ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

การสอนภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวมมีพัฒนาการทางด้านภาษาซึ่งประกอบด้วย ทักษะทางภาษา 4 ด้านคือทักษะการฟังการพูดการอ่านและการเขียน ดีขึ้นกว่าก่อนการได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม ซึ่งมีงานวิจัยที่กล่าวถึงแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ กล่าวถึงไว้ดังนี้

วิจัยในประเทศ

การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับสิ่งเหล่านั้นและการสื่อสารยังช่วยให้มนุษย์เกิดความพึงพอใจ ช่วยให้ได้รับความไว้วางใจและความรู้สึกที่ดีต่อกันได้ นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงความหมายของการสื่อสาร ดังนี้

ศิริรัตน์ ท้องที่. (2554 :80 : 81). ได้ศึกษา ผลการส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับ เด็กปฐมวัยในท้องถิ่นอีสานตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติวิธีการดำเนินการโดยการจัด กิจกรรม 6 กิจกรรมประจำวัน การจัดมุมประสบการณ์สภาพแวดล้อมและตัวอย่างที่ส่งเสริมพัฒนา ทักษะการฟังและการพูด กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียน บ้านไทยเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธรเขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 12 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยตามแนวคิดการสอนภาษาแบบธรรมชาติจำนวน 6 แผนแบบสังเกต พฤติกรรมการใช้ภาษาไทย (การพูด)แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ภาษาไทย (การฟัง) แบบประเมินทักษะการพูด แบบประเมินทักษะการฟัง แบบทดสอบก่อน - หลังเรียนนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นอีสานตามแนวคิด การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สุภา บุญพึ่ง.( 2557 : 114 ). ได้ศึกษา การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติกับ แบบฮาร์ทส.เด็กปฐมวัยที่กำลังเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2552 จากการสุ่ม อย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากได้โรงเรียนวัดปรีดาราม และโรงเรียนนครหลวง (พิบูลประเสรีฐวิทย์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 จากนั้นทำการจับฉลาก เพื่อจัดกลุ่มใน การจัดประสบการณ์ กลุ่มทดลองที่ 1 จัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติ 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คนและกลุ่มทดลองที่ 2 จัดประสบการณ์แบบฮาร์ทส 1 ห้องเรียน จำนวน 20 คนระยะเวลาในการทดลอง 27 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แผนการจัดประสบการณ์การสอน ภาษาแบบธรรมชาติกับแบบฮาร์ทส แบบทดสอบความสามารถทางภาษา แบบสังเกตพฤติกรรม ความเชื่อมั่นในตนเองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณผลการวิจัยพบว่า ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 นั้น เป็นไปไม่ได้ที่คะแนนความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองโดยเฉลี่ยของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติกับ แบบฮาร์ทสจะแตกต่างกัน

รติรัตน์ คล่องแคล่ว.(2558:110). ได้ศึกษา ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตาม แนวทางภาษาแบบธรรมชาติที่มีต่อทักษะการพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยไทยอีสาน นักเรียนชายหญิงอายุระหว่าง 4 - 5 ปีชาวไทยอีสานชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียน สามเสนนอก สำนักงานเขติดนแดงกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คนโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ด้วยเกณฑ์การเลือกเด็กปฐมวัยไทยอีสานที่มาเรียนสม่ำเสมอจากจำนวน 12 ห้องเรียนทั้งหมด 107 คนเพื่อจัดให้เด็กได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 50 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติ 2) แบบสังเกตทักษะการพูดที่ผู้วิจัยใช้ ทำการสังเกตในระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาไทยของ เด็กปฐมวัยไทยอีสาน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 ผู้วิจัยทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แล้วนาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ t’ testแบบ Dependent Samples ผลการศึกษาพบว่า คะแนนจากแบบทดสอบเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตาม แนวทางภาษาแบบธรรมชาติก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยรวมและรายด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติโดยรวมและรายด้านเพิ่มขึ้น

วิจัยต่างประเทศ

ลิส. ( Lees. 1991 : 11). ได้ศึกษาลักษณะทางการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษาแบบธรรมชาติผลการวิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารของเด็กและพัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดให้ชัดเจนและครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อให้ผู้อื่น ได้รู้จักและเข้าใจ

เฟนนาซี. (Fennacy. 1998 : 12 - 13). ได้ศึกษาวิธีการสอนและวิธีการรู้หนังสือในหนังสือเรียนอนุบาล 2 แบบคือห้องเรียนแรกใช้หลักสูตรโดย แบบฝึกหัดที่เน้น พยัญชนะ เสียงและคำห้องที่สองมีการใช้หลักสูตรตามแนวการสอนภาษาแบบ ธรรมชาติโดยปฏิบัติกับเด็กเสมอว่าเด็กเป็นนักอ่านและนักเขียน ผลการวิจัยพบว่า เด็กในห้องเรียน ที่สอนภาษาแบบธรรมชาติมีความรู้ด้านการอ่าน การเขียน เพิ่มขึ้น เต็มใจที่จะเขียนและปรับปรุง การเขียนด้วยตนเองโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือและเรียบเรียงระหว่างการเขียนบ่อยขึ้น

วอร์ด.(Ward. 1989: A ). ได้ศึกษาวิจัยเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติมาใช้ โดยการศึกษามาจาก ห้องเรียนของครูประจำชั้นประถมศึกษาที่บอกว่าตนเองเป็น ครูสอนตามแนวนี้ตามจำนวน 4 คนผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตในห้องเรียนสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารสถานศึกษาตามแผนการสอนศึกษาผลงานของนักเรียนหนังสือที่ใช้และคู่มือหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดหรือปรัชญาเกี่ยวกับการสนองของครูเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่มีอิทธิพลต่อการสอนตามแนวการสอน ภาษาแบบธรรมชาติครูที่มีแนวคิดการสอนแบบธรรมชาติมักจะเน้น เรื่องพัฒนาการทางภาษาการซาบซึ้งกับภาษาและให้เด็กแสดงออก