นายธวัช ชาติวัฒนา

ภูมิปัญญา ด้านแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ-สกุล นายธวัช ชาติวัฒนา

ประเภท แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 2 (บ้านหนองบัว) ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


รายละเอียด องค์ความรู้ของภูมิปัญญา

เนื่องจากปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบกับปัญหาข้าวยากหมากแพง ทำให้ประชาชน

หลายคนต้องมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยทุกคนนั้นหลุดพ้นจากความ ยากลำบาก คือ เศรษฐกิจพอเพียง คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงจัดตั้งโครงการขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่เดือดร้อน อาทิเช่น ของแพง ราคาสินค้าขึ้นราคา ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยต้องใช้จ่ายแบบประหยัดบางครั้งจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินก็อาจจะหมดไปและทำให้ไม่มีเงินเก็บออมจนประชาชนบางกลุ่มต้องเดือดร้อนเพราะรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย แต่ถ้าประชาชนชาวไทยรู้จักหันมาใช้จ่ายอย่างพอเพียง รู้จักเก็บออมมากขึ้น รู้จักการทำมาหากินที่สุจริต และดำรงชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนก็จะอยู่ภายใต้ความพอเพียงได้อย่างมีความสุข ดังนั้นข้าพเจ้าจึงจัดทำเรื่องเห็ดนางฟ้า ซึ่งได้จัดทำโดยการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลมาใช้ประกอบในการทำโครงงาน และดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด การทำโครงงานเกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า สามารถให้อะไรหลายสิ่งแก่เรา เช่น ถ้านำมาเพาะเพื่อใช้เป็นอาหาร สามารถนำมาจำหน่ายได้ เพราะเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมมาก มีรสชาติอร่อย ให้คุณค่ามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดมีสารโปรตีนสูง และโปรตีนของเห็ดจะไม่มีสารคอเรสเตอรอล ที่เป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนของโลหิต ประกอบกับเห็ดมีปริมาณธาตุโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับโรคไต โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก

การเพาะเห็ดในชุมชนหนองบัวในเขตเทศบาลเมืองคลองแห ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นชุมชนกึ่งเมือง กึ่งชนบท เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นพื้นที่การเกษตรลดลง จึงทำให้เกิดแนวคิดว่า ควรจะปลูกพืชชนิดใดที่สามารถใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด ซึ่งไม่มีทางเลือกมากนัก จึงได้เริ่มก่อตั้ง แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการเพาะเห็ดครบวงจรและการแปรรูป” ขึ้นเมื่อ เดือนตุลาคม ๒๕๕๙ และได้มีนำออกสู้ตลาดครั้งแรก เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ ราคาแรกเริ่มทั้งปลีก-ส่งกิโลละ ๖๐ บาท ปัจจุบันกิโลละ ๘๐ บาท ขณะนี้สามารถเก็บผลผลิตได้ 25-30 กิโลกรัม ต่อวัน ขนาดโรงเรือนสามารถเก็บก้อนเห็ดได้ ๑๐,๐๐๐ ก้อน และกำลังพัฒนาการก่อสร้างโรงเรือนเพิ่มเติม อีก ๕ โรงเรือน ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ ก้อน เพื่อให้ได้ ๕๐,๐๐๐ ก้อน เพื่อเปิดดอกจำหน่าย และพัฒนาเครื่องมือที่สามารถลดแรงงานจากคน ได้ดีเลยทีเดียว โดยการนำเครื่องจักรมาทำขั้นต้อนการอัดก้อน ขั้นตอนการผสมคลุกเคล้าก้อนเห็ดสามารถผลิตได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมเลยทีเดียว

ปัจจุบันกลุ่มการเพาะเห็ดนางฟ้าได้มีการขยายไปสู้ชุมชนใกล้เคียงทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 และได้มีการพัฒนาไปสู้วิสาหกิจชุมชนของชุมชนหนองบัวได้มีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเรียบร้อยแล้วเพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน กลุ่มมีความเข้มแข็งสามารถสร้างร้ายได้ สร้างอาชีพให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีและมีโครงการที่จะทำการผลิตปุ๋ยจากก้อนเชื้อเห็ดเก่าเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากก้อนเชื่อเห็ดที่หมดอายุ สามารถนำกลับมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ดีทีเดียว