แหล่งเรียนรู้ตลาดน้ำคลองแห

แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลคลองแห

2.ชื่อแหล่งเรียนรู้ตลาดน้ำคลองแห

ประเภทแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม

ที่ตั้ง ตลาดน้ำคลองแห หมู่ที่ 4 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


รายละเอียดองค์ความรู้ของแหล่งเรียนรู้

ตลาดน้ำคลองแห” เป็นตลาดน้ำเชิงวัฒนธรรมแห่งแรกของภาคใต้ มีลักษณะของตลาดที่ผสมผสานระหว่างตลาดน้ำ (จำหน่ายสินค้าในเรือ) และตลาดโบราณ (จำหน่ายสินค้าทางบก) มีทั้งพ่อค้า แม่ค้า นำอาหารพื้นบ้าน คาว – หวาน เป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นและผลผลิตทางเกษตรมาจำหน่าย ตลาดน้ำคลองแหเปิดบริการทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. – นอกจากนี้ได้มีการสำรวจตลาดน้ำคลองแหและชมทัศนียภาพของสองฝั่งคลอง และพบเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบดั้งเดิม เช่น การยกบาม ชาวบ้านพายเรือเก็บผักบุ้ง ตัดผักกระเฉด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังคงมีอยู่ในลำคลองแหในปัจจุบัน จากการล่องเรือในวันนั้นภาพที่เห็นทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาสายน้ำแห่งนี้ให้เป็นจุดศูนย์กลางของการพบปะของประชาชน คิดหาวิธีเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้เป็นจุดศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นต่อไป จึงได้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งบรรดางานวิจัยที่ได้เคยมีการทำวิจัยในพื้นที่ อีกทั้งสืบค้นข้อมูลประวัติของพื้นที่จึงได้พบว่าในสมัยก่อนที่ตรงนี้เคยเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นแหล่งพบปะเรือสำเภาจากต่างถิ่นซึ่งแล่นมาทำการค้ายังที่แห่งนี้ จึงได้นำเสนอนโยบายสร้าง “ตลาดน้ำคลองแห” เป็นจุดขาย อีกทั้งได้จัดศึกษาดูงานโดยนำเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งชาวบ้านผู้ที่ตั้งใจจะค้าขายไปดูงานยังตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน รูปแบบการบริหารจัดการ และอื่น ๆ รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และจากส่วนกลางทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น

“ตลาดน้ำคลองแห” จะเป็นศูนย์รวมของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เดิมที “ตลาดน้ำคลองแห” ได้มีการทดลองเปิดจำหน่ายสินค้าทางน้ำเป็นการเฉพาะกิจในช่วงประเพณีสงกรานต์ และงานศิลปวัฒนธรรมย้อนตำนานคลองแห ซึ่งการดำเนินการในครั้งนั้นเป็นไปด้วยดีจึงมีการเรียกร้องจากพ่อค้า – แม่ค้าให้ “ตลาดน้ำคลองแห” เปิดดำเนินการอย่างจริงจังจึงเป็นเหตุให้มีการเปิดดำเนินการเรื่อยมาในทุกเย็นวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ โดยระยะที่ ๑ มีเรือจำหน่ายสินค้าเริ่มต้น จำนวน ๔๐ ลำ ซึ่งเปิดดำเนินการในระยะที่ ๒ เทศบาลได้มีการจัดรูปแบบใหม่โดยกำหนดให้มีร้านค้าบนบกขึ้นเน้นรูปแบบโบราณโดยการจัดพื้นที่ขายให้มีความเป็นระเบียบสวยงาม และปัจจุบันมีเรือจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน ๗๗ ลำ และร้านค้าของตลาดโบราณมีจำนวนมากถึงกว่า ๒๕๐ ร้าน เช่น เถ้าคั่ว ขนมจีน ข้าวยำปักษ์ใต้ ก๋วยจั๊บพลก (ก๋วยจั๊บกะลา) ขนมมด ขนมด้วง ขนมโค ขนมปำ (ขนมถ้วยฟูภาคใต้) ขนมต้มย่าง ขนมถุงทอง ขนมบอก น้ำมะเน็ต หมี่ผัดกะทิกุ้งสด ขนมต้มใบพ้อสามเหลี่ยมใส้หมูแดงและใส้ไก่หยอง กุยฉ่าย (กุยช่าย) ตลอดจนพืชผักพื้นบ้านซึ่งท่านสามารถเดินชมและหาซื้อได้ที่ตลาดน้ำแห่งนี้