เรืองที่ 2 แชร์ลูกโซ่

แชร์ลูกโซ่เป็นภัยทางการเงินที่อาจสร้างความเสียหายได้ตั้งแต่เงินจำนวนน้อย จนไปถึงเงินหลักแสนหลักล้าน มิจฉาชีพมักใช้“โอกาสรวย” หรือ“สินค้าราคาถูกมาก” มาหลอกล่อให้เหยื่อร่วมลงทุนหรือซื้อสินค้าแล้วเชิดเงินหนีไป

ลักษณะแชร์ลูกโซ่

1.แชร์ลูกโซ่ในคราบธุรกิจขายตรง

มิจฉาชีพจะโฆษณาชวนเชื่อให้เหยื่อทำธุรกิจขายตรงที่มีผลตอบแทนสูง โด ยที่เหยื่อไม่ต้องทำอะไร เพียงแค่ชักชวนเพื่อนหรือญาติพี่น้องให้ร่วมทำธุรกิจ ไม่เน้นการขาย สาธิต หรือทำให้สมาชิกเข้าใจในตัวสินค้า เมื่อเหยื่อเริ่มสนใจ จะให้เหยื่อเข้าร่วมฟังสัมมนา และโน้มน้าวหรือหลอกล่อให้เหยื่อจ่าค่าสมัครสมาชิก หรือซื้อสินค้าแรกเข้าซึ่งมีมูลค่าที่ค่อนข้างสูง (สินค้าส่วนมากมักไม่มีคุณภาพ) หรืออาจให้เหยื่อซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุนโดยไม่ต้องรับสินค้าไปขาย แล้วก็รอรับเงินปันผลได้เลยค่าสมัครสมาชิก ค่าซื้อสินค้าแรกเข้า ค่าหุ้นหรือค่าหน่วยลงทุนของาชิก ใหม่จะถูกนำมาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้กับสมาชิกเก่า เมื่อไหร่ที่ไม่สามารถหาสมาชิกใหม่ได้แชร์ก็จะล้มเพราะไม่สามารถหาเงินมาจ่ายผลตอบแทนและเงินที่ลงทุนคืนสมาชิกได้ ปัจจุบันยังมีการโฆษณาชักชวนผู้ลงทุนผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย โดยมิฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต แล้วติดต่อเหยื่อเพื่อชักชวนให้เข้าร่วมงานสัมมนาโดยอ้างว่ามีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมด้วย

2.แชร์ลูกโซ่หลอกลงทุน

มิจฉาชีพมักอ้างว่ามีสิทธิพิเศษ หรือได้โควตาซื้อสินค้าราคาถูกเป็นจำนวนมาก หรือมีการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงและแน่นอน จึงอยากชักชวนให้เหยื่อลงทุนร่วมกันจึง เช่น โควต้าจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล (แชร์ลอตเตอรี่) อุตสาหกรรมปลูกป่าเพื่อส่งขายในตลาดในต่างประเทศ (แชร์ไม้) เก็งกำ ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ( แชร์ FOREX ) โดยสร้างเว็บไซต์เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ หรือบางรายก็อ้างว่ามีสาขาในต่างประเทศ แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้ทำธุรกิจดังกล่าวจริง มิจฉาชีพจะใช้วิธีหมุนเงินจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่ ผู้ลงทุนรายเก่า จึงต้องพยายามหาผู้ลงทุนรายใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้มีเงินไปใช้จ่ายเป็น ผลตอบแทน แต่หากไม่สามารถหาผู้ลงทุนรายใหม่ได้ ก็จะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนคืนให้แก่รายเก่าได้

3. แชร์ลูกโซ่หลอกขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต

มิจฉาชีพจะแฝงตัวเป็นพ่อค้าหรือแม่ค้า แล้วอ้างว่าสามารถหาสินค้าหายาก หรือสินค้าที่กำลังอยู่ในความต้องการของตลาด (เช่น สินค้ารุ่นใหม่ล่าสุด หรือยังไม่ได้ขายในประเทศไทย) ได้ในราคาถูก จึงประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดเป็น จำนวนมากผ่านทางอินเทอร์เน็ต เมื่อเหยื่อหลงเชื่อสั่งซื้อสินค้าและโอนเงินให้แก่มิจฉาชีพในครั้งแรกจะส่งสินค้าให้เหยื่อตามจำนวนที่สั่งซื้อ และเมื่อเหยื่อได้สินค้าในราคาถูกก็จะบอกต่อชักชวนญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงให้มาซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากแล้วโอนเงินค่าสินค้าทั้งหมดให้แก่มิจฉาชีพ หลังจากนั้นมิจฉาชีพก็จะเชิดเงินนั้นหนีไปโดยไม่ส่งสินค้าใด ๆ ให้แก่เหยือเลย

วิธีป้องกันภัยแชร์ลูกโซ่


1.ไม่โลภไปกับผลตอบแทนหรือสินค้าราคาถูกที่นำมาหลอกล่อ เพราะผลตอบแทนยิ่งสูง ยิ่งมีความเสี่ยงมากที่จะเป็นแชร์ลูกโซ่

2.ไม่กรอกข้อมูล หรือให้ข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ หรือตอบกลับอี เมลที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจกลายเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่

3.หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มธุรกิจที่ไม่แน่ใจเพราะอาจถูก หว่านล้อมให้ร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่

4.อย่าเกรงใจจนไม่กล้าปฏิเสธเมื่อมีคนชักชวนทำ ธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ เพราะอาจทำให้สูญเสียเงินได้

5.ศึกษาที่มาที่ไปของการลงทุนหรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน โดยเฉพะธุรกิจหรือสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงมากในเวลาอันสั้น หรือมีราคาถูกผิดปกติ

6.ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจ


อย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่

หากตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ ควรรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แล้วติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ทันทีี่

ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ

สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชนสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกระทรวงการคลัง ขอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 สามเสนใน พญาไทกรุงเทพฯ10400 โทร. 1359