วิศวกรเครื่องกล

วิศวกรเครื่องกล เป็นที่ต้องการอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมหนักต่างๆ เช่น

  • วิศวกรดูแลระบบในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซและผลิตปิโตรเลียม โรงงานผลิตเหล็กเส้น โรงงานสิ่งทอ

  • วิศวกรการออกแบบ ติดตั้งและดูแลงานระบบปรับอากาศ และงานระบบท่อในโรงงานและอาคารต่างๆ

  • วิศวกร ตรวจวัดในอุตสาหกรรมการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนวางแผน ออกแบบและติดตั้งการเดินท่อส่งก๊าซและน้ำมัน เช่น บ.ยูโนแคล บ.เชลล์ บ.ปตท สำรวจ เป็นต้น วิศวกรเหล่านี้จะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงมากเพราะนอกจากจะต้องใช้ความสามารถสูงแล้ว ยังต้องมีความเข้มแข็งอดทน สามารถทำงานภายใต้ภาวะความกดดันและอันตรายได้

  • วิศวกรสำหรับโรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์

มาตรฐานของหลักสูตรที่ถูกกำหนดในแต่ละประเทศนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันด้านการเรียนการสอนในวิชาพื้นฐานทางด้านวัสดุศาสตร์ สร้างความสามารถในตัวบัณฑิตวิศวกรรมทุกคนให้มีความสามารถในการทำงานในฐานะผู้เชี้ยวชาญด้านวิศวกรรมได้เหมือนกัน สำหรับในประเทศไทย สภาวิศวกรได้กำหนดว่าหลักสูตรทางวิศวกรรมศาสตร์จะที่ได้รับการรับรองนั้นจำต้องมีการสอนความรู้วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์, ความรู้วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม และความรู้วิชาเฉพาะทางวิศวกรรม อีกทั้งยังจะต้องมีคณาจารย์ และสถานที่ ห้องสมุด และห้องปฏิบัติการ เป็นไปตามเกณฑ์ และมีการจัดทำระบบประกันคุณภาพและผ่านการรับรองจากกระทรวงที่รับผิดชอบ [6] อย่างไรก็ตาม วิชาเฉพาะในหลักสูตรนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปโดยบางมหาวิทยาลัยอาจจะบรรจุหลายสายวิชาลงในรายวิชาเดียว หรืออาจจะแยกสายวิชาออกมาเป็นหลายรายวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยการสอน และสาขาการวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลประกอบด้วย

  • สถิตยศาสตร์ และ พลศาสตร์

  • ความแข็งแรงของวัสดุ และ กลศาสตร์ของแข็ง

  • เครื่องมือวัดและควบคุม

  • อุณหพลศาสตร์, การถ่ายเทความร้อน, ระบทำความร้อนและความเย็น

  • กลศาสตร์ของไหล

  • การออกแบบเครื่องกล (ทั้งในเชิงสถิตยศาสตร์ และ พลศาสตร์)

  • การผลิต

  • การเขียนแบบเชิงวิศวกรรม

วิศวกรเครื่องกลจำต้องมีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางเคมี, ฟิสิกส์, วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรรมโยธา อีกทั้ง หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลมีการสอนวิชาแคลคูลัสหลายรายวิชา อีกทั้งจะต้องมีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเช่น สมการเชิงอนุพันธ์ (รวมถึงสมการเชิงอนุพันธ์เชิงย่อย) และ พีชคณิต อีกด้วย

นอกจากนี้ บางหลักสูตรทางวิศวกรรมเครื่องกล อาจจะเน้นเฉพาะทางลงไปเช่น วิศวกรรมยานยนต์, วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน, วิศวกรรมต่อเรือ, วิศวกรรมจักรกลเกษตร หรือวิศวกรรมหุ่นยนต์หรือสาขาอื่นๆ

โดยส่วนมาก หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลจะบังคับให้นักศึกษาได้รับการฝึกงานในสถานประกอบการทางวิศวกรรมจริงอย่างน้อยหนึ่งรายวิชา แต่สำหรับประเทศไทยนั้น นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลทุกคนจะต้องผ่านการฝึกงานจริงหนึ่งรายวิชา ส่วนมากการฝึกงานของนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลในประเทศไทยจะถูกจัดอยู่ในภาคการศึกษาภาคฤดูร้อนของปีการศึกษาที่สาม