ผนวก ค.

ตัวอย่าง แผนการยิง ป. (แผนการสนับสนุนด้วย ป.)


ผนวก ค.

ตัวอย่างแผนการยิง ป. (แผนการสนับสนุนด้วย ป.)


- แผนการยิง ป. นี้เป็นเอกสารสั่งการอิสระของหน่วย ป.สนาม ซึ่ง ผบ.หน่วย ป. สั่งการปฏิบัติแก่หน่วยรองและหน่วยที่เกี่ยวข้องในรายละเอียด เพื่อปฏิบัติการสนับสนุนการยุทธตามแผนการยิงสนับสนุนของหน่วยเหนือ

- ปกติจัดทำโดย ฝอ.๓ ของหน่วย ป.นั้น ๆ และส่งตรงไปยังหน่วยที่จะต้องปฏิบัติตามสายของ ป. สนาม

- ปัจจุบันไม่ถือว่า แผนการยิง ป. หรือแผนการสนับสนุนอื่น ๆ เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของคำสั่งยุทธการของหน่วยกลยุทธแล้ว

- ตัวอย่างต่อไปนี้จะไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันเลยในแต่ละแผน

๑. ตัวอย่างแผนการยิง ป.ของ กรม ป.พล.

ฉบับที่ ๒ ใน ๒๐ ฉบับ

บก.ป. ๕๓

หาดใหญ่ (๐๓๖๖๗๐) สงขลา

๐๕๒๑๐๐ พ.ค.................

กอ. ๒๐๒

แผนการยิงปืนใหญ่สนามที่ ๑๙

อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย ระวาง................มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐

เส้นเขตเวลา: ซูลู

๑. สถานการณ์

ก. ฝ่ายข้าศึก

๑) สรุปข่าวกรอง ๕ – ๕ ของ กรม ป.

๒) ข้าศึกมีขีดความสามารถในการโจมตีอาวุธสนับสนุนด้วยกำลังทางอากาศ,จรวด และ ปืนใหญ่

๓) ข้าศึกมีขีดความสามารถในการโจมตีทางอากาศ ๑๕๐ เที่ยวบินต่อวันในเขตของ ทภ.๔

๔) อาวุธปืนใหญ่ได้รับการพิสูจน์ทราบแล้วทุกขนาดตั้งแต่ ๒๔ ชม. ที่ผ่านมา รวมทั้งจรวดหลายลำกล้อง และ ค.ด้วย ปค. ๑๒๒ มม. เป็นอาวุธที่มีอันตรายมากให้พยายามค้นหาที่ตั้งให้ได้

๕) ข้าศึกมีการใช้แสงและเสียงลวง, อาวุธปลอมและที่ตั้งยิงลวงอย่างมาก

ข. ฝ่ายเรา

๑) ทภ.๔ เข้าตีใน ๐๖๐๖๐๐ พ.ค. ด้วย พล.ร.๕๓ เข้าตีทางด้านเหนือและ พล.ร.๕๒ เข้าตีด้านใต้ เพื่อคุ้มครองการเข้าตีข้ามลำน้ำตาปีและทำลายข้าศึกในเขต

๒) กองบิน ๙ สนับสนุน ทภ.๔ ด้วย สอก. ๑๕๐ เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่ ๐๖๐๖๐๐ ถึง ๐๖๒๔๐๐

๓) การแยกและการขึ้นสมทบ กรม ป. ที่ ๑๐๒ ขึ้นสมทบ ๐๖๐๑๐๐ พ.ค.

๒. ภารกิจ

ป.สนามสนับสนุนการเข้าตีของกองพลด้วยการยิงเตรียม ๒๐ นาที ด้วยกระสุนธรรมดา เริ่มเวลา น. ๑๕ นาที ทำการยิงสนับสนุนอย่างใกล้ชิดและต่อต้านการยิงตลอดเวลาในการยุทธ

๓. การปฏิบัติ

ก. ความเร่งด่วนในการยิง ป.ให้กับ ร.๑ ในขั้นต้น

ข. การจัด ป.ทำการรบ

ป.พัน.๑๐ (๑๐๕ ลจ.) ชต.ร.๑

ป.พัน.๑๑ (๑๐๕ ลจ.) ชต.ร.๒

ป.พัน.๑๒ (๑๐๕ ลจ.) ชร – พย. ป.พัน.๑๐ ชต.ร. ๓ เมื่อสั่ง

ป.พัน.๑๓ (๑๕๕ ลจ.) ชร.พย.ป.พัน.๑๐

ป.พัน.๗๐ (๑๕๕ ลจ.) พย.ป.พัน.๑๑

ป.พัน.๑๒๓ (๑๕๕ ลจ.) ชร.

บก.ป.๑๐๒ เป็น บก.สำรองของ กรม

ค. การค้นหาเป้าหมาย ผนวก ก. (การค้นหาเป้าหมาย)

ง. ข่าวสภาพอากาศ หมู่อุตุนิยมของ กรม ป. ๑๐๒ ขึ้นสมทบ ป.พัน.๑๐ จัดหาและบริการข่าวสภาพอากาศในเขตของ ร.๑

จ. คำแนะนำพิเศษ

๑) ระดับความเสียหายที่ต้องการ เป้าหมายเชิงรับ ๓% เป้าหมายเชิงรุก ๕%

๒) พัน.ป.ชต. โจมตีเป้าหมายที่เป็น ค. ตามความต้องการ

ฉ. ประมวลพิกัดต่อต้านการยิง มุมล่างซ้าย กจ. พิกัด ยูแอล ๗๐๐๑

ช. เป้าหมาย : ผนวก ข. (บัญชีเป้าหมาย)

ซ. ตารางยิง: ผนวก ค. และ ง. (ตารางยิง)

๔. การช่วยรบ

ก. อัตรากระสุนที่ควบคุม ตั้งแต่ ๐๕๒๔๐๐ ถึง ๐๗๑๒๐๐ พ.ค.

๑๐๕ มม. ระเบิด ๑๒๐ ควัน ๔๐ ส่องแสง ๑๐

๑๕๕ มม. ระเบิด ๙๐ ควัน ๒๐ ส่องแสง ๑๐

ข. ที่ตั้งตำบลส่งกระสุน/ที่ตั้งตำบลส่งกระสุนพิเศษ

ตส. ๑๐ พิกัด ๘๑๑๐๙๐ ตส. พิเศษ ๑๐๑ พิกัด ๘๐๑๐๙๔

ตส. ๑๑ พิกัด ๙๐๐๐๘๑ ตส. พิเศษ ๑๐๒ พิกัด ๙๐๖๐๘๓

๕. การบังคับบัญชาและการติดต่อสื่อสาร

ก. การสื่อสาร นปส. กองพล ดรรชนีที่ ๑ – ๑๐ มีผลบังคับใช้

ข. การบังคับบัญชา

๑) ศปย. กรม ป.พล. พิกัด ๒๕๔๘๒๓

๒) สยส. ยุทธวิธีกองพล จะแจ้งภายหลัง

๓) สยส. หลักกองพล พิกัด ๐๓๖๖๗๐

ตอบรับ......................

(ลงชื่อ) พ.อ...................................

ผบ.ป. ๕๓

ผนวก ก. การค้นหาเป้าหมาย (เว้น)

ข. บัญชีเป้าหมาย

ค. ตารางการยิงเตรียม

ง. ตารางการยิงกลุ่มเป้าหมาย

การแจกจ่าย : แบบ ค.

เป็นคู่ฉบับ

พ.ท................................................

(.....................................)

ฝอ.๓ ป.๕๓

ผนวก ข. (บัญชีเป้าหมาย) ประกอบแผนการยิง ป.ที่ ๑๙

อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย ระวาง.....................มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐

(ก) (ข) (ค)

บรรทัดที่ หมายเลข ลักษณะเป้าหมาย ที่ตั้งเป้าหมาย

ฮ. ๑๐๑ ที่รวมพลกองพัน ๘๘๒๒๔๕

๒ ฮ. ๑๐๒ ที่บังคับการ ๙๐๕๓๓๕

๓ อ. ๑๐๓ ร้อย ปกค. ๑๕๒ มม. ๙๒๘๒๙๗

๔ อ. ๐๘๘ (ก) ร้อย ปกร. ๑๓๐ มม. ๙๖๘๒๘๘

๕ อ. ๐๘๙ ร้อย ปกค. ๑๒๒ มม. ๐๕๔๓๑๒

ฯลฯ

๒๙ อ. ๐๙๙ (ข) ร้อย ปกร. ๑๓๐ มม. ๐๓๔๓๐๘

๓๐ อ. ๑๐๑ ร้อย ปกค. ๑๕๒ มม. ๐๔๖๓๑

ฯลฯ

หมายเหตุ (ก) แนวเฉียง ๑๔๐๐ มิล

(ข) แนวเฉียง ๒๐๐๐ มิล

ผนวก ค. (ตารางการยิงเตรียม) ประกอบแผนการยิง ป. ที่ ๑๙

อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย ระวาง............มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐

(ก) (ข) (ค) (ง)

บรรทัดที่ หน่วยยิง หมายเลข ม. จำนวนนัด เวลายิง

๑ ป.พัน.๑๓ ร้อย.๑ ฮ.๑๐๑ ๑๒ น. – ๒๐

ฮ. ๑๐๒ ๑๒ น. – ๑๔

ฮ. ๑๐๖ ๑๒ (ก)

ฯลฯ

๒ ป.พัน.๑๓ ร้อย.๒ อ. ๑๐๓ ๒๔ น. – ๒๐

อ. ๐๘๘ ๑๒ (ข) น. – ๘

ฯลฯ

๓ ป.พัน ๑๓ ร้อย.๓ อ.๐๙๙ ๒๔ (ค) น. – ๒๐

อ. ๑๐๑ ๑๒ น. – ๘

ฯลฯ

หมายเหตุ (ก) ยิงตามคำขอ

(ข) ชนวนวีที ๕๐%

(ค) กระสุนควันขาว ๕๐%

ผนวก ง. (ตารางการยิงกลุ่มเป้าหมาย) ประกอบแผนการยิง ป. ที่ ๑๙

อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย ระวาง..............มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐

บรรทัดที่ หน่วยยิง หมายเลขเป้าหมาย จำนวนนัด

กลุ่ม ม. “ค.๑ อ.”

๑ ป.พัน.๑๓ ร้อย.๑ ฮ. ๒๐๑ ๒๔

๒ ป. พัน ๑๓ ร้อย.๒ ฮ. ๑๐๖ ๑๒

ป. พัน.๑๓ ร้อย.๓ ฮ.๑๐๔ ๑๒

กลุ่ม ม. “ค. ๒ อ.”

ป.พัน.๑๒ ร้อย.๑ อ. ๐๙๑ ๑๒

ป.พัน.๑๒ ร้อย.๒ อ. ๐๙๒ ๒๔ (ก)

ป.พัน.๑๒ ร้อย.๓ อ. ๐๙๓ ๑๒

ฯลฯ

หมายเหตุ (ก) ชนวนวีที ๕๐%

๒. แผนการยิง ป.ของ พัน.ป.ชต.

ก. ในระดับ กรม ร. นั้น ผบ.พัน.ป.ชต. จะทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ เป็นผู้บังคับบัญชา พัน.ป.ชต. นั้น และเป็น ผปยส. ของกรมกลยุทธที่ตนสนับสนุนด้วย โดยมี นตต.ประจำกรมนั้น ๆ เป็นผู้ช่วย ผปยส. และเป็นตัวแทนของหน่วย ป. ใน ศปย. ของกรมด้วย

ข. แผนการยิง ป. ในระดับ พัน.ป.ชต. นี้ จัดทำโดย ฝอ.๓ ของ พัน.ป.ชต. นั้น เพื่อสั่งการปฏิบัติภารกิจยิงแก่ ร้อย ป. ต่าง ๆ ในอัตราและหน่วย ป. ที่มาเพิ่มเติมกำลังยิงให้

ค. แผนการยิง ป. และการประสานการปฏิบัติในระดับนี้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับ

๑) การโจมตีเป้าหมายข้ามเส้นแบ่งเขต เข้ามาในแนวประสานการยิงหรือการโจมตีที่กระทบกระเทือนต่อหน่วยข้างเคียง เพราะหน่วยระดับกรมนี้ปกติแล้วจะเป็นหน่วยระดับต่ำสุดที่ได้รับมอบเส้นแบ่งเขต และมีอำนาจกำหนด นปย.

๒) หัวข้อและลักษณะของแผนการยิง ป. เมื่อจัดทำเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ คงใช้เช่นเดียวกัน กรม ป. แต่ส่วนใหญ่แล้วจะแยกทำและส่งให้หน่วยต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ เพื่อความรวดเร็ว

๓) การสั่งการปฏิบัติในขั้นนี้จะเน้นเรื่อง

ก) ข่าวสาร ข้อจำกัด และคำแนะนำต่าง ๆ จากหน่วยเหนือ เช่น การแบ่งมอบภารกิจ อัตรากระสุน ที่ควบคุมหรือใช้ได้ แนวปะทะหรือแนวออกตี เส้นแบ่งเขต นปย. นปยส. เป็นต้น ซึ่งแนวเหล่านี้ จะลงไว้ในแผ่นบริวาร

ข) กำหนดพื้นที่ตั้งยิงและเขตรับผิดชอบหลัก รวมทั้งเขตการตรวจการณ์ให้กับกองร้อย ต่าง ๆ

ค) นอกจากนั้นยังอาจสั่งการเกี่ยวกับการจัด ร้อย ป. แยกเฉพาะ แนวทางในการระวังป้องกันที่ตั้ง แนวทางในการ ลลขต. และการใช้ที่ตั้งยิง ต่าง ๆ เป็นต้น

ง) สำหรับการมอบภารกิจยิงให้กับกองร้อยต่าง ๆ นั้น คงมีบัญชีเป้าหมายและตารางการยิงตามกำหนดเวลาต่าง ๆ เป็นสำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้วจะแยกส่งให้แต่ละกองร้อยเป็นส่วน ๆ หรือแจกจ่ายให้ทั้งหมดก็ย่อมกระทำได้

ง. โดยปกติแล้ว แผนการยิง ป. ในระดับกรมกลยุทธหรือ พัน.ป.ชต. มักจะทำแบบไม่เป็นทางการหรือแบบเร่งด่วนเป็นหลักตัวอย่าง แผนการยิง ป. ของ พัน.ป.ชต. ทั้งสองแบบดังปรากฏในหน้าต่อไป

ฉบับที่ ใน ฉบับ

บก.ป. ๒๗

บ้านครองจัน (๔๘๖๑๓๗)

๒๑๑๔๓๐ ธ.ค............

จย. ๖๗

แผนการยิง ป.ที่ ๓

อ้างถึง : แผนที่ประเทศไทย ระวาง..........มาตรส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐

๑. สถานการณ์

ก. ฝ่ายข้าศึก

๑) สรุปข่าวกรองของ กรม ป.

๒) ข้าศึกมีขีดความสามารถในการตรวจจับที่ตั้ง ป. สูง และสามารถโจมตีด้วยกำลังทางอากาศ ค. และ ป.

๓) อาวุธที่มีอันตรายมากสำหรับหน่วย ป. คือ จรวดหลายลำกล้อง บีเอ็ม ๒๑ ขนาด ๑๒๒ มม. ให้โจมตีทันทีที่ค้นพบ

๔) การปกปิดกำบังและการลวง ข้าศึกนำมาใช้อย่างมาก

ข. ฝ่ายเรา

๑) พล.ร.๗ เข้าตีใน ๒๐๐๖๐๐ ธ.ค. ไปทางทิศเหนือด้วยกำลัง ๒ กรมเคียงกับ ร.๒ ทางทิศตะวันออก (ขวา) ร.๓ ทางทิศตะวันตก ร.๑ เป็นกองหนุน ร.๓ เป็นด้านเข้าตีหลัก

๒) ลำดับความเร่งด่วนในการยิงสนับสนุนให้กับ ร.๓ ในขั้นแรกจนกว่าจะยึดที่หมาย ๑ ได้

๓) ป.พล.ร.๗ ยิงเตรียม ตั้งแต่เวลา น. ๑๐ ถึง น. + ๑๐

๔) ร.๓ ได้รับ สอก. ๔๐ เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่ ๒๐๐๐๐๐ ธ.ค. ถึง ๒๒๒๔๐๐ ธ.ค.

๕) ป.พัน.๗ พย.ป.พัน.๒๗ ป.พัน.๒๐๒ ชร.พย. ป.พัน. ๒๓ เริ่ม ๑๙๑๘๐๐ ธ.ค.

๒. ภารกิจ

ยิงสนับสนุนการเข้าตีของ ร.๓ ด้วยการยิงเตรียม ๒๐ นาที เริ่มเวลา น. – ๑๐ ยิงสนับสนุนใกล้ชิด,ข่ม และต่อต้านอาวุธสนับสนุนตลอดการเข้าตี

๓. ภารกิจ

ก. ความเร่งด่วนในการยิงให้กับ ร.๓ พัน.๒

ข. การจัด ป.ทำการรบ

๑) ป.พัน.๒๗ ชต.ร.๓

๒) ป.พัน ๗ พย.ป.พัน.๒๗

๓) ป.พัน.๒๐๒ ชร.พย.ป.พัน.๒๗

ค. ทำตารางการยิงตามกำหนดเวลาให้ ป.พัน.๗ เริ่มตั้งแต่ น.- ๑๐ ถึง น. + ๑๐

ง. คำแนะนำพิเศษ

๑) ระดับความเสียหายในการโจมตี อาวุธสนับสนุน ๑๐% เป้าหมายอื่น ๆ ๕%

๒) อาวุธสนับสนุนทุกชนิดโจมตีทันทีที่ตรวจพบ

๓) เกณฑ์การปรับปรุงที่ตั้ง ให้เปลี่ยนที่ตั้งทันทีที่ถูกโจมตี

๔) ทุกกองร้อยทำการ ลลขต. ไว้ล่วงหน้าหลาย ๆ ที่ตั้ง บริเวณโดยทั่วไปตามแผ่นบริวาร (ผนวก ก.)

๔. การช่วยรบ

ก. อัตรากระสุนที่ควบคุม ตั้งแต่ ๑๙๑๘๐๐ ธ.ค. ถึง ๒๒๒๔๐๐ ธ.ค.

ค.๖๐ ๑๕๐ ค.๘๑ ๑๒๐

ค. ๑๐๗ ๑๐๐ ป.๑๐๕ รบ.๑๒๐ ควัน ๔๐

ป. ๑๕๕ รบ. ๘๐ ควัน ๓๐

ข. ที่ตั้งตำบลส่งกระสุน พิกัด ๙๔๓๖๓๕

๕. การบังคับบัญชาและการสื่อสาร

ก. การสื่อสาร นปส. ของกองพล ดรรชนีที่ ๕ – ๙ มีผลบังคับใช้

ข. การบังคับบัญชา

๑) ทก.ร.๓ พิกัด.......

๒) ปก.ป.พัน.๒๗ พิกัด.......

๓) หน่วยอื่น ๆ รายงานที่ตั้ง

๔) ทก.ป.พัน.๗ เป็น ทก.สำรอง ป.พัน.๒๓

ตอบรับ..................

(ลงชื่อ) พ.ท......................................

ผบ.ป.พัน.๒๗

ผนวก ก. แผ่นบริวารกำหนดที่ตั้ง

ข. บัญชีเป้าหมาย

ค. ตารางการยิงเตรียม

การแจกจ่าย แบบ ค.

เป็นคู่ฉบับ

พ.ต.................................

(.........................)

ฝอ.๓ ป.พัน.๒๗

๓. แผนการยิงสนับสนุนของ นตต.ประจำกองพันกลยุทธ

ก. เนื่องจาก นตต. เป็น ผปยส. ของกองพันกลยุทธนั้น ๆ แต่ไม่มีอำนาจในฐานะ ผบ.หน่วย ดังนั้น นตต.จึงมีหน้าที่แต่เพียงการประสานการยิงสนับสนุนและการวางแผนการยิงสนับสนุนให้กับกองพันกลยุทธที่ตนเป็นตัวแทนอยู่เท่านั้น การทำแผนการยิง ป. เพื่อสั่งการปฏิบัติแก่หน่วย ป.นั้น ทำในขั้น พัน.ป.ชต.แล้ว

ข. ในการวางแผนการยิงสนับสนุนนี้ นตต.ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้

๑) รวบรวมเป้าหมายจาก ผตน. ประจำกองร้อยต่าง ๆ รวมทั้งเป้าหมายที่ ผบ.พันกลยุทธกำหนดด้วย ทำเป็นบัญชีเป้าหมายและคัดแยกแบ่งประเภทการโจมตี เช่น ยิงเตรียม, กลุ่มเป้าหมาย, โครงการเป้าหมายเป็นต้น

๒) กรุยที่ตั้งหน่วยยิงต่าง ๆ (ทั้ง ป.และ ค.) ลงในแผ่นบริวารหรือในแผนที่กำหนดขีดความสามารถในการยิง (ระยะเขตส่าย)

๓) กรุยที่ตั้งหน่วยยิงต่าง ๆ ลงในแผ่นบริวารหรือแผนที่

๔) ขจัดความซ้ำซ้อนของเป้าหมาย

๕) พิจารณาหน่วยยิงที่จะใช้โจมตีแต่ละเป้าหมาย โดยพิจารณาจากที่ตั้งและขีดความสามารถของอาวุธต่าง ๆ จากข้อ ๒) เป้าหมายที่เกินขีดความสามารถทำบัญชีส่ง พัน.ป.ของตน พร้อมกับข้อเสนอในการโจมตี

๖) จัดทำตารางการยิงต่าง ๆ ตามความต้องการ

๗) จัดทำส่วนข้อความประกอบถ้าจำเป็น

๘) นำเสนอ ผบ.พันกลยุทธเพื่ออนุมัติ

๙) แจกจ่ายให้ พัน.ป.ชต. ของตน,ร้อย ค.หนัก,หมวด ค.๘๑ และผตน. ตามความเหมาะสม

ค. ปกติแล้ว นตต.ประจำ พัน.ร.มักจะทำแผนการยิงสนับสนุนแบบเร่งด่วน ซึ่งมีรูปแบบเช่นเดียวกับแผนการยิง ป.เร่งด่วนของ พัน.ป.ชต. แต่จะมีอาวุธอื่น ๆ ที่มอบให้ทำการโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ อยู่ด้วยดังตัวอย่าง

ง. ในการส่งแผนนี้ นตต. อาจส่งทางพลนำสาร,โทรศัพท์หรือวิทยุก็ได้ ถ้าส่งด้วยเครื่องมือสื่อสารจะต้องเข้าใจแบบฟอร์มกันอย่างดี แบบฟอร์มแผนการยิงเร่งด่วนนี้ควรจะกำหนดไว้ใน รปจ.ของกองพันด้วยเพื่อสะดวกในการส่งข่าว

๔. แผนการยิง ป.ของ ผตน.

ก. ผตน. ประสานกับ ผบ.ร้อยกลยุทธ ในการที่จะโจมตีเป้าหมายต่าง ๆ แล้วจัดทำเป็นบัญชีเป้าหมายส่งให้กับ นตต. ตามตัวอย่างในผนวก ข. ประกอบแผนการยิง ป.ที่ ๑๙ คือมีบรรทัดที่,หมายเลขเป้าหมาย (ถ้ากำหนดได้),ลักษณะเป้าหมาย,ที่ตั้งเป้าหมายละหมายเหตุ

ข. ในการส่งข่าวทางวิทยุ อาจใช้อ้างด้วย ก.,ข.,ค. ได้เลย เช่นบรรทัดที่ ๑.ก. ขอทราบ, ขอ.ร้อย ปกค. ๑๕๒ มม.,ค. กขลวขก., เปลี่ยน เป็นต้น (ในข้อ ค.หมายถึง การเข้าประมวลพิกัดที่ตั้งเป้าหมาย)

ค. หากเป็นการวางแผนการยิงเร่งด่วน เช่น ผบ.ร้อย.ร ตกลงใจจะทำการเข้าตีภายใน ๓๐ นาทีข้างหน้า ผตน. ก็จะปรึกษากับ ผบ.ร้อย ร.ว่าจะยิงข่มเป้าหมายใดบ้าง, เป้าหมายใดที่จะยิงตามคำขอ เป็นต้น แล้วรีบส่งข่าวตรงไปยัง ศอย. พัน.ป.โดย ผตน.พูดตกลงกับ นอย. เอง โดยกำหนดบัญชีเป้าหมายดังกล่าวแล้ว ในข้อหมายเหตุอธิบายให้ทราบว่าจะให้ทำการยิงอะไร เช่น เวลาออกตีคือ ๐๙๓๐ ผบ.ร้อยต้องการให้ทำการยิงข่มอาวุธต้อสู่รถถัง และยิงหมายเป้าให้ สอก.ด้วย ผตน.ก็จะแจ้งไปให้ ศอย.ทราบ หากมีการเปลี่ยนแปลงก็ขอเปลี่ยนได้ตลอดเวลา สำหรับ นตต.จะเฝ้าฟังไว้ถ้ามีอะไรจะเพิ่มเติมก็จะเพิ่มให้ตามความจำเป็น

ง. หลักการวางแผนการยิงขอบง ผตน.มีอยู่สั้น ๆ ว่า

๑) ทำให้ง่ายที่สุด

๒) วางแผนเฉพาะเป้าหมายที่จำเป็น

๓) ประสานและตกลงกับ ผบ.ร้อย ก่อน

๔) ผตน.ต้องพูดกับ นอย.โดยตนเอง

๕) ถ้าจำเป็นก็อาจปรับการยิงไว้ล่วงหน้าได้

๖) อย่าสัญญากับ ผบ.ร้อยในสิ่งที่ตนทำไม่ได้

๗) ค.หรือ ถ.มีกระสุนควันที่สามารถชี้เป้าหมายได้เป็นอย่างดี

จ. ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นแผนการยิงเร่งด่วนของ ผตน. ที่จะสนับสนุนการเข้าตีของกองร้อย ต่อที่หมายเนิน ๒๘๓ เวลา ๐๙๓๐ ซึ่ง ผตน. จัดทำ