อาชีพหมอ

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติตามระเบียบการสอบคัดเลือกของทบวงมหาวิทยาลัยหรือตามระเบียบของโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยหรือตามระเบียบของโครงการพิเศษที่คณะฯ ดำเนินการสอบคัดเลือกเองและต้องมีคุณสมบัติที่จะสามารถเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีทั้งนี้หากไม่รับราชการหรือไม่ทำงานตามที่กำหนดจะต้องชดใช้เงินแก่มหาวิทยาลัย รักและชอบที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์

การศึกษาในคณะแพทยศาสตร์นั้นมีค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูงมากผู้เรียนส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนดังนั้นเมื่อเรียนจบจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามสัญญาของทางราชการเป็นเวลา 3 ปี เพื่อชดใช้ทุน (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันของเอกชน)หลังจากปฏิบัติงานเพื่อชดใช้ทุนแล้วแพทย์ที่มีความต้องการศึกษาต่อก็สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือศึกษาทางการแพทย์เฉพาะทางได้

1.รับตรง ก็คือ โควตาพื้นที่นั่นเองเป็นของแต่ละมหาลัยที่จะจัดสอบ(เพื่อให้ง่ายจะเรียกว่ารับตรงนะ)

2.กสพท.[กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย] (เรียกว่ารับกลางเพราะมันรวมทั่วประเทศ)

1. รับตรง หมายถึง ข้อสอบจะเป็นของแต่ละมหาลัยออกเอง การเลือกในระบบรับตรงโควตาจะต่างจากแอดกลาง(Admission) คือรับตรงจะเลือกได้สูงสุด 2 คณะในแต่ละมหาวิทยาลัยแต่มีสิทธิ์เลือกได้ 4 อันดับ แต่แอดกลางจะเลือกได้ 4 อันดับ มหาวิทลัยใดก็ได้คณะใดก็ได้

2. กสพท. จะเริ่มต้นรับสมัครประมาณเดือนสิงหาคม

คะแนนที่ใช้ก็แบ่งออกเป็น สัดส่วน 70 : 30 คือวิชาสามัญ 70% และวิชาความถนัดแพทย์30%

วิชาสามัญ70 % ก็เอามาแบ่งน้ำหนักให้แต่ละวิชาอีกทีเป็น วิทย์ 40% คณิต 20% อังกฤษ 20% ไทย 10 % สังคม 10%

แล้ววิชาที่สอบวิชาแรกเนี่ย คือความถนัดแพทย์ จะสอบตอนประมาณสิ้นเดือนตุลาคม (เห็นงี้มาสองปีละ) ส่วนวิชาสามัญสอบเดือนมกราคม ประกาศผลก็ กุมภาพันธ์

กสพท.จะมีสถาบันแพทย์ให้เลือกอยู่ 12สถาบัน และ ทันตะฯ 5 สถาบัน วิธีเลือกง่ายๆ... นร.เอาตารางคะแนนปีก่อนๆมากาง แล้วก็นั่งดู แล้วก็หยิบออกมา 4 มหาลัยที่ชอบก่อน จากนั้นก็เรียงคะแนน และเลือกมหาวิทยาลัย

>>แล้วพวกโครงการคืออะไร? เราเลือกมันได้ตอนไหน?

โครงการจะแบ่งออกเป็น 3 โครงการเฉพาะของแพทย์(เท่าที่รู้ตอนนี้) ถามว่าโครงการนี้มีที่ไหนบ้าง มีทั่วประเทศที่รับคณะแพทย์เลย แล้วแต่พื้นที่จังหวัดที่นร.อยู่ว่า ไปสังกัดมหาวิทยาลัยไหน อย่างภาคเหนือก็ขึ้นกับคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ ภาคกลางบางจังหวัดก็ขึ้นกับจุฬาฯบ้าง มหิดลบ้าง น้องต้องไปดูว่าตัวเองมีสิทธิ์สอบของที่ไหนบ้าง เราเลือกโครงการได้ ตอนที่สมัครสอบโควตา....

1.โครงการ One District One Doctor [ODOD] เรียกง่ายๆว่า โอดอท สำหรับภาคเหนือ คนที่มีสิทธิ์เลือกโครงการนี้ได้ ชื่อ>ตัวเอง< ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ ต้องไม่ใช่อำเภอเมือง [หรือ] ชื่อพ่อแม่น้อง ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นต่างอำเภอ และอยู่มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี

2.โครงการ Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor [CPIRD] เรียกว่า แพทย์ชนบท หรือเรียกเป็นชื่อโครงการไปเลยว่า ซี-เพริท แต่ส่วนมากก็เรียกกันย่อๆว่า แพทย์ชนฯ เป็นอันรู้กัน

3.โครงการ Mega Projects เรียกเลยว่า แพทย์เมกะฯ หรือ โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม แม้จะเป็นการผลิตแพทย์เพิ่มเหมือนกัน แต่ว่าต่างจาก CPIRD นะ

เกณฑ์ในการคัดเลือก

วิชาเฉพาะแพทย์ 30%

7 วิชาสามัญ 70 % แบ่งออกเป็น 7 วิชาดังนี้

วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ40% ( 28%)

คณิตศาสตร์ 20% ( 14%)

อังกฤษ 20% ( 14%)

ไทย 10% ( 7%)

สังคม 10% (7%)

รวม 100% (70%)

ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ

กสพท 700 บาท

7 วิชาเฉพาะ 700 บาท

ย้ำอีกครั้งเด็ก ม.6 รุ่นปัจจุบันหลังจากสอบผ่านรอบแรกแล้วต้องทำ O-NET ให้ถึง 60% โดยคิดคะแนนเฉพาะวิชาหลักได้แก่ ไทย สังคม อังกฤษ คณิต วิทย์ ถ้าไม่ถึง 60 ก็ไม่มีสิทธ์เรียน

แพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ตรวจวินัจฉัยโรค การบำบัดโรคการป้องกันโรค การเยี่ยวยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆเป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทักษะและความรู้อย่างสูงบุคคลที่จบการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุขและยังสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์มีการศึกษาเฉพาะทางอีกหลากหลายสาขาและแต่ละสาขาก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีกมากมายหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตใช้ระยะเวลาในการศึกษาตามหลักสูตร 6 ปี

1. การเรียนคณะแพทย์ ทุกสถาบันจะต้องเรียนทั้งสิ้น 6 ปี โดยจะแบ่งออกเป็น 2 section ใหญ่ๆ คือ

ช่วงชั้น pre clinic ได้แก่ ปี 1 2 และ 3

ช่วงชั้น clinic ได้แก่ ปี 4 5 และ 6 (ได้เจอผู้ป่วยในชั้น clinic)

ซึ่งเมื่อจบมาไม่ว่าที่ไหน จะเป็นแพทย์ที่ดีได้เหมือนกัน แต่ระหว่างการเรียนอาจจะต่างตรงวิชา หรือ วอร์ดที่จะผ่านก่อนหลัง เท่านั้นเอง

2.คำศัพท์ที่มักสงสัยกัน คือ

- Extern คือ นิสิตชั้นปีที่ 6

- Intern คือ แพทย์ใช้ทุน (หลังจบปี 6 แล้ว)

- ward คือ ที่ที่ผู้ป่วยพักอยู่ (ผู้ป่วยใน)

- Round คือ การไปเดินดูคนไข้ว่าอาการเป็นอย่างไร

3. ปี 1 เรียนอะไรบ้าง

- ภาษาอังกฤษ เช่น Experimental English 1+2 (อังกฤษมหาวิทยาลัย) English for Medical Professional 1+2 (เนื้อหาจะเกี่ยวกับแพทย์นิดนึง)

- Physics for Medical Students (จะเรียนฟิสิกส์แค่บางบท และเรียนแบบไม่มี cal ด้วย )

- Chemistry for Medical Students (จะเรียนทั้ง gen chem และ organic chem เนื้อหาแอบเยอะพอควร) +Lab

- Doctor and society (เรื่องเกี่ยวกับแพทย์ทั่วๆไป เช่น Holistic approach, ประวัติทางการแพทย์)

- Cell Biology for Medical Students (จะเป็นเนื้อหาคล้ายๆกับชีวะ ม.ปลาย แต่ละเอียดลึกขึ้น และเสริมเนื้อหาบางอย่างที่จะใช้ในปีต่อๆไป)

- วิชาเลือกทั่วไปอีก 18 หน่วยกิต ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้ตามอัธยาศัย

4. ปี 2 เรียนอะไรบ้าง

- ปีนี้จะเน้นเรียนเกี่ยวกับร่างกายที่ปกติของคนเรา

- ได้ผ่ากรอส (ผ่าอาจารย์ใหญ่) ในเทอม 1

- จุฬาฯ จะเรียนเป็นระบบ block (การ integrate เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกันนั่นเอง)

พูดง่ายๆ เช่น เมื่อเรียนระบบกระดูก จะต้องเรียนว่ามันอยู่ที่ไหน (anatomy) ทำงานยังไง (physiology) เป็นต้น

- วิชาอื่นๆ เช่น Metabolism and Nutrition (เมแทบอลิสมและโภชนาการ), Neuroscience (ประสาทศาสตร์) เป็นต้น

5. ปี 3 เรียนอะไรบ้าง

- ปีนี้เราจะเน้นไปที่ร่างกายที่ผิดปกติ (หลังจากที่เราเรียนร่างกายที่ปกติว่ามันเป็นยังไงในปี 2 ไปแล้ว)

- วิชาที่เราจะเรียนก็จะมีมากมาย (ก็ปีหน้าจะต้องไปตรวจคนไข้แล้วหนิ) ขอบอกเฉพาะที่สำคัญๆละกัน

Immunology (หลักภูมิคุ้มกันวิทยา), Microbiology and Parasitology, Pathology (หลักพยาธิวิทยา), Pharmacology (หลักเภสัชวิทยา)

** วิชาที่เหลือน้องอย่าพึ่งไปสนใจละกัน มันเป็นเกร็ดๆ บอกไปก็คง งงๆ กันได้อีก

- จะมีบางวิชาที่ใช้ PBL (Problem based learning) คือ ใช้ปัญหาเป็นฐาน พูดง่ายๆคือ จะมีสถานการณ์ให้ว่า

ถ้ามีคนไข้มาด้วยอาการอย่างนี้ คิดว่าเค้าเป็นโรคอะไร ควรรักษายังไง เพื่อเตรียมความพร้อมให้น้องก่อนขึ้นวอร์ด

6. ชั้น clinic เรียนอะไรบ้าง

- ได้ใช้ stethoscope (หูฟังของหมออ่า) และตรวจคนไข้ตั้งแต่ปี 4 โดยผ่านวอร์ดต่างๆ เช่น สูติ /ศัลย์ /อายุรศาสตร์ /กุมาร เป็นต้น

- ปี 4 กับ 5 จะต่างกันเพียงวอร์ดที่น้องจะเจอ

- ปี 6 จะต้องผ่านใหม่ทุกวอร์ด รวมถึงออกชุมชนด้วย ซึ่งน้องต้องฝึกจำ dose ยาที่จะใช้ และทำ(ให้ได้)ทุกอย่าง เพราะ จะจบไปเป็นหมอแล้ว

- ชั้น clinic จะเรียนกันอย่างเมามัน คุ้มค่าหน่วยกิต

1. เปิดเทอมก่อนคณะอื่น :: ปี 4 จะเปิดเทอมประมาณ ต้นๆ พ.ค. (คณะอื่นเปิด 2 มิ.ย. 555) ซึ่งปี 5 เปิดก่อนปี 4 และ ปี 6 เปิดก่อนปี 5

2.ตอนเช้าและเย็น ต้องมาราวด์วอร์ด (ตรวจคนไข้ที่นอนใน ร.พ.) ทุกจันทร์-ศุกร์ บางวอร์ดราวเสาร์ อาทิตย์ด้วย

ตอนสายๆและบ่ายๆ ไปเรียนบรรยาย ฝึกทำหัตถการ

ตอนกลางคืน (ถ้าโชคดี) ปี 4 5 อยู่เวรเที่ยงคืน ปี 6 อยู่เวรถึงเช้า ซึ่งวันรุ่นขึ้งก็จะเรียนตามปกติ ไม่เกี่ยวว่าอยู่เวรแล้ววันรุ่งขึ้นหยุดพักผ่อน

คณะแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ

คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี