โรคคลั่งฟุตบอล : ปรากฏการณ์ใหม่แห่งศตวรรษ

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

นอกจากนี้ ยังได้มีรายงานข่าวอีกหลายแห่ง ที่บ่งบอกถึงสภาพของอาการ "คลั่งฟุตบอล" จนก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในเรื่องของการพนัน สุขภาพ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งเคยได้รายงานข่าวเศร้าเอาไว้ในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก 2002 ว่า เกิดกรณีของ "หนุ่มโสม" เผาตัวตายโดยใช้รูปแบบ "คุณไสย" เพื่อช่วยให้ทีมเกาหลีใต้ชนะทีมโปรตุเกส ในการแข่งขัน โดยหวังให้ตนกลายเป็นวิญญาณ ไปเป็นผู้เล่นคนที่ 12 ให้แก่ทีมชาติเกาหลีใต้หรือแม้กระทั่งกรณีของคนไทยที่เคยพบว่า สามี วัย 26 ปี ได้ใช้ปืนยิงฆ่าภรรยาวัย 19 ปี ของตัวเอง เหตุเกิดเพราะในช่วงขณะที่กำลังดูการแข่งขันฟุตบอลอย่างเมามันอยู่นั้นภรรยาเกิดอยากดูละคร "ดาวพระศุกร์" จึงได้เกิดการปะทะคารมขึ้น และบ่มเพาะความร้าวฉาน จนมาระเบิดขึ้นโดยการใช้กระสุนปืนเป็นผู้ชี้ขาดในเช้าวันถัดมา เป็นต้น

เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้นของผู้ที่คลั่งฟุตบอลอย่างร้ายแรงจนนำไปสู่การก่อปัญหาในที่สุด ยังไม่นับรวมถึงอาการคลั่งเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ผู้ที่เห็นการแข่งขันฟุตบอลเป็นไม่ได้ จำเป็นต้องหยุดดูทันควัน และจะเกิดอาการไร้สติสัมปชัญญะร้องตะโกนอย่าบ้าคลั่งเมื่อเห็นลูกวิ่งเข้าใกล้ประตู และที่สำคัญไม่สามารถจะขยับเขยื้อนออกไปพ้นจากหน้าจอทีวีได้ จนกว่าจะได้เวลาพักครึ่ง หรือจบการแข่งขัน แม้ว่าจะเป็นเพียงไฮไลท์ที่ฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ตาม

นอกจากนี้ ก็อาจเป็นในเรื่องของการเลียนแบบ เช่น ตัดผมตามแบบนักฟุตบอลที่ชื่นชอบ หรือ แสดงพฤติกรรมและสัญลักษณ์บางอย่าง ที่บ่งบอกถึงความเป็นพวกเดียวกับทีมฟุตบอล เช่นเสื้อทีม ธงชาติ เป็นต้น

ยูโร 2004 ถือเป็นมหกรรมฟุตบอลครั้งยิ่งใหญ่ที่คอฟุตบอลทั้งหลายคงไม่อาจพลาดได้ หลังจากรอคอยกันมาถึง 4 ปีเต็ม แต่ภายใต้ความสนุกสนานของกีฬาฟุตบอล ก็ได้เกิดปรากฏการณ์หลายอย่างตามมา ทั้งในเรื่องของการพนัน เรื่องสุขภาพกาย การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง และอีกหนึ่งปัญหาที่ดูเหมือนจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น คือปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งนับวันผู้คนทั่วโลกที่ติดฟุตบอลจนถึงขนาด "คลั่ง" ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น และสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลในหลายด้าน

จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งเคยสำรวจพฤติกรรมคนกรุงเทพฯ ในช่วงมหกรรม ฟุตบอลโลก พบว่า ฟุตบอลโลกได้ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของคนกรุงเทพฯ ลดลงเฉลี่ยถึง 16.7 % คิดเป็นมูลค่าความเสียหายในเชิงธุรกิจ รวมกันถึง 200 - 250 ล้านบาท ทั้งนี้ โดยคำนวณจากรายได้ของคนกรุงเทพฯ ที่ตอบแบบสอบถาม ทำให้ทราบว่า ต่างสูญเสียเวลาในการทำงาน วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะได้มูลค่าความเสียหายเฉลี่ย 500 บาทต่อเดือน