจัย ซึ่งการเขียนอภิปรายผลการวิจัยตามสมมติฐานมักจะนำเสนอตามจำนวนข้อสมมติฐานวิจัยและมีส่วนสำคัญ 4 ประการ คือ 1) การเขียนแสดงสมมติฐานการวิจัยที่ นักวิจัยได้ตั้งไว้ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูล 2) การเขียนรายงานผลการวิจัยด้วยวิธีการเขียนนำเสนอผลการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ค้นพบจริงด้วยความซื่อสัตย์และหลักจรรยาบรรณ ซึ่งการเขียนรายงานผลการวิจัยนี้นักวิจัยจะต้องเขียน ผลการทดสอบสมมติฐานที่ค้นพบพร้อมทั้งบอกนัยสำคัญที่ค้นพบว่าไม่มีนัยสำคัญหรือมีนัยสำคัญที่ระดับใด ซึ่งการบอกระดับนัยสำคัญจะมีผลต่อการตีความความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยและยังบ่งบอกถึงความเสี่ยงความ ผิดพลาดในการตัดสินใจของสมมติฐานการวิจัย กล่าวคือ ถ้าหากผลการวิจัยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ .01 หมายถึง ความเสี่ยงการตัดสินใจที่จะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานนั้นมีความเสี่ยงที่จะผิดพลาด ร้อยละ 1 หรือถ้าหากผลการวิจัยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 หมายถึง ความเสี่ยงการตัดสินใจที่ จะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานนั้นมีความเสี่ยงที่จะผิดพลาดร้อยละ 5 นั่นเอง ซึ่งการเขียนรายงานการวิจัย พร้อมทั้งบอกระดับนัยสำคัญนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่งเพื่อนำไปใช้ยืนยันผลและการอธิบายความเหมือนหรือความต่าง ของผลการวิจัยกับนักวิจัยท่าน 3) การเขียนสาเหตุของผลการวิจัยที่ค้นพบ เป็นการอธิบายและให้เหตุผล ปรากฏการณ์ของผลการวิจัยที่ค้นพบนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรทำไมผลการวิจัยที่ค้นพบจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งการอธิบาย สาเหตุของการวิจัยเป็นการแสดงให้เห็นศักยภาพนักวิจัยว่า ได้ทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องลุ่มลึกแตกฉานเพียงใด รวมถึงมีความรู้และเข้าใจเรื่องนั้นอย่างผิวเผินหรือไม่ ซึ่งการอธิบายสาเหตุของ ผลการวิจัยที่พบมีหลายวิธี อาทิเช่น การนำสภาพบริบทของหน่วยที่ทำการศึกษาหรือการนำเอาแนวคิดหรือ ทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย (conceptual framework) มาอธิบายประกอบปรากฏการณ์และผล การศึกษานั้น และ 4) การเขียนยืนยันผลการวิจัย เพื่อทำการการเปรียบเทียบผลการวิจัยที่ค้นพบกับผลการวิจัย ของนักวิจัยท่านอื่น เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่างของผลการวิจัยหรือปรากฏการณ์นั้นๆ หากเป็น งานวิจัยเชิงทดลอง งานวิจัยที่จะน ามายืนยันผลการวิจัย ควรมีตัวแปรต้นและตัวแปรตามที่เหมือนกัน แต่ถ้า นักวิจัยไม่สามารถหางานวิจัยดังกล่าวได้ นักวิจัยสามารถหางานวิจัยที่มีตัวแปรต้นที่เหมือนหรือเทียบเคียงกันได้ ส่วนงานวิจัยเชิงสำรวจนั้นงานวิจัยที่จะน ามายืนยันผลการวิจัยจะต้องมีตัวแปรที่ศึกษาเหมือนกัน หากนักวิจัยไม่ สามารถหางานวิจัยยืนยันผลการศึกษาได้ ทางเลือกหนึ่งคือการนำแนวคิดและทฤษฎีที่เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย มายืนยันผลการวิจัย ซึ่งการเลือกงานวิจัยที่นำมาอภิปรายผลการวิจัยนั้นจะต้องเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ

2) การอภิปรายเพื่อการเปรียบเทียบผลการวิจัยที่ค้นพบ นักวิจัยต้องท าการเชื่อมโยงผลงานวิจัย ของนักวิจัยที่ค้นพบ ด้วยวิธีการเปรียบเทียบผลงานวิจัยของนักวิจัยกับผลงานวิจัยของนักวิจัยท่านอื่นที่ทำในอดีต และเชื่อมโยงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการยืนยันองค์ความรู้เดิมและ/หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิม ซึ่งการ อภิปรายผลการวิจัยเพื่อการหาความแตกต่างและความเหมือนของการวิจัยที่ค้นพบนั้น งานวิจัยที่ทันสมัยหรือ งานวิจัยที่ใกล้เคียงกับปีล่าสุดของผลการวิจัยที่ค้นพบจะทำให้การอภิปรายผลมีความทันสมัยและมีความ น่าเชื่อถือมากที่สุด นอกจากนั้นหากงานวิจัยที่ค้นพบไม่เป็นไปตามสมมติฐานหรือมีผลการวิจัยที่ตรงกันข้ามกับ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจะต้องยอมรับและอธิบายความไม่สอดคล้องนั้น โดยปราศจากการเขียนเพื่อการแก้ ตัวเกี่ยวกับผลการวิจัยที่ค้นพบ นักวิจัยควรให้คำอธิบายที่มาภายหลังจากการค้นพบความจริง (after the fact) มากกว่าการตั้งธงคำตอบและการอธิบายเหตุผลไว้ล่วงหน้า เพราะจุดมุ่งหมายของการวิจัยคือการค้นพบมากกว่า การพิสูจน์(Hess.2004)

3) การอภิปรายผลเพื่อนำไปสู่การเขียนข้อจำกัดและข้อเสนอแนะงานวิจัย การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์มีความแตกต่างกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาก เนื่องจากสังคมศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งวัดไม่ได้โดยตรงและควบคุมได้ยาก แต่นักวิจัย ต่างพยายามวัดโดยใช้เครื่องมือวัดทางอ้อม เช่น ใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ ฯลฯ รวมถึงการ วิจัยทางด้านสังคมศาสตร์มักมีแนวทางการวิจัยแบบผสานวิธีการ (สาธิต เชื้ออยู่นาน.2560:1394-1404) นักวิจัย จะเป็นผู้รู้ว่างานของตนนั้นมีจุดอ่อนประเด็นใดและนักวิจัยควรเขียนในส่วนของการอภิปรายผลถึงปัญหาและ ข้อจำกัดของงานวิจัย (the limitation of the study) ซึ่งข้อจำกัดของงานวิจัยนั้น เคอลิงเกอร์ (Kerlinger.1964:694) กล่าวว่าการรายงานข้อจำกัดงานวิจัยนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ตัดสินใจ เรื่องความเที่ยงตรง (validity) ของผลการวิจัยและข้อจำกัดของงานวิจัยที่เขียนจะนำไปสู่การนำเสนอ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไปรวมถึงการนำผลการวิจัยไปใช้โดยการเขียนข้อเสนอแนะจากการวิจัยนั้น นักวิจัยต้องเสนอแนะอยู่บนพื้นฐานของผลการวิจัยโดยปราศจากการเตรียมข้อเสนอแนะไว้ล่วงหน้า