อาชีพสถาปนิก

อาชีพสถาปนิก

จบ ม.ปลายสายวิทยาศาสตร์ เข้าศึกษาต่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใชเวลาเรียน 5 ปี หรือจบระดับ ปวส. ทางด้านการเขียนแบบ แล้วฝึกงานในสำนักงานสถาปนิก หรือศึกษาต่อเพื่อให้ได้ปริญญาทางสถาปัตยกรรม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการจัดการ เพื่อให้กระบวนการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมมีความทันสมัยสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ พร้อมกับสืบสานและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่าสำหรับมวลมนุษย์ หลักสูตรนี้ต้องการเตรียมความพร้อมทางวิชาการดังกล่าวแก่ผู้ที่จะพัฒนาตัวเองเป็นสถาปนิกต่อไป โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้ใฝ่รู้ พร้อมที่จะเรียนรู้ และพัฒนาตนเองด้วยปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม มีความคิดที่เชื่อมโยง ตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

1.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งส่วนของโครงการที่ปฏิบัติ และผลกระทบต่อส่วน รวม ทั้งนี้จะเน้นปัจเจกภาพเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ

2.สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และศึกษาแหล่งที่มาอิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยศึกษา และฝึกหัดเขียนลายไทยชนิดต่าง ๆตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบบรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรม ให้ถูกต้องตามหน้าที่ และสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและสังคม ปัจจุบัน

3. สาขาวิชาการปัตยกรรมภายใน เป็นศาสตร์ที่ประสานกันระหว่างงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน เป็นวิชาชีพทางด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเน้นการจัดที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอย และความงามโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมวัสดุ และเทคโนโลยีในการก่อสร้างความรู้ทาง วิศกรรมที่เกี่ยวข้อง การประหยัดพลังงานและทรัพยากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้สอยภายในอาคารเกิดสภาพแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพเหมาะสมแก่ผู้ใช้ อาคารทั้งด้านร่างกาย

4. สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และการออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัด และทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น

5. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม เน้นหนักด้านการปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ และธรรมชาติให้มีความสมดุลซึ่ง กันและกัน ศึกษาด้านสุนทรียภาพและการใช้สอยของเมืองและที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมถึงออกแบบสวนสาธารณะ สวนสัตว์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่า ต้นน้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

(ที่จุฬา) การเรียนในปีที่ 1 ทุกภาคจะเรียนวิชาพื้นฐานร่วมกันก่อน เช่นวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ พื้นฐานการออกแบบ ภาษาอังกฤษ อาจจะมีบางวิชาที่เรียนเฉพาะภาคบ้าง ต่อมาเทอม 2 ของปีแรก ภาคผังเมืองจะแยกไปเรียนวิชาของตัวเองแล้ว (เรียกว่า แยกไปก่อนเพื่อนเลย) ภาคอื่นๆจะได้เริ่มออกแบบบ้านกัน ส่วน สถ.ไทย จะเรียนวิชาการออกแบบของภาคตัวเอง

ปี 2 เทอมแรกภาคที่เหลือจะยังเรียนรวมกันอยู่ ยังคงทำบ้านกัน ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมจะเริ่มไปเรียนวิชาภาคกันมากขึ้น มีการปั้นเซรามิคกันสนุกสนาน ต่อมาเทอมหลังเพื่อนๆภูมิสถาปัตยกรรมก็จะไปเรียนวิชาออกแบบของเค้าเอง ออกแบบบริเวณและจัดต้นไม้ สถ.ไทย ก็เรียนของตัวเองอยู่แล้ว ส่วน สถาปัตย์ กับ สถาปัตย์ภายในก็ยังเรียนเหมือนกันอยู่ จะเริ่มทำอาคารสาธารณะเล็กๆ ส่วนออกแบบอุตสาหกรรมก็จะแยกไปเรียนวิชาของภาคเค้าเองอย่างเต็มตัว ทั้งกราฟิค ออกแบบภายใน และสิ่งทอ

ปี3 ภาคสถาปัตย์กะสถาปัตย์ภายในยังเรียนด้วยกันอยู่ แต่สถาปัตย์ภายใน จะเริ่มเรียนวิชาของภาค และจะแยกไปในตอนปี 4 ดังนั้นทุกภาคก็จะเรียนวิชาของตัวเอง ถึงตอนนั้นก็จะมีสกิลมากขึ้น ขยันมากขึ้น รู้อะไรๆมากขึ้น และต้องเตรียมพร้อมเพื่อไปฝีกงานก่อนจะขึ้นปี 5 และในปี 5 ทุกคนก็จะได้ทำทีสิส (วิทยานิพนธ์) คนละชิ้น ซึ่งหากผ่านไปได้ด้วยดี ก็จะเรียนจบรับปริญญามาให้พ่อแม่ได้ชื่นใจ

การปรับตัวเมื่อเข้ามาเรียนในคณะ อย่างที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องขยันขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคณะไหน มหาลัยไหนก็ตาม เพราะอาจารย์ท่านจะถือว่าเราโตแล้ว ควรจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองได้แล้ว อย่างที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ถ้าเรียนคณะนี้แล้ว ควรจะรับได้กับการอดนอน เพราะงานเราเยอะจริงๆ และต้องรู้จักการแบ่งเวลาให้ดี

การเรียนมหาวิทยาลัยให้ได้ผลดีนั้นจะต้องมีทั้งการเรียนที่ดีและการทำกิจกรรมที่เหมาะสม ถ้าเรียนอย่างเดียว เราอาจขาดทักษะทางการเข้าสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องการแน่นอนเมื่อเราเรียนจบไปและต้องทำงานเลี้ยงครอบครัว แต่หากทำกิจกรรมมากไปจนลืมเรื่องเรียนบางทีเราอาจจะ เรียนไม่จบก็ได้ ส่วนสังคมในคณะ พี่ๆน้องๆก็จะมีการช่วยเหลือกันอบอุ่นน่ารักดี มีกิจกรรมให้เราได้มารวมกันอยู่เสมอ เรียกว่าพลาดไม่ได้เลยซักงานละ กิจกรรมอาจจะต่างกันไปในแต่ละมหาลัย แต่ก็สนุกไม่แพ้กันเลย

บทความน่าสนใจ รอบรู้เรื่องสถาปัตย์ รู้ไว้ก่อนเรียน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยรังสิต

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

งานออกแบบอาคารประเภทต่างๆให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและประหยัด ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานสนองความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคาร ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น และไม่กระทบให้เป็นผลเสียของส่วนรวม

คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ

1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดี

2. มีการทำงานที่มีระบบ

3. ละเอียดรอบคอบต่องานที่ทำ เพราะเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย

4. ใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์

5. คำนึงถึงงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพมากกว่าค่าตอบแทน

6. เข้าใจในระบบเศรษฐกิจและการตลาด เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ

7. รักและเสียสละ เพื่อพัฒนาท้องที่ในต่างจังหวัด

8. ต้องมีรสนิยมทางศิลปะที่ดี และรู้จักพัฒนารสนิยมให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

9. คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อเมือง และสภาพแวดล้อม รวมถึงสภาพสังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่น