เรื่องที่ 1 หนี้นอกระบบ

หนี้นอกระบบ


เมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน แต่ไม่สามารถขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ หลายคนคงนึกถึงการกู้นอกระบบที่ได้เงินเร็ว ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีหลักประกันหรือใช้บุคคลค้ำประ หรือใช้บุคคลค้ำประกัน จนอาจลืมนึกถึงเล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกงที่อาจแฝงมากับการกู้เงินนอกระบบ

ลักษณะหนี้กลโกงหนี้นอกระบบ

1.ใช้ตัวเลขน้อย ๆ เพื่อจูงใจ

นายทุนเงินกู้นอกระบบมักบอกตัวเลขน้อยเพื่อจูงใจผู้กู้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวน เงินผ่อนต่องวดหรือดอกเบี้ย เช่น กู้เงิน 10,000 บาท ให้ผ่อนวันละ 150 บาท เป็นระยะเวลา90 วัน แต่เมื่อคำนวณแล้วต้องจ่ายหนี้คืน 13,500 บาท ภายใน 3 เดือน ดอกเบี้ยสูงถึง 35 % ต่อ สามเดือนหรือ 140% ต่อปี เจ้าหนี้บางรายก็บอกแค่อัตราดอกเบี้ย แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อวัน ต่อเดือน


2. ให้เซ็นเอกสารที่ไม่ได้กรอกตัวเลข

นอกจากจะใช้ตัวเลขค่างวดหรือดอกเบี้ยน้อย ๆ ดึงดูดลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้บางรายก็ให้ลูกหนี้เซ็นสัญญากู้ยืมโดยที่ยังไม่ได้กรอกตัวเลข ลูกหนี้รายหนึ่งต้องใช้เงินคืนเจ้าหนี้ 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่กู้เงินมาแค่ 20,000 บาท เพียงเพราะไปเซ็นสัญญาในเอกสารที่ยังไม่ได้ กรอกจำนวนเงินกู้


3. ไม่ให้ลูกหนี้อ่านเอกสารที่ต้องเซ็น

เจ้าหนี้บางรายไม่ยอมให้ลูกหนี้อ่านเอกสารที่จะต้องเซ็น เช่น เจ้าหนี้หวังจะยึดเอาที่ดินของลูกหนี้ที่นำมาค้าประกันเงินกู้ จึงหลอกว่าเป็นการทำสัญญาจำนอง แต่แท้จริงเป็นสัญญาขายฝาก


4. บีบให้เซ็นสัญญาเงินกู้เกินจริง

เจ้าหนี้บางรายบีบบังคับให้ลูกหนี้เซ็นสัญญาเงินกู้เกินจริง เช่น ขอกู้ 10,000 บาท แต่บังคับให้เซ็นในเอกสารที่เขียนว่าขอกู้ 30,000 บาท ลูกหนี้บางรายมีความจำเป้นต้องใช้เงิน ก็จำใจเซ็นสัญญานั้น


5. ทำสัญญาขายฝากแทนสัญญาจนอง

เจ้าหนี้หลายรายหลอกลูกหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากแทนสัญญาจำนอง ถึงแม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าเป็นการค้ำประกันเงินกู้เหมือนกัน แต่การบังคับหลักประกันต่างกัน สัญญาขายฝากจะทำให้กรรมสิทธิ์ของบ้านหรือที่ดินนั้นตกเป็นของเจ้าหนี้ตั้งแต่วันที่ทำ สัญญา ซึ่งลูกหนี้จะต้องไถ่บ้านหรือที่ดินคืนภายในเวลาที่กำหนด หากช้าเพียงวันเดียว บ้านหรือทีดินนั้นก็จะตกเป็นของเจ้าหนี้ทันที โดย เจ้าหนี้ไม่ต้องมีหนังสือแจ้งหรือฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี


6.หลีกเลี่ยงให้กู้โดยตรง

หลายครั้งที่สัญญาอำพรางเงินกู้ถูกนำมาใช้เพื่อหลอกล่อผู้ที่เดือดร้อนเรื่อง เงิน เช่น ลูกหนี้รายหนึ่งติดต่อขอกู้เงินกับเจ้าหนี้นอกระบบ จำนวน 20,000 าท เจ้าหนี้บังคับให้ลูกหนี้ใช้บัตรผ่อนสินค้าหรือบัตรเครดิตซื้อสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมมูลค่า 23,000 บาท เพื่อมาแลกกับเงินกู้ 20,000 บาท


7. ทวงหนี้โหด

นอกจากภาระดอกเบี้ยที่แสนแพงแล้ว ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบอาจต้องเจอกับการทวงหนี้โหดหากไม่ชำระตรงตามเวลา ซึ่งเจ้าหนี้อาจไม่ได้แค่ขู่หรือประจานให้ได้อาย แต่บางรายก็ถึงขั้นทำร้ายร่างกาย

วิธีป้องกัหนี้นอกระบบภัย

1. หยุดใช้เงินเกินตัว

ตรจสอบพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองโดยการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย แล้ววางแผนใช้เงินอย่างเหมาะสมกับรายได้และความจำเป็น


2.วางแผนการเงินล่วงหน้า

คำนึงถึงค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต เช่น ค่าเล่าเรียนลูก แล้ววางแผนทยอยออมล่วงหน้า รวมถึงออมเงินเผื่อเหตุการณ์ ฉุกเฉินด้วย


3. คิดให้ดีก่อนตัดสินใจก่อหนี้ – ทบทวนดูความจำเป็นว่าต้องใช้เงินจริง ๆ หรือไม่ และหากต้องกู้จริง ๆ จะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ เพราะนอกจากดอกเบี้ยที่แสนแพงแล้ว อาจต้องเจอกับเหตุการณ์ทวงหนี้แบบโหด ๆ อีกด้วย


4.เลือกกู้ในระบบ

–หากจำเป็นต้องกู้ควรเลือกกู้ในระบบดีกว่าเพราะ นอกจากจะมีหน่วยงานภาครัฐคอยดูแลแล้ว ยังระบุดอกเบี้ยในสัญญาชัดเจนและเป็นธรรมกว่า


5. ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้

–ดูว่าผู้ให้กู้นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขชำระเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยที่เอาเปรียบผู้กู้เกินไปหรือไม่


6.ศึกษาวิธีคิดดอกเบี้ย–หนี้นอกระบบมักคิดอัตราดอกเบี้ยด้วยวิธีเงินต้นคงที (flat rate) ซึ่งทำให้ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (effective rate) เพราะดอกเบี้ยจะถูกคิดจากเงินต้นทั้งก้อนแม้ว่าจะทยอยจ่ายคืนทุกเดือนก็ตาม



7. หากจำเป็นต้องกู้เงินนอกระบบต้องใส่ใจ

ไม่เซ็นสัญญาในเอกสารที่ยังไม่ได้กรอกข้อความหรือวงเงินกู้ไม่ตรงความจริงตรวจสอบข้อความในสัญญาเงินกู้ รวมถึงดูว่าเป็นเงื่อนไขที่เราทำได้จริงๆเก็บสัญญาคู่ฉบับไว้กับตัวเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ทำสัญญาจำนองแทนการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝากจะทำ ให้ กรรมสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าหนี้ทันทีหากผู้กู้ไม่มาไถ่คืนตามกำหนด

8.ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ

ทำอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อหนี้นอกระบบหากเป็นเหยื่อหนี้นอกระบบแล้วควรหาแหล่งเงินกู้ในระบบที่มีดอกเบี้ยถูกกว่ามาชำระคืน แต่หากไม่สามารถกู้ยืมในระบบได้ ผู้กู้อาจต้องยอมขายทรัพย์สินบางส่วน เพื่อนำมาชำระหนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถชำระคืนได้



ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบสามารถขอรับคำปรึกษาได้จากองค์กรดังต่อไปนี้

1.ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง โทร. 1359

2.กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานตรวจแห่งงชาติ โทร. 1135


3. สายด่วนรัฐบาล สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 1111


4. สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนสำนักอัยการสูงสุด โทร. 0 2142 2034


5.ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกระทรวงยุติธรรม โทร. 0 2575 3344


6. ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567


7.หน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทวงถามหนี้ไม่เหมาะสม ได้แก่ กรมการปกครอง สำานักงานเศรษฐกิจารคลัง ที่ทำการปกครองจังหวัด กองบัญชาการตำรวจ นครบาล สถานีตำรวจท้องที่ และที่ว่าการอำเภอทุกแห่ง