การเขียนประชากร และ กลุ่มตัวอย่าง

การเขียนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

เป็นส่วนแสดงรายละเอียดว่า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้หมายถึงใครบ้าง ขอบเขตถึงไหน หากมีการใช้กลุ่มตัวอย่างต้องแสดงว่าได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มแบบใด และมีจำนวนหน่วยตัวอย่างเท่าไร และต้องพิจารณาว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้สามารถให้ข้อมูลตามตัวแปร หรือวัตถุประสงค์ที่สนใจศึกษาครบทั้งหมดหรือยัง

ประชากร คือ สมาชิกทั้งหมดที่อยู่ในกรอบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัย

กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกส่วนหนึ่งของประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ดีนั้นจะต้องเป็นตัวแทนของประชากร โดยความจำเป็นของการใช้กลุ่มตัวอย่างคือมีความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูล มีความประหยัดและมีประสิทธิภาพ

หลักการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

สมาชิกเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

มีคุณลักษณะสำคัญเหมือนประชากร

สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสได้เป็นกลุ่มตัวอย่างเท่ากัน

กลุ่มตัวอย่างต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ

เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง

อาศัยหลักความน่าจะเป็น (probabilistic sampling) คือ สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่ากัน

ไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (non-probabilistic sampling) คือ สมาชิกมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ตรงปัญหาวิจัย สามารถแบ่งได้เป็น

สุ่มอย่างง่าย คือ ประชากรเป็นเอกพันธ์ สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสเท่าเทียมกัน ใช้การจัดฉลาก ใช้ตารางเลขสุ่ม

สุ่มเป็นระบบ คือ ประชากรเป็นเอกพันธ์ ประชากรเรียงในบัญชีตามธรรมชาติ / ระบบใด ๆ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ หาระยะห่างโดยนำประชากรตั้งหารด้วยขขนาดตัวอย่าง กำหนดเลขที่เริ่มต้นของตัวอย่าง กำหนดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็น a,a+i,a+2i,...จนครบ

สุ่มแบบยกกลุ่ม คือ ประชากรอยู่เป็นกลุ่มโดยธรรมชาติในกลุ่มหนึ่งมีความหลากหลายภายในกลุ่ม แต่ระหว่างกลุ่มในประชากรมีความเหมือน ๆ กัน นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งมี 10 ห้อง ถ้าจัดเข้าห้องตามลำดับการมารายงานตัวห้องละ 30 คน เต็มห้องแล้วขึ้นห้องใหม่ แต่ละห้องมีความหลากหลายในเพศและสติปัญญา ระหว่างห้องเรียนมีความคล้ายคลึงกัน ใช้สุ่มห้องเรียนมา 3 ห้อง ได้นักเรียน 90 คน แต่ละห้องมีความหลากหลายในเพศ และสติปัญญา ระหว่างห้องเรียนมีความคล้ายคลึงกัน การสุ่มแบบยกกลุ่มอาจใช้การสุ่มอย่างง่ายหรือการสุ่มแบบเป็นระบบร่วมด้วย โดยเปลี่ยนหน่วยการสุ่มจากคน มาเป็นห้อง

สุ่มแบบแบ่งชั้น คือ ประชากรมีความเป้นวิวิะพันธ์โดยธรรมชาติที่แบ่งเป็นชิ้นหรือพวก แต่ละชั้นมีความเป็นเอกพันธ์ต่างชั้นมีความเป็นวิวิธพันธ์ ในการสุ่มต้องการได้ตัวแทนประชากรทุกชั้น หลังจากจัดชั้นแล้วจึงหาวีธีสุ่มอย่างง่ายหรือเป็นระบบก็ได้

สุ่มแบบหลายชั้น คือ ถ้าประชากรมีขอบเขตกว้าง อาจวางแผนสุ่มกลุ่มตัวอย่างจาำกแต่ละพื้นที่ เช่น ถ้าต้องการได้นักเรียน ป.6 ของประเทศไทย อาจจะต้องแบ่งเป็น 6 เขต ตามภูมิภาค แต่ละภาคสุ่ม 1-2 จังหวัด แต่ละจังหวัดสุ่มอำเภอแบบแบ่งชั้นจังหวัดละ 2 อำเภอ แต่ละอำเภอสุ่มมา 2 โรงเรียน เป็นต้น