ประวัติเมืองหาดใหญ่

    จากคําบอกเล่าสืบต่อมาของทายาทหลวงบริรักษ์ภูเบศรและคนเก่าแก่ดั้งเดิมว่า ได้มีการสู้รบถึงขั้นตะลุมบอนที่บริเวณท่าหาดใหญ่ ท่าเคียน กินพื้นที่ไปถึงท่าพันตัน จึงเกิดพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ขึ้นอย่างน้อย ๓ พื้นที่ คือ

- โคกปาบ หมายถึงบริเวณที่ปราบข้าศึกสําเร็จ ปัจจุบัน (๒๕๕๐) สภาพยังคงเป็นยางพาราพื้นบ้านคละด้วยไม้ยืนต้นอยู่ตรงข้ามกันโคกยอมทางทิศใต้ โดยมีคลองหวะกันโอบไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกโคกปาบห่างจากคลองอู่ตะเภา ประมาณ ๑๐๐ เมตร

-  ปลักโต๊ะหมาน คือบริเวณบึงน้ำที่หัวหน้าฝ่ายข้าศึกถึงแก่ชีวิตในการสู้รบ ปัจจุบันคือบริเวณการประปาหาดใหญ่

- โคกยอม คือบริเวณที่ข้าศึกยอมแพ้ ปัจจุบันคือบริเวณหมู่บ้านนพเก้า บริเวณสู้รบนี้น่าจะต่อเนื่องมาจากแนวเส้นทางบกจากเมืองไทรบุรีถึงเมืองสงขลา โดยข้าศึกที่เดินทางมาตามเส้นทางนี้ ต้องผ่านจุดนี้ก่อนบุกไปถึงทุ่งน้ำกระจายจุดที่พงศาวดารบันทึกว่าฝ่ายข้าศึกเสียที่ล่าถอยไป

        

หลวงปู่เปรียว จันทะวงศ์ ผู้หักร้างถางพง บริเวณหัวถนนประธานอุทิศ จตถนนรัถการ และถือครองบริเวณนั้น (สมัยยังไม่มีถนน) เป็นหลังแรก ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ หรือก่อนจากนั้นท่านมีความรู้ทางไสยศาสตร์และเชี่ยวชาญทางด้านหมอผี จึงกล้ามาลงหลักปักฐานบริเวณนี้หลวงปู่เปรียวฯ เรียกที่สิงสถิตของทวดทองว่า “กุฏิ” เพื่อเน้นถึงการยอมรับในคุณสมบัติ ผู้มีศีลธรรม คุณธรรม ของทวดทองเมื่อครั้งมี ชีวิตและความอ่อนน้อมถ่อมตนยกย่องในบารมีของทวดทอง

(ภาพจาก : ย้อนอดีตนครหาดใหญ่ (ชุด ๑) หาดใหญ่ไม่ไร้ราก รัฐ-ประชาร่วมพัฒนาร่วมสร้างและของฝากจากเขาคอหงส์, ๒๕๕๒ : ๑๗)

ลำดับเหตุการณ์สำคัญอำเภอหาดใหญ่

        อำเภอหาดใหญ่ ในปัจจุบัน (๒๕๖๔) ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวนับร้อย ๆ ปี ซึ่งสามารถลำดับเหตุการณ์สำคัญ ๆ ได้ดังนี้

- พ.ศ. ๒๓๘๑ โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในนามทุ่งหาดใหญ่ ในเอกสารจดหมายหลวงอุดมสมบัติที่เขียนถึงพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) ฉบับที่ ๑ และในพงศาวดารเมืองสงขลา เรียบเรียงโดยพระยาวิเชียรคิรี (ชม) กล่าวว่าในระหว่านั้นได้เกิดศึกสงครามระหว่างเมืองไทรบุรีกับเมืองสงขลา ปรากฎว่าทุ่งหาดใหญ่เป็นหนึ่งในเส้นทางของการทำศึกสงคราม  ในบันทึกการรบระหว่างสงขลา โดยความช่วยเหลือจากกรุงเทพฯกับเมืองไทรบุรี ที่เป็นกบฎในสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้หลักฐานจากจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ถึงพระยาศรีพิพัฒน์ ฉบับที่ ๑ ได้กล่าวถึงหาดใหญ่ ๓ ครั้ง 

ครั้งที่ ๑ ที่กล่าวถึงมีความว่าพระยาไทร(ท่านที่ถูกกบฎ)ให้คนมาจัดซื้อข้าวที่สงขลาได้ 20 เกวียน ไปจ่ายให้กองทัพ ๑,๑๙๔ คน ที่ หาดใหญ่

ครั้งที่ ๒ (ในจดหมายฉบับเดียวกัน แต่บอกเวลาห่างจากครั้งแรกประมาณ ๒ เดือน ) ว่าพระยาสงขลา(เถี้ยนเส้ง เป็นเจ้าเมืองคนที่ ๔) กับนายทัพนายกองยกออกไปพร้อมกัน ณ ที่หาดใหญ่

ครั้งที่ ๓ อีกประมาณ ๑๐ วันต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงทราบเรื่องการศึกพ่ายแพ้ ทรงโทมนัสตรัสบ่นว่า "ความก็รู้อยู่ด้วยกันแล้ว ยังให้มันหลอกลวงทำได้ กองทัพสงขลายกไปอยู่ที่หาดใหญ่ จะคัดจัดแจงเอาพวกสงขลาอุดหนุนติดตามกันออกไปก็ไม่มี" หลังจากนั้นพระยาสงขลาเกณฑ์ไพร่ได้เสร็จแล้วรีบยกขึ้นไปตั้งที่ท่าหาดใหญ่ แล้วให้หลวงบริรักษ์ภูเบศร์ ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา เป็นกองส่งเสบียงอาหารอยู่ที่ตำบลท่าหาดใหญ่

- พ.ศ. ๒๔๐๕ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าให้สร้างทางหลวงระหว่างเมืองไทรบุรีเชื่อมต่อเมืองสงขลา (ถนนกาญจนวนิช) เพื่อให้ประชาชนและพ่อค้าแม่ค้าสามารถสัญจรไปมาได้สะดวก ส่งผลให้หาดใหญ่กลายเป็นศูนย์กลางคมนาคมและขนส่งสินค้่ และทำให้หาดใหญ่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป 



พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงส์) (นายอำเภอเหนือคนสุดท้าย)

- พ.ศ. ๒๔๓๙ ก่อตั้ง "อำเภอฝ่ายเหนือ"

- พ.ศ. ๒๔๔๒ อำเภอฝ่ายเหนือ ตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ ท่าหาดใหญ่ บริเวณริมคลองอู่ตะเภา (บริเวณที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ในปัจจุบัน)

- พ.ศ. ๒๔๔๗ หลวงภูวนารถบุรารักษ์ (อ่อน เศวตนันท์) เป็นนายอำเภอฝ่ายเหนือคนแรก

- พ.ศ. ๒๔๔๘ นายเจียกีซี อพยพมาจากประเทศจีน

- พ.ศ. ๒๔๕๐ หลวงพ่อปาน ปุญญมณี เจ้าอาวาสวัดคลองเรียน รับเด็ก ๆ ในละแวกวัด เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในอาคารเรียนและที่กุฏิ

- พ.ศ. ๒๔๕๒ รัชกาลที่ ๕ มีพระบรมราชโองการให้สร้างทางรถไฟสายใต้  และนายเจียกีซี ได้เข้าทำงานกับบริษัทรับเหมาสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไปช่วงเส้นทางพัทลุง-สงขลา

- พ.ศ. ๒๔๕๓ ทางรถไฟสายใต้ได้สร้างมาถึงบริเวณบ้านอู่ตะเภาและบ้านโคกเสม็ดชุน โดยเส้นทางรถไฟได้สิ้นสุดตรงบริเวณสถานีอู่ตะเภา

- พ.ศ. ๒๔๕๕ นายเจียกีซีซื้อที่ดิน ๕๐ ไร่ บริเวณบ้านโคกเสม็ดชุน (บริเวณสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบัน)

- พ.ศ. ๒๔๕๖ เริ่มมีการทำเหมืองแร่ที่หาดใหญ่

- พ.ศ. ๒๔๕๗ นายเจียกีซี ก่อตั้งบริษัทนิพัทธ์และบุตร ดำเนินกิจการทั้งแร่ดีบุกและวุลแฟรม/พระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงส์) ย้ายจากพัทลุงมาเป็นนายอำเภอ (นับเป็นนายอำเภอเหนือคนสุดท้าย)

- พ.ศ. ๒๔๕๘ นายเจียกีซีและชาวบ้าน ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคลองเรียน และขยายทางเดินไปวัดคลองเรียน ต่อมาถนนสายนี้มีชื่อว่า "ถนนศรีภูวนารถ" / ทางการได้มีการขอซื้อที่ส่วนหนึ่งของนายเจียกีซีเพื่อสร้างย่านรถไฟ


สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภา เป็นสถานีรถไฟแห่งแรกในหาดใหญ่

- พ.ศ. ๒๔๖๗ มีการจัดงานเฉลิมฉลองสถานีรถไฟ และ "ตลาดหาดใหญ่" หรือ "ตลาดโคกเสม็ดชุน" ขณะเดียวกันได้มีหมอจากอินเดีย นามว่า "หมอปิแอร์" ได้เข้ามาเปิดร้านหมอรักษาโรคทุกชนิดชื่อ “ดาราสยามโอสถ” (ถนนนิพัทธ์อุทิศ ๑)

- พ.ศ. ๒๔๗๐ เกิดท่าเรือขึ้นที่บริเวณ "ท่าหาดใหญ่" ตรงริมคลองอู่ตะเภา 

- พ.ศ. ๒๔๗๑ ตลาดหาดใหญ่ยกฐานะให้เป็นสุขาภิบาล

- พ.ศ. ๒๔๗๒ รัชกาลที่ ๗ เสด็จประพาสภาคใต้ ได้พิจารณาคุณงามความดี "นายเจียกีซี" จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "ขุนนิพัทธ์จีนนคร" ขณะเดียวกันในปีนี้ก็ได้ถือกำเนิดโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า "หาดใหญ่สำเริงสถาน" หรือ "HAADYAICINEMA" ดำเนินการโดยบริษัทภาพยนตร์ซีตงก๊ก และเกิดเรื่องเศร้าเมื่อหลวงพ่อปาน ปุญญมณี มรณภาพ / กำเนิดอาคารรูปแบบผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกรู้จักในชื่อ ตึกชิโนยูโรเปี้ยนหรือตึกชิโนโปรตุกีส บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๑

- พ.ศ. ๒๔๗๔ รัชกาลที่  ๗ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ "นายจันฮกซุ่น" เป็น "หลวงพิธานอำนวยกิจ"

- พ.ศ. ๒๔๗๖ กระทรวงเกษตราธิการ จัดตั้ง "สถานีทดลองกสิกรรมภาคใต้" ที่ตำบลคอหงส์

- พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อหาดใหญ่มีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงมีประกาศในพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น "สุขาภิบาลหาดใหญ่" และได้มีการก่อตั้ง "โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา" โรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของอำเภอหาดใหญ่ โดยมี "อาจารย์ประดิษฐ์ ดิษยะศริน" เป็นครูใหญ่คนแรก

- พ.ศ. ๒๔๘๐ คุณละม้าย ฉัยยากุล บริจาคที่ดินสร้าง "มัสยิดปากีสถาน" ที่ถนนรัถการ (ตลาดสด) /กำเนิดโรงภาพยนตร์สุคนธหงส์ ของพระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงส์) / กำเนิดตลาดเอกชนชื่อว่า “ตลาดเจียซีกี” / ทำพิธีผูกพัทธสีมา และเปลี่ยนชื่อ “วัดโคกเสม็ดชุน” เป็น “วัดโคกสมานคุณ” / กำเนิด "คาสิโนเมืองหาดใหญ่" บริเวณหน้าสถานีรถไฟ


- พ.ศ. ๒๕๑๒ เปิดใช้สะพานลอยข้ามทางรถไฟ

- พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระพุทธมงคลบพิตร ณ วิหารพระพุทธมหามงคลบพิตร วัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่ใน)

- พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถวัดโคกสมานคุณ

- พ.ศ. ๒๕๒๘ เปิดอนุสาวรีย์ขุนนิพัทธ์จีนนคร ณ สนามกีฬาจิระนคร

- พ.ศ. ๒๕๒๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการก่อสร้างอาคารที่พักผู้ป่วยและญาติเพิ่มเติม ต่อมาทุกฝ่ายมีมติให้ใช้ชื่อ “อาคารเย็นศิระ”

- พ.ศ. ๒๕๓๑ เปิดทำการท่าอากาศยานหาดใหญ่


- พ.ศ. ๒๕๓๘ ยกฐานะจากเทศบาลเมืองหาดใหญ่ มาเป็น "เทศบาลนครหาดใหญ่"

- พ.ศ. ๒๕๔๓ เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุด โดยน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่เกือบสัปดาห์ ส่งผลให้ศูนย์เสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

- พ.ศ. ๒๕๕๓ เกิดพายุดีเปรสเข้าถล่มหลายพื้นที่ภาคใต้ หาดใหญ่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง

อขอบคุณข้อมูและรูปภาพจาก : ฐานข้อมูล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

: https://www.hatyaifocus.com/

       อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จากหนังสือพงศาวดารฉบับพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พิมพ์ปี ๒๔๖๙ ได้บันทึกไว้ว่า “ในปี พ.ศ. ๒๓๘๑  ตนกูหมัดสะวะ หลานเจ้าพระยาไทรบุรี ซึ่งหนีไปอยู่ที่เกาะหมากแต่ครั้งก่อน  ซ่องสุมสมัครพรรคพวกได้แล้วยกเข้ามาตีชิงเอาเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์ พระยาไทรบุรี บุตรเจ้าพระยานครทานกำลังของตนกูหมัดสะวะไม่ได้ ก็ยกครอบครัวล่าถอยเข้ามาตั้งอยู่ที่ตําบลท่าหาดใหญ่ แขวงเมืองสงขลา” บันทึกดังกล่าวใช้คําว่า "ตําบลท่าหาดใหญ่" ส่วนพงศาวดารของพระยาวิเชียรศรีสมุทร (บุญสังข์) ซึ่งเขียนเมื่อปีเถาะจุลศักราช ๑๒๐๗ (พ.ศ. ๒๓๘๘) ใช้คําว่า “ทุ่งหาดใหญ่" และ “หาดใหญ่" จากหนังสือการตั้งหลักแหล่งในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ (พ.ศ. ๒๓๘๑-พ.ศ. ๒๕๒๐) ของเถกิงศักดิ์ พัฒโน ได้วิเคราะห์ไว้ว่าข้อแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มิใช่ประเด็นสําคัญ บริเวณนั้นอาจจะมีทั้งทําและทุ่งต่อเนื่องกัน ข้อควรศึกษาก็คือ

๑. ปรากฏชื่อ “หาดใหญ่” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๑

๒. มีการสู้รบในเส้นทางจากพะตงการำถึงบ้านน้ำกระจาย ตามที่บันทึกไว้ในพงศาวดารและคําบอกเล่าสืบต่อกันมาของคนในพื้นที่ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์ตามเส้นทางโบราณก่อนที่จะมีถนนไทรบุรี (ถนนกาญจนวนิชในปัจจุบัน) ซึ่งต้องผ่านพื้นที่หาดใหญ่คือ

- ขบถเมืองไทรยกเข้ามาตีตําบลที่พะตงการำแตก

- พระยาตานี พระยายิริง พระยาลาย ล่าทัพเข้ามาตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลบ้านน้ำกระจาย

- กองทัพเมืองไทรบุรีรุกตามเข้ามาทันกองทัพพระยาลายที่ทุ่งนาหน้าบ้านน้ำกระจายเกิดการรบพุ่งกัน ถึงขั้นตะลุมบอน .... เมืองไทรบุรีล่าถอยไป

หลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ (ผัน)  

ข้อมูลและภาพถ่าย จากคุณเอนก ณ สงขลา และหนังสือรวมญาติ ณ สงขลา ครั้งที่ ๒๒ (๒๒ มกราคม ๒๕๔๙) 

คนรุ่นเก่าเล่าว่าสภาพในอดีตของบริเวณระหว่างแนวถนนไทรบุรีและโคกยอม โคกปาบ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่โคก ที่ดอนและป่าละเมาะเป็นบางตอน ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งนา มีลําคลองไหลผ่านทุ่งนา มาบรรจบกับคลองหวะก่อนผ่านโคกปาบ โคกยอมและลงคลองอู่ตะเภา คือพื้นที่ระหว่างบ้านคลองหวะกับคลองอู่ตะเภาและบ้านคลองหวะกับบ้านพรุในช่วงใกล้ถนนกาญจนวนิช (ไทรบุรี) ปัจจุบัน เมื่อปลาย ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้ว่าราชการเมืองเห็นว่ากรมการเมืองในสงขลามีมากไม่มีประโยชน์อันใด จึงจัดยกเลิกนายอําเภอและนายแขวงเสีย ตั้งเป็นตําบลบ้าน คือบ้านหนึ่ง มีนายบ้านผู้หนึ่งกํากับ ดังนั้นอําเภอหนึ่งจึงแยกมีนายบ้านหลายสิบตําบล นายบ้านทั้งปวงในอําเภอหนึ่งให้รวมขึ้นกับกรมการเมืองผู้หนึ่ง บริเวณอําเภอหาดใหญ่ปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงท้องที่อําเภอหาดใหญ่ อําเภอนาหม่อม อําเภอบางกล่ำ อําเภอคลองหอยโข่งในขณะนั้น อยู่ในความดูแลปกครองของกรมหลวงรักษาพลสยาม ประกอบด้วยบ้านต่าง ๆ ๑๑๓ บ้าน เรือน ๒,๘๐๕2 ครัวเรือน มีวัด ๑๔ วัด  

ร่องรอยป่าช้าทวดทองและศาลทวดทองในบริเวณโรงพยาบาล หาดใหญ่สภาพเดิมก่อนปรับปรุงเป็นอนุสรณ์สถานทวดทอง บ่งบอกถึงรากเหง้า เก่าแก่ของคนพื้นถิ่น ทวดทองมีลูกหลานกระจายทั่วนครหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องมาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ชั่วชั้นคน ต่อมา ได้ทำพิธีล้างป่าช้าเพื่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สมัยนายกี่ จิระนคร เป็นนายกเทศมนตรี 

ขุนนิพัทธ์จีนนคร หรือนายเจียกีซี ผู้บุกเบิกหาดใหญ่ยุคแรกสุด อุทิศที่ดิน พัฒนาจากป่าสู่เมืองใหญ่

ถนนไทรบุรี (กาญจนวณิชย์) 

ขอบคุณรูปภาพจาก hatyaifocus.com

- พ.ศ. ๒๔๑๑ เมืองสงขลา ได้แบ่งออกเป็น ๕ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอกลางเมือง อำเภอปละท่า อำเภอเหนือ อำเภอจะนะ และอำเทพา

- พ.ศ. ๒๔๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จกลับจากอินเดียผ่านเมืองไทรบุรี และเสด็จประทับพักแรมบริเวณหาดทรายใหญ่ (คลองอู่ตะเภา)

- พ.ศ. ๒๔๒๗ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช เสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ ได้ทรงแต่งหนังสือ “ชีวิวัฒน์” เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๕ โดยทรงบรรยายถึงสภาพคลองอู่ตะเภา มีการกล่าวถึงสวนส้มของชาวบ้านและพูดถึงวัดแห่งหนึ่งชื่อว่า "วัดสระเต่า" (วัดคูเต่า)

- พ.ศ. ๒๔๒๘ ปรากฏหลักฐานการตั้งบ้านเรือนบริเวณโคกเสม็ดชุน ซึ่งขณะนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของโคกเสม็ดชุน มีสภาพเป็นหนองบึงและป่ารกร้าง

- พ.ศ. ๒๔๒๙ นายเจียกีซีหรือขุนนิพัทธ์จีนนคร ได้ถือกำเนิดขึ้นในปีนั้น

- พ.ศ. ๒๔๓๒ จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๕ ครั้นเสด็จประพาสแหลมมลายู โดยมีการกล่าวถึงสภาพของ "คลองอู่ตะเภา" กล่าว่า คลองอู่ตะเภาเป็นคลองที่ใหญ่กว่าคลองทุกสาย ขณะเดียวกันสงขลาแบ่งการปกครองเป็น ๑๓ อำเภอ โดยหาดใหญ่อยู่ภายในเขตของ "อำเภอหลวงรักษาพลสยาม" หาดใหญ่ประกอบด้วยบ้านหาดใหญ่ ๔ หลังคาเรือน และบ้านโคกเสม็ดชุน ๑๐ เรือน

- พ.ศ. ๒๔๓๔ เมืองสงขลาแบ่งออกเป็น ๑๔ อำเภอ และมีนายอำเภอประจำ


ขุนนิพทธ์จีนนคร (เจียกีซี) ต้นตระกูลจิระนคร 

- พ.ศ. ๒๔๕๙ นายเจียกีซี ตัดถนนเจียกีซี ๑,๒,๓ โดยถนนเจียกีซีภายหลังเป็นชื่อเป็น "ถนนธรรมนูญวิถี" ส่วนถนนเจียกีซี ๑-๓ ก็เปลี่ยนเป็นถนนนิพัทธ์อุทิศ ๑-๓ (ถนนสาย ๑,๒,๓) และสร้างห้องแถว ๕ ห้องแรก มีลักษณะเป็นฝาขัดแตะหลังคาจากเพื่อทำเป็นโรงแรมเคี่ยนไท้และโรงแรมหยี่กี

- พ.ศ. ๒๔๖๐ จุดเริ่มต้นก่อกำเนิดเมืองหาดใหญ่ เนื่องจาก "อำเภอฝ่ายเหนือ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอหาดใหญ่" โดยมีพระเสน่หามนตรี (ชื่น สุคนธหงส์) เป็นนายอำเภอหาดใหญ่คนแรก และได้มีการย้ายสถานีไฟจากสถานีอู่ตะเภามายังบ้านโคกเสม็ดชุนโดยใช้ชื่อว่า "สถานีรถไฟหาดใหญ่"

- พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๗ เกิดบริษัทเกี่ยวกับยางพารา เหมืองแร่ โรงแรม ตลาด โรงมหรสพมากมาย นับว่าเป็นช่วงที่หาดใหญ่รุ่งเรืองมาก

- พ.ศ. ๒๔๖๕ หลวงพ่อปาน ปุญญมณี เริ่มบุกเบิกวัดโคกเสม็ดชุน (แต่เดิมเป็นวัดร้าง) โดยหลวงพ่อปานได้สร้างที่พักสงฆ์ในบริเวณวัดร้าง ซึ่งปรากฏร่องรอยพัทธสีมาเป็นไม้แก่นปักอยู่/หาดใหญ่ก่อตั้ง "โรงเรียนประจำตำบลหาดใหญ่" ขึ้น (โรงเรียนเทศบาล ๒)

- พ.ศ. ๒๔๖๖ หาดใหญ่มีประชาชนอาศัยอยู่ ๑๐ หลังคาเรือน และมีการสร้าง "วัดโคกเสม็ดชุน" / "นายซีกิมหยง" ได้อุทิศที่ดินเพื่อสร้าง "ตลาดซีกิมหยง" และสร้างวัดจีน สุเหร่า โรงเจ โรงพยาบาลมิชชั่น/ก่อกำเนิด "โรงเรียนศรีนคร" โดยนายซีกิมหยง


โรงภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า "หาดใหญ่สำเริงสถาน" หรือ "HAADYAICINEMA"  

- พ.ศ. ๒๔๘๒ ก่อตั้ง "ค่ายเสนาณรงค์" ณ ตำบลคอหงส์ และทางเทศบาลได้ซื้อที่ดินจาก "นายลีเอ็งเสียง" จำนวน ๒๐ ไร่ บนถนนเพชรเกษมเพื่อสร้างที่ทำการเทศบาลหาดใหญ่ / กำเนิด "โรงภาพยนตร์เฉลิมยนต์" ของขุนนิพัทธ์

- พ.ศ. ๒๔๘๔ เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา และเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม กองทัพแห่งจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นบุกสงขลา มีการทิ้งระเบิดบริเวณหน้าสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

- พ.ศ. ๒๔๘๕ ญี่ปุ่นสร้างสะพานข้ามคลองอู่ตะเภา ข้างที่ว่าการอำเภอ

- พ.ศ. ๒๔๘๘ หลวงพิธานอำนวยกิจ เปิดบริษัทพิธานพาณิชย์ จำกัด สาขาหาดใหญ่ ในปีนั้นก็ได้เปิดโรงเรียนหาดใหญ่ อย่างเป็นทางการ

- พ.ศ. ๒๔๘๙ เกิดอัคคีภัยอาคารบริเวณถนนรถไฟ / บริเวณแถว ๆ หาดใหญ่พลาซ่าในปัจจุบัน 

- พ.ศ. ๒๔๙๐ ยกฐานะหาดใหญ่ขึ้นเป็นอำเภอชั้นเอก

- พ.ศ. ๒๔๙๒ ยกฐานะเทศบาลตำบลหาดใหญ่ เป็น "เทศบาลเมืองหาดใหญ่"

- พ.ศ. ๒๔๙๓ เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ในเมืองหาดใหญ่ โดยเปลวเพลิงเผาผลาญบ้านเรือนบริเวณถนนิพัทธ์อุทิศ ๑ เสียหายเกือบทั้งสาย นับว่าเป็นอัคคีภัยครั้งใหญ่ที่สุดของเมืองหาดใหญ่

- พ.ศ. ๒๔๙๖ พิธีวางศิลาฤกษ์ "ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่"

- พ.ศ. ๒๔๙๗ นายกี่ จิระนคร เป็นนายกเทศมนตรี ได้เริ่มสร้าง "ตลาดสดหาดใหญ่"

- พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มก่อสร้างสนามจิระนครหาดใหญ่หรือสนามกีฬากลาง

- พ.ศ. ๒๕๐๐ เปิดตลาดสดหาดใหญ่/เปิดใช้หอนาฬิกาหาดใหญ่บริเวณหน้าพลาซ่า สร้างเป็นอนุสรณ์แก่หลวงพิธานอำนวยกิจ/มีการก่อสร้าง โรงพยาบาลหาดใหญ่ในพื้นที่ป่าช้าเก่า

- พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรภาคใต้ และเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในอำเภอหาดใหญ่/เปิดทำการโรงพยาบาลหาดใหญ่

-พ.ศ. ๒๕๐๓ เมืองหาดใหญ่ถูกเปรียบให้เป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้

-พ.ศ. ๒๕๑๐ สร้างที่ทำการเทศบาลหาดใหญ่ และวางผังเมืองหาดใหญ่

- พ.ศ. ๒๕๑๑ ประกาศใช้ พรบ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


สะพานลอยข้ามทางรถไฟ