การพูดติดอ่างถูกเชื่อมโยงเข้ากับความบกพร่องในการรับรู้จังหวะ

การพูดติดอ่าง อาจจะเป็นมากกว่าปัญหาของการพูดก็เป็นได้ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยได้พบว่า เด็กที่พูดติดอ่างนั้นประสบปัญหาในการรับรู้จังหวะในทำนองของเพลงที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบการพูดที่ติดๆ ขัดๆ ของเด็กเหล่านี้Devin McAuley จาก Michigan State Unviersity ซึ่งเป็นผู้ร่วมทำการวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้มีความหมายต่อการรักษาอาการพูดติดอ่างซึ่งมีผลกระทบต่อคนกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก งานวิจัยฉบับดังกล่าวได้ปรากฏอยู่บนวารสารออนไลน์ Brain & Language

“การติดอ่างนั้นมักจะถูกตีความว่าเป็นปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด แต่นี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า มันเกี่ยวข้องกับความบกพร่องในการรับรู้จังหวะ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการรับรู้และรักษาจังหวะเอาไว้” McAuley ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยากล่าว “ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญเพราะมันบ่งบอกถึงวิธีการแทรกแซงอันเป็นไปได้ที่อาจจะมุ่งเน้นไปในการปรับปรุงการรับรู้จังหวะในเด็กที่มีปัญหาการพูดติดอ่างได้ และอาจจะกลายเป็นการปรับปรุงความคล่องตัวในการพูดจาได้อีกด้วย”กว่า 70-80% ของเด็กอายุ 3-5 ขวบที่มีปัญหาการพูดติดอ่างนั้นมักจะหายไปเองในที่สุด McAuley กล่าว แต่ถึงอย่างนั้น แม้ว่าจะมีการวิจัยมานับสิบๆ ปีแล้วก็ตาม กลไกเบื้องหลังการติดขัดในการพูดของคนที่พูดนั้นก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดอยู่ดีการที่เราสามารถรับรู้และรักษาจังหวะเอาไว้ได้นั้นเชื่อกันว่า เป็นสิ่งสำคัญในการพูดตามปกติเพราะมันทำหน้าที่เป็นสัญญาณบอกจังหวะได้ ซึ่งความคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยในอดีตที่ได้แสดงให้เห็นว่า

ความคล่องตัวในการพูดนั้นดีขึ้นอย่างมากในผู้ใหญ่ที่พูดติดอ่างเวลาพูดให้สอดคล้องกับเครื่องเคาะจังหวะMcAuley และเพื่อนร่วมงานของเขาได้ทำการทดสอบกลุ่มเด็กที่มีอาการพูดติดอ่างและกลุ่มที่ไม่ได้พูดติดอ่างด้วยการให้พวกเขาฟังและระบุจังหวะเสียงกล่องที่มาจากเกมคอมพิวเตอร์เกมหนึ่ง แม้ว่าจะคำนึงเรื่อง IQ ของเด็กและความสามารถทางภาษาแล้วก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวพบว่า เด็กที่มีการพูดติดอ่างนั้นตัดสินว่าจังหวะสองจังหวะนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันได้แย่กว่ามากงานวิจัยในอดีตหลายงานได้รวมปัจจัยเรื่องความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย

เช่น การให้ผู้เข้าทดสอบเคาะเข้าจังหวะ เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า ปัญหานั้นเป็นที่การรับรู้จังหวะหรือความบกพร่องจากกล้ามเนื้อกันแน่ McAuley กล่าวทีมวิจัยก็ยังได้รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมกับภาพถ่ายสมองด้วยเคลื่อนแม่เหล็กเพื่อทำการระบุว่า เครือข่ายสมองใดที่อาจรับผิดชอบต่อความบกพร่องทางการรับรู้จังหวะMcAuley นั้นกำลังทำงานร่วมกับ Soo-Eun Change ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชที่ University of Michigan และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการติดอ่างรวมถึงได้ศึกษาภาพถ่ายสมองจากเด็กที่มีอาการติดอ่างมาตั้งแต่ปี 2009 แล้ว

ที่มา : [http://www.sciencedaily.com/releases/2015/05/150519105902.htm]

http://www.vcharkarn.com/vnews/502312