บทที่ ๑๓ ผู้ตรวจการณ์หน้าในการรบไม่ตามแบบ

บทที่ ๑๓

ผู้ตรวจการณ์หน้าในการรบไม่ตามแบบ


๑. ทั่วไป

ก. การรบไม่ตามแบบ (Irregular Operation) หมายถึง หน่วย การจัดและการปฏิบัติการที่ไม่ตามแบบทั้งปวง เช่น การรบแบบกองโจร การก่อการร้าย การปราบปรามกองโจร การต่อต้านการก่อการร้าย หรือการปราบปราม ผกค.เป็นต้น ซึ่งปฏิบัติการเพื่อความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายรวมถึงการปฏิบัติของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลหรือเจ้าของประเทศ

ข. การรบนอกแบบ (Unconventional Warfare) นั้น ปกติแล้วหมายถึงการปฏิบัติการของฝ่ายต่อต้านเจ้าของพื้นที่หรือกำลงที่ยึดครองอยู่โดยเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ ๓ เรื่อง คือ การรบแบบกองโจร การเล็ดลอดและหลบหนีและการบ่อนทำลายด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งที่แท้จริงแล้วควรจะใช้คำว่า สงครามนอกแบบมากกว่า

ค. แม้จะคุ้นเคยกับคำว่า การรบนอกแบบในความหมายที่ไม่ตรงกันกับรากศัพท์มานาน ก็ขอให้พึงเข้าใจว่าการรบนอกแบบหรือการรบไม่ตามแบบนั้น มีความหมายเหมือนกันกับคำจำกัดความในข้อ ก. คือ การจัดหน่วย การประกอบกำลัง การปฏิบัติการที่แตกต่างออกไปจากการรบตามแบบคือ รุก, รับ, ร่นถอย ซึ่งมีวิธีการและระบบที่แน่นอนทั้งด้านยุทธการและด้านการส่งกำลังบำรุง

ง. ในบทนี้จะเน้นเฉพาะการปฏิบัติของ ผตน. ในการเป็นกำลังของฝ่ายรัฐบาลกำการปราบกองโจร หรือการก่อการร้ายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศเป็นหลัก

จ. เพื่อให้เข้าใจหลักมูลฐานในการใช้ การปฏิบัติการและทราบถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ผตน. ที่จะออกปฏิบัติการควรอย่างยิ่งที่จะศึกษา “คู่มือทหารปืนใหญ่ในการปราบปรามกองโจร” ของกองทัพบก ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

๒. ลักษณะทั่วไปของการปฏิบัติการปราบกองโจร

ก. พื้นที่ปฏิบัติการ มักจะเป็นดินแดนที่ทุรกันดารเป็นป่าทึบ ภูเขาสลับซับซ้อน ขาดเส้นทางคมนาคม ยากในการตรวจการณ์ การเคลื่อนที่ การสื่อสาร การส่งกำลังบำรุง ฯลฯ

ข. ข้าศึก เป้าหมายส่วนใหญ่เป็นบุคคลหรือฐานปฏิบัติการขนาดเล็ก อาวุธหนักและอากาศยานสนับสนุน แต่ยากในการโจมตีหรือนำกำลังเข้าทำลายเพราะภูมิประเทศดังกล่าว

ค. ฝ่ายเรา จัดกำลังไม่ตายตัว ไม่ตาม....ความเหมาะสม ปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาตามความจำเป็น หน่วย ป. มักจะตั้งฐานยิงอยู่กับที่ คลุมพื้นที่รับผิดชอบโดยรอบตัวมักจะแบ่งเป็นหน่วยขนาดหมวดหรอหมู่ ส่วนหน่วยกลยุทธจะทำการลาดตระเวน ซุ่มโจมตีหรือปฏิบัติการรบกวนกองโจรเป็นหลักการเข้าตีที่หมายขนาดใหญ่มีน้อย

ง. ปัญหา ปัญหาเผชิญหน้าของ ผตน. ได้แก่

๑) การค้นหาเป้าหมาย กระทำได้ยากเพราะเป็นเป้าหมายขนาดเล็ก เคลื่อนที่อยู่เสมอ ปรากฏขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็ว การตรวจการณ์กระทำได้ยาก รวมทั้งการตรวจผลการยิงด้วย

๒) การยิงของ ป. มักไม่ค่อยได้ผลนอกจากผลทางขวัญ เพราะการกำหนดที่ตั้งเป้าหมายไม่แน่นอนและจำกัดด้วยภูมิประเทศ รวมทั้งขาดตัวแก้และหลักฐานแผนที่ที่ถูกต้อง

๓) การติดต่อสื่อสาร จำกัดด้วยภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศมักจะใช้วิทยุเป็นหลักและใช้ร่วมกันหลายหน่วยเกิดความสับสนได้ง่าย

๔) สรุปแล้วระบบทหารปืนใหญ่ กระทบกระเทือนทุกระบบ ผตน. จำเป็นจะต้องค้นหาเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ แล้วพัฒนานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมให้ได้มากที่สุด (รายละเอียดดูในคู่มือ ป.ในการปราบปรามกองโจร)

จ. ผตน. ที่มีความชำนาญในการปฏิบัติการตามแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นของคู่มือเล่มนี้ สามารถที่จะรวมการปฏิบัติการปราบกองโจรได้อย่างดี ในบทนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคการยิงพิเศษที่ ผตน. จะต้องทำความเข้าใจและพิจารณานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

๓. การยิงหมายพิกัด

การหาที่อยู่ของหน่วยกลยุทธหรือ ผตน. ก็ตามมัดจะมีปัญหา ดังนั้น ผตน. อาจขอให้ ศอย. ยิงหมายพิกัดเพื่อหาที่อยู่ของตนเองได้โดยวิธีกี่ย่อ ๆ ดังต่อไปนี้

ก. หมายพิกัด ๒ จุด เพื่อใช้เป็นจุดอ้างในการหาที่อยู่ของตนโดยใช้วิธีโปล่าร์กลับ ผตน. อาจจะให้ยิงหมายยอดเขา หรือยิงให้แตกอากาศ ณ พิกัด ใด ๆ แล้ววัดมุมภาคกลับของมุมภาคที่วัดได้จากตำบลระเบิดนั้น เช่น

“ยิงหมายพิกัด เปลี่ยน พิกัด ๘๕๕๒ เปลี่ยน กระสุนควันขาว สูงกระสุนแตก ๒๐๐ เมตร ตามคำสั่งข้าพเจ้า เปลี่ยน”

เมื่อยิง ป.มาแล้ว กระสุนระเบิดขึ้น ผตน. ก็จะวัดมุมภาคไปยังตำบลระเบิดนั้น (พิกัด ๘๕๕๒) และจับเวลาหรือเริ่มนับดังที่กล่าวแล้ว สมมุติว่าได้มุมภาค ๓๔๐๐ นับได้ถึงหนึ่งพันเจ็ด เจ็ด ก็จะกรุยโปล่าร์กลับจากจุดตัดของเส้นตาราง ๘๕๕๒ ได้ดังนี้

๑) มุมภาคจากพิกัด ๘๕๕๒ = ๓๔๐๐ – ๓๒๐๐ = ๒๐๐ มิล

๒) ระยะ = ๗๐๐ เมตร

๓) ใช้แผ่นพัดตรวจการณ์ ทาบจุดยอดที่พิกัด ๘๕๕๒ หมุนให้ถูกทิศ ไล่ตามเส้นมุมภาค ๒๐๐ ให้ได้ระยะ ๗๐๐ ใช้เข็มกรุยปักลงไป อ่านพิกัดออกมานั่นคือที่อยู่ของตน

ข. หมายพิกัด ๒ จุด เพื่อใช้เป็นจุดอ้างในการสกัดกลับหาที่อยู่ของตนเอง โดยวัดเฉพาะมุมภาคไปยังตำบลระเบิดนั้น เช่น

“จุดที่ ๑ พิกัด ๘๘๕๑ จุดที่ ๒ พิกัด ๘๕๕๒ เปลี่ยน กระสุนควันขาว สูง ๒๐๐ เมตร ตามคำสั่งข้าพเจ้า เปลี่ยน”

เมื่อกระสุนระเบิดขึ้นแต่ละนัด ผตน. ก็วัดเฉพาะมุมภาคแล้วแปลงมุมภาคสกัดกลับจาดพิกัดของตำบลระเบิดที่ขอไปทั้ง ๒ จุดตัดคือ พิกัดที่อยู่ของตนเอง

๔. การขอยิงคุ้มครอง (Covering Fire) ใช้เพื่อคุ้มครองหรือช่วยเหลือหน่วยลาดตระเวนหรือหน่วยปฏิบัติการอื่น ๆ โดยวางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น กำหนดตำบลยิงคุ้มครองต่าง ๆ ไว้ตามเส้นทางลาดตระเวน เมื่อเกิดการปะทะหรือต้องการยิงช่วยเหลือก็จะใช้จุดยิงคุ้มครองนั้น ๆ เป็นเครื่องช่วยในการกำหนดที่ตั้งเป้าหมาย หรืออ้างในการปรับการยิงได้อย่างรวดเร็ว

๕. การลาดตระเวนด้วยการยิง (Reconnaissance by Fire) ขอการยิงต่อตำบลที่สงสัย เพื่อให้ข้าศึกแสดงตัวหรือตอบโต้ออกมา เช่น ขณะที่เคลื่อนที่เมื่อสงสัยว่าตำบลข้างหน้าอาจจะถูกข้าศึกซุ่มโจมตีก็ขอยิง หรือเมื่อตรวจการณ์พื้นที่ที่สงสัยว่าจะมีข้าศึกก็ขอยิงต่อตำบลนั้นเพื่อให้ข้าศึกแสดงตัว เป็นต้น

๖. การยิงขับไล่ (Flushing Fire) ได้แก่ การยิงต่อพื้นที่ที่ทราบว่ามีกองโจรอยู่เพื่อขับไล่ให้กองโจรหนีออกจากพื้นที่นั้น ให้มาถูกซุ่มโจมตีหรือถูกทำลายด้วยวิธีการอื่น ๆ โดยปกติแล้วจะใช้ในพื้นที่ยากแก่การเข้าถึง

๗. การยิงส่องสว่าง (Illuminating Fire) คือการยิงด้วยกระสุนส่องแสงให้เกิดการส่องสว่าง เพื่อ

ก. ให้เห็นการปฏิบัติการของกองโจรหรือให้ลำบากในการหนี

ข. สนับสนุนการปฏิบัติของฝ่ายเรา เช่น การซุ่มโจมตี

ค. สนับสนุนการตั้งรับหรือการป้องกันฐานเมื่อถูกเข้าตี

ง. ส่องสว่างช่วยในการเดินทาง ชี้ที่ตั้งหรือชี้ทิศ

จ. ส่องสว่างช่วยในการปรับการยิง เป็นต้น

๘. การยิงเป้าหมายป้องกัน (Defensive Target) ได้แก่ การยิงตามแผนที่วางตำบลยิงไว้โดยรอบฐานหรือที่พักแรม เพื่อใช้เป็นจุดอ้างในการกำหนดที่ตั้งป้าหมาย หรือปรับการยิงเมื่อข้าศึกเข้าตี

- ข้อพิจารณาคือ อย่าวางใกล้หน่วยเกินไป (อย่าให้น้อยกว่า ๖๐๐ เมตร) ถ้าไม่มีการปรับไว้ล่วงหน้า

- การยิงและการปรับการยิงให้ใช้เทคนิค อันตรายใกล้ฝ่ายเราไว้เสมอ

- ถ้าไม่มีการปรับล่วงหน้า นัดแรกที่ยิงควรใช้กระสุนควันขาวแตกอากาศสูงก่อน เพื่อประกันความปลอดภัย

๙. การยิงอื่น ๆ

เทคนิคและวิธียิงอื่น ๆ คงนำมาใช้ได้ตามความจำเป็น เช่น ในการเข้าตีอาจมีการยิงเตรียม การยิงข่ม การยิงรบกวน การยิงขัดขวาง การยิงชี้เป้าหมายหรือยิงชี้ทิศเป็นต้น สำหรับผลของการยิงคงแบ่งออกเป็น ๓ ระดับตามปกติ คือ การยิงทำลาย การยิงตัดรอนกำลังและการยิงข่ม อย่างไรก็ดีการยิงทำลายนั้นมีโอกาสน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการยิงตัดรอนกำลังและการยิงข่มเป็นหลัก ซึ่งจะได้ผลทางขวัญมากกว่าผลการทำลายทางกายภาพ เนื่องจากเป้าหมายในการปราบกองโจรนั้น เป็นเป้าหมายขนาดเล็กปรากฏขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นความรวดเร็วในการยิงจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ผตน. จะต้องของยิงให้รวดเร็วที่สุดด้วยการกำหนดระเบียบปฏิบัติเสียใหม่ให้เหมาะสม อีกประการหนึ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือ ความปลอดภัยของฝ่ายเดียวกัน ทั้งต่อหน่วยปราบปรามเอง และประชาชนในท้องถิ่น ผตน. จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ กฎแห่งการรบร่วมในการรบนอกแบบ ซึ่งปรากฏอยู่ในคู่มือ ป. ในการปราบปรามกองโจรมาอย่างดี และปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด